How good will it be if food taste prepared by manufacturers are well-preserved, with the help of packaging, till content reaches customers? OptiSorbX by SCGP is here to provide the answer. Coming out of research and development process, it maintains the quality of fat-containing food items by reducing oxidation. Thanks to such innovation, the shelf life of foods extends. Packaged content will be slower in changing color or turning stale. More effective in keeping out oxygen and vapor than normal packages, OptiSorbX is good for packaging dried and intermediate-moisture food such as baked items, nuts, dried fruits, cheeses, and smoked meat. Both resellers and end-consumers will be able to keep foods longer, because OptiSorbX keeps the original taste, color, and flavors of packaged content for a relatively long time while inhibiting bacterial growth. COCO NEAT, a brand of our valued customer, has now embraced OptiSorbX to ensure its coconut products’ quality and deliciousness for consumers. Note: Shelf-life extension varies, depending on types of content and storage conditions.
Tag Archives: spotlight
SCGP and Jones’ Salad serve Healthy Food with Green Heart
Many of you must have been familiar with the face of a kind-looking mustached uncle with a green scarf around his neck these days. His face, after all, appears at several shopping malls or on top of Facebook as the mascot of Jones’ Salad. The brand’s founder Mr. Ariya “Klong” Kumpilo, has embraced social media and new business concept in creating not just brand awareness but also customer engagement. Turning Point in Life behind Business Idea Not long after his graduation, Mr. Ariya needed urgent surgery to remove an orange-sized tumor. Although it was not malignant, it marked a turning point in his life. “I started becoming health-conscious,” he recounted, “Because eight or nine years ago, it was not at all easy to find organic vegetables. I wanted to start offering healthy choices to consumers myself.” His idea became clearer after his girlfriend went to Australia to further her studies and talked about her uncle-in-law Uncle Jones’ tasty salad dressings. “I even flew to Australia to learn how to make dressings from Uncle Jones. While there, I realized that healthy food had already been a growing trend among Australians at that time. So, I came back to Thailand and applied what I had learnt from Australia,” Mr. Ariya continued. Attention to Customers’ Voice, Focus on Quality, Promoting Engagement Jones’ Salad opened its first outlet in 2012, around the time health trends started catching on in Thai society. In a bid to win Thai customers’ hearts, Mr. Ariya created Thai flavors of dressings such as seafood dressing and holy basil dressing. “I want to present something that consumers can enjoy every day. There are 15 dressing choices at Jones’ Salad today. While our signature dressings are always available, our new dressings may stay on or be cancelled. It depends on customers’ feedback,” Mr. Ariya explained. At present, Jones’ Salad has 16 branches in Bangkok and adjacent provinces. Its target groups are city people who care about their health, control their calorie intake, and go to gyms regularly. “The most important thing about a food brand is consistency. Every dish must have the same standard. To uphold the standard, we need to train our staff well and strictly procure chemical-free ingredients,” Mr. Ariya added. In addition to listening to customers’ feedback, Jones’ Salad has also delivered health content and promotions to customers via its mascot and Facebook page. “During the first two years, I did everything on my own to get close to customers,” Mr. Ariya revealed, “Via our social-media page, consumers can have Jones’ Salad experiences even though they have not yet come to our outlet. Facebook has raised our brand awareness and recognition. After consumers notice us on social media, there is a higher chance they will try our product if they see our outlet.” Thinking Partner for Together Growth “Many customers sent us a message on Facebook to inform us that they bought our products every day but felt guilty about all the plastic boxes that contained our salads/dressings. Because of their feedback, we reconsidered paper packaging – something we initially thought too expensive,” Mr. Ariya disclosed. “After SCGP listened to our requirements, it has created very impressive packages for us. They are exactly what Jones’ Salad wants. Each box has the right height, with a cup to hold dressings. Veggies still look nice in these boxes, which can also be stacked on top of each other. Such durable packaging is perfect for deliveries too. Most important of all, such packaging is friendly to the environment. After we switched to SCGP packaging, our customers are happy,” he continued. “I am also happy because SCGP delivers really good services and solutions. We intend to seek SCGP support in the future, as we are looking for more types/sizes of packaging including round boxes,” Mr. Ariya concluded. A good provider of packaging solutions must fully understand the needs of customers and keep improving to deliver increasingly better results, just like SCGP.
Doozy Pack : Data-Driven Business Approach That Fulfill Customers’ Needs
Three Doozy Pack members, who have different job responsibility, are here with us today to reveal how they have tackled the challenge. “I am an AE also, I double as a manager. For our B2C model, we embrace the ‘Complete & Easy Set’. In other words, we are a one-stop shop for consumers. Staff at shops have also helped with gathering customers’ opinions or the voice of customers. If customers expected us to have something and we had not yet had that, we would try to prepare it for customers next time.” “COVID-19 crisis posed the most challenging time. We decided to close our shops for staff’s safety, even though our staff were really keen to work. When the crisis eased enough for reopening, we had to prepare protective equipment such as plastic partitions and alcohol gel. We chose to experiment our equipment with one shop first. When our approach worked fine, we started applying the same thing to other shops too. We have realized that teamwork makes the impossible possible. “When we plan any change, we will communicate and discuss with our staff first. I have paid attention to my team and their work environment. But at the same time, I have emphasized that they must get close to customers and gather customer data. B2C shops give opportunities for us to understand end-consumers. The opinions of end-consumers are useful to business and product development of Doozy Pack. When we run a shop, we need to ensure our physical space generates maximum revenue. “As my current mission is relatively new at SCGP, I am under much pressure. Sometimes, I feel burnt out. I have learnt from and got stronger because of my new job responsibility. We need to have fun beating all challenges. That’s how to motivate ourselves.” Natsinee Chaocharoenphong Doozy Pack Shop Manager “I am an AE responsible for Doozy Pack’s e-commerce, taking care of both our own platform and Consignment Platforms like Shopee and Lazada. My responsibility covers website display, backdoor operations, as well as advertising efficiency on Facebook and LINE. Simply put, I take charge of every online activity. “Before this, I had worked as a packaging designer for five years. But I’ve decided to jump to the sales field. With my new job responsibility, I have learnt more to understand everything backdoor to ensure front operations run smooth. “Thanks to COVID-19, we have had greater opportunities in communicating with customers and making them aware of our delivery services. As awareness grows, we also need to prepare efficient delivery-service management. If we have proper response, We need to settle any dispute before it blows up online. Call them, talk to them, appease them and make sure problems will not recur. “Communications are very important to our job. If any wrong message is sent out, we quickly correct it no matter how small the mistake is.” “I am always curious as to whether I have done the right thing or if I could have done better. I am also trying hard to look at things from a customer’s perspective. I seriously pay attention to the voice of customer too. Today, everything happens fast. So, we need to act fast as well. If we stumble, stand up quickly. If data confirms we need to change something, act on it. Don’t wait. When we first developed Lite Box, we found that our product was rather expensive. Only after we lowered the specifications of materials involved, can we introduce the products that can compete in the market. When we have an impressive product variety, our customer base naturally expands too. Our product variety is achieved because we keep innovating based on data we have received.” Nantipat Limbasuta Account Executive – E-commerce & Retail Solution “I am in charge of everything at the shop. Challenges are everywhere, but the most challenging of all is customer care. There are various types of customers. Some customers do not even know their needs. When handling such customers, we have to listen very attentively and then present easy-to-understand advice.” “My mindset is rooted in my liking. I personally love sales and services-related jobs. So, when I am here with a good supervisor and team, I am happy heading to my shop. At work, I am not just a salesperson. I am also a thinking partner for my customers. For example, although we have nearly 20 box sizes, our products may not perfectly fit all products customers have. So, we may have to help them with some creative solutions because smaller boxes mean a lower logistics cost, etc. When I am assigned to help another branch, I also learn new things. Each shop has different strengths. When I see their strengths, I come back and apply what are good to my shop too. After work on each day, I keep asking myself how I can work better tomorrow.” Thaweeshok Kontrong Doozy Pack – Shop Assistant Manager Note: Photos were taken before the introduction of measures to control COVID-19 outbreak.
Flairosol บรรจุภัณฑ์สเปรย์ฟองละเอียด รีฟิลได้ ไม่ต้องทิ้ง
บรรจุภัณฑ์แบบสเปรย์โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่อัดด้วยความดัน ทำให้ละอองน้ำที่ฉีดออกมามีความละเอียด แต่เป็นการใช้งานแบบครั้งเดียวทิ้ง และบรรจุภัณฑ์แบบหัวปั๊มซึ่งสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ แต่อาจจะไม่สามารถให้ละอองน้ำที่ละเอียดได้เท่ากับแบบแรก SCGP จึงนำเสนอ Flairosol, exclusive agent by Conimex บรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการในการใช้งานขวดสเปรย์ที่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ แต่ให้อณูละอองน้ำที่มีความละเอียดสูง ดีไซน์สวยงาม ใช้งานได้ง่าย และยังช่วยรักษ์โลกอีกด้วย Flairosol, exclusive agent by Conimex นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์แบบสเปรย์ที่สามารถรีฟิลได้ สะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งาน ให้สเปรย์ฟองละเอียด สามารถฉีดให้ครอบคลุมบริเวณพื้นผิวที่ต้องการใช้งานได้ง่ายและทั่วถึง นำมาใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะนำมาใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัวและความงาม หรือนำไปใช้ในการดูแลต้นไม้ สัตว์เลี้ยง รถยนต์ หรืออื่น ๆ หัวสเปรย์แตกต่างจากหัวสเปรย์ทั่วไป ให้ฟองละเอียดระดับนาโน โดยไม่ต้องอัดก๊าซ สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ ช่วยลดการใช้ทรัพยากร ละอองสเปรย์กระจายตัวทั่วถึงและต่อเนื่อง ด้วยปริมาณของเหลว 1.20 cc +/- 0.20 cc ในระยะเวลาการฉีดสเปรย์ 1 ครั้ง ที่ 1.05 วินาที +/- 0.2 วินาที ใช้งานง่าย สามารถหมุนเปิดฝาและเติมน้ำยาได้เลยใช้งานได้เลย ไม่ต้องใส่ถ่าน ไม่ต้องชาร์จไฟ สามารถนำไปบรรจุของเหลวได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำแร่ น้ำยาขจัดกลิ่นในอากาศและผ้า น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป รวมถึงของเหลวที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ แต่ไม่เหมาะสำหรับนำไปใส่น้ำยาที่มีส่วนผสมของน้ำมันเข้มข้น ไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ที่อัดด้วยความดัน จึงไม่มีก๊าซที่ทำหน้าที่เป็นสารขับดันที่อาจติดไฟได้ง่ายหากเกิดการรั่วไหล จึงปลอดภัยต่อการใช้งาน มี 2 ขนาด คือขนาด 160ml และ 300ml สามารถเลือกได้ตามความต้องการใช้งาน
Flairosol, a refillable spray package that delivers very fine mist without making more waste
Generally, spray packages are divided into two types; the pressurized package that provides fine mist but is a single–used container and the pumping package which can be refilled but the mist is not as delicate as that of the first one. Therefore, SCGP introduces Flairosol, an exclusive agent by Conimex. This spray package responds to the need for a spray bottle that is reusable, well–designed, user–friendly and environmentally friendly and, at the same time, delivers an ultra–fine mist. Flairosol, an exclusive agent by Conimex, is an innovative spray package. This refill container is convenient and easy to use, giving high–quality mist that can spread evenly on various types of surfaces across a wide range of applications: for household use, personal care, pet care, plant care, and car care etc. The spray dispenser is unique and different. Its non–pressurized container gives the finest nano mist and is reusable, helping to reduce resource consumption. It delivers continuous and consistent fine mist that covers the surface evenly, with liquid output of 1.20 cc (+/- 0.20 cc) per one spraying at the duration of 1.05 seconds +/- 0.2 seconds. It is easy to use—simply turn the spray nozzle open and refill the solution. No battery or charger is needed. It can contain several kinds of liquid such as mineral water, air or fabric freshener, liquid cleaner, including alcohol–containing liquid, but it is not suitable for a solution with high–concentration of oil. It is safe. Because of its non–pressurized container, there are no propellant gases that can be easily flammable if leaked. There are two sizes for selection: 160ml and 300ml. suitable for a variety of applications.
SCGP จากน้องคนเล็กสู่หุ้นน่าลงทุนตัวใหม่จากค่ายเอสซีจี
ภาพของธุรกิจที่แว้บเข้ามาในความคิด เมื่อนึกถึง ‘เอสซีจี’ คือธุรกิจอะไร? เชื่อว่าแพคเกจจิ้งคงไม่ใช่คำตอบแรกที่ติดโผเข้ามาใน Top of Mind คุณอย่างแน่นอน เพราะธุรกิจกลุ่มนี้เรียกได้ว่าเป็นน้องคนเล็กสุดของปูนซิเมนต์ไทย จากสัดส่วนรายได้ที่คิดเป็นประมาณร้อยละ 23 ของรายได้จากการขายของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (“SCC”) ขณะที่อีกร้อยละ 77 มาจากพี่ ๆ ในครอบครัวอย่างธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง รวมถึงธุรกิจเคมิคอลส์ ทว่าเมื่อพลิกดูผลประกอบการล่าสุดของ SCC ในงวดครึ่งปีแรกของปีนี้อาจสร้างความเซอร์ไพรส์ให้ใครหลายคน เพราะธุรกิจแพคเกจจิ้งที่ดำเนินการโดย บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ) กลับเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีรายได้เติบโตเพิ่มขึ้น แม้จะเป็นช่วงเวลาแห่งการเกิดวิกฤตใหญ่ของโลกอย่าง COVID-19 ที่กินเวลาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา เพราะสัดส่วนรายได้กว่าร้อยละ 69 ของบริษัทฯ มาจากกลุ่มสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรของ SCGP นั้นได้รับอานิสงส์ทั้งจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) และธุรกิจบริการรับส่งอาหาร (Food Delivery) ที่จำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค รวมถึงสินค้าเกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัย (Healthcare) SCGP ก็ยังมีบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ จำพวกบรรจุภัณฑ์แบบคงรูปและบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวที่สามารถรองรับสินค้ากลุ่มดังกล่าวได้ เช่น หลอดเจลล้างมือ ขวดยา ฯลฯ ปัจจุบัน SCGP มีโรงงานผลิตในฐานที่ตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย ธุรกิจของ SCGP ประกอบด้วย 2 สายธุรกิจหลักคือ (1) สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) ที่มีผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย และ (2) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Chain) โดยร้อยละ 52 ของรายได้จากการขายมาจากการจัดจำหน่ายภายในประเทศไทย และที่เหลือมาจากการจัดจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ SCGP ยังมีลูกค้าที่อยู่ในภูมิภาคอื่น ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 20 ประเทศทั่วโลก สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งถือเป็นเมกะเทรนด์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนวิกฤตโรคระบาดนั้น SCGP ได้เล็งเห็นศักยภาพการเติบโตของธุรกิจเหล่านี้โดยเฉพาะในประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม และประเทศฟิลิปปินส์ สอดคล้องกับข้อมูลจาก ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน ที่จัดทำ ณ สิงหาคม 2563 ที่คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซ (มูลค่าสินค้าทั้งหมด) ใน 4 ประเทศนี้จะเติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 30.4 ต่อปี ในช่วงระหว่างปี 2562-2567 เป็นที่มาที่ทำให้ SCGP เข้าไปตั้งฐานการผลิตในกลุ่มประเทศดังกล่าว และยังมีกลยุทธ์ที่ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ SCGP เป็นธุรกิจที่มองข้ามไม่ได้คือ การควบรวมกิจการและร่วมมือทางธุรกิจ (Merger and Acquisition (M&A)) โดยล่าสุดในปี 2562 บริษัทฯ มีการลงทุนขยายธุรกิจในรูปแบบนี้กว่า 25,000 ล้านบาท ไม่เพียงแต่การขยายธุรกิจจากภายนอก (Inorganic) อย่างการควบรวมกิจการ แต่ SCGP ยังเดินหน้าขยายธุรกิจภายใน (Organic) ไปพร้อมกัน โดยปัจจุบัน SCGP อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงงานเพื่อขยายกำลังการผลิตอีก 4 แห่ง ในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ด้วยเงินลงทุนประมาณ 8,200 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จในช่วงครึ่งหลังปี 2563 – ประมาณกลางปี 2564 เมื่อมองผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ SCGP พบว่าบริษัทฯ มีรายได้จากการขายเติบโตต่อเนื่องในปี 2559-2562 อยู่ที่ 74,542 ล้านบาท 81,455 ล้านบาท 87,255 ล้านบาท และ 89,070 ล้านบาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ขณะที่กำไรสุทธิในช่วงปี 2559-2562 อยู่ที่ 3,285 ล้านบาท 4,425 ล้านบาท 6,065 ล้านบาท และ 5,269 ล้านบาท ตามลำดับ หรือเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 17.0 ในส่วนผลการดำเนินงานล่าสุดช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ SCGP มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดย EBITDA ในครึ่งปีแรกเท่ากับ 9,027 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากการขยายกำลังการผลิตและการควบรวมกิจการในอาเซียน สำหรับการ IPO ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ คงจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ SCGP สามารถสร้างการเติบโตและต่อยอดทางธุรกิจ เพื่อรักษาการเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรของภูมิภาค และน่าจะเป็นหุ้นอีกหนึ่งตัวที่อยู่ในเรดาร์ของนักลงทุนที่กำลังมองหาหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock ที่ธุรกิจมั่นคง และมีโอกาสเติบโตควบคู่ไปกับเมกะเทรนด์ต่าง ๆ ในอนาคต แหล่งข้อมูล (1) รายงานการวิจัยทางการตลาดแบบอิสระของ ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (2) ร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ SCGP ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th
6 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนลงทุนหุ้น SCGP
บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ) ถือเป็นหนึ่งใน IPO ของปี 2563 ที่น่าจับตาอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตและความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจที่โดดเด่น SCGP นั้นเป็นบริษัทในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (“SCC”) ซึ่งไม่ได้มีเพียงผลิตภัณฑ์ซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้งอีกด้วย ธุรกิจแพคเกจจิ้งใน SCC มีการเติบโตที่โดดเด่นมาอย่างต่อเนื่อง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะทำความรู้จักกับ SCGP ให้มากขึ้นก่อนที่เราจะเข้าไปซื้อหุ้น เราลองมาดูภาพรวมของธุรกิจกันก่อนครับว่ามีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง 6 เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุนหุ้น SCGP เป็นผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์ระดับอาเซียน SCGP เป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในปี 2562 มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 89,070 ล้านบาท และสำหรับครึ่งปีแรกของปี 2563 รายได้จากการขายอยู่ที่ 45,903 ล้านบาท! โครงสร้างรายได้ของ SCGP ประกอบไปด้วย 2 สายธุรกิจหลัก สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) มีผลิตภัณฑ์หลากหลายตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ (Fiber-based Packaging) กระดาษบรรจุภัณฑ์ (Packaging Paper) บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (Performance and Polymer Packaging) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Chain) ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุอาหาร (Food Service Products) ผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ (Pulp and Paper Products) SCGP มีกลุ่มลูกค้าที่กระจายอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค อาหารแช่แข็งและอาหารบรรจุกระป๋อง สินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าอุตสาหกรรม จุดเด่นของ SCGP คือการมีสินค้าและบริการที่ครอบคลุมทุกความต้องการ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนากว่าปีละ 500 ล้านบาทต่อปี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ในประเทศและต่างประเทศ SCGP เริ่มต้นจากการทำธุรกิจเยื่อกระดาษตั้งแต่ปี 2518 ต่อมาก็ได้ขยายธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น รวมถึงการควบรวมกิจการทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี 2558 ได้ปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจและพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค โดยเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน SCGP มีโรงงานใน 5 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน คือ ประเทศไทย มียอดขายภายในประเทศร้อยละ 52 และอีกร้อยละ 48 เป็นรายได้จากธุรกิจในต่างประเทศ SCGP มุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องผ่านการขยายกำลังการผลิต (Organic Growth) และการควบรวมกิจการ (Inorganic Growth) ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ทำให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งจากการผนึกกำลังร่วมกัน (Synergy) ที่มีประสิทธิภาพ ขยายฐานลูกค้าออกไปได้กว้างมากขึ้น เพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองผู้บริโภคและลูกค้าทุกอุตสาหกรรม ประหยัดเวลาในการสร้างธุรกิจใหม่ สามารถรับรู้รายได้และกำไรในทันที และในส่วนของการเติบโตผ่านการขยายกำลังการผลิตนั้น SCGP ได้เพิ่มสัดส่วนการขายในหมวดอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูงตาม Mega Trend ให้มากขึ้น เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจการบริการด้านอาหาร และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โอกาสเติบโตของ SCGP การเติบโตของบรรจุภัณฑ์ถือเป็น Mega Trend หนึ่งของโลก ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ E-commerce, Food Delivery และ Healthcare โดยจากข้อมูลของ Frost & Sullivan พบว่ามูลค่าตลาด E-commerce (มูลค่าสินค้าทั้งหมด) ในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2562-2567 สามารถเติบโตได้ถึงประมาณร้อยละ 23.8 ต่อปี นอกจากนี้ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ยังมีแนวโน้มในการเติบโตของการบริโภคภาคครัวเรือนในอัตราที่สูงขึ้น โดยจากการคาดการณ์ของ Frost & Sullivan พบว่าประเทศทั้ง 4 จะมีจำนวนประชากรรวมกันมากถึง 570.6 ล้านคน ในปี 2567 รวมทั้งคาดการณ์การบริโภคในครัวเรือนทั้งหมดในประเทศดังกล่าวว่า จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 6.4 ในระหว่างปี 2562-2567 สอดคล้องกับอัตราการใช้บรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนที่คาดว่ามีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีก ปัจจุบันเป็นยุคที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มใส่ใจในผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น การที่ SCGP ยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด IPO เพื่อสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจ การเข้า IPO จะทำให้ SCGP สามารถขยายธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น ผ่านการขยายกำลังการผลิต ทั้งในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะเสริมศักยภาพให้ธุรกิจของ SCGP มีความครบวงจร และสามารถเติบโตไปกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน สำหรับการ IPO นั้น หุ้นของ SCGP จะเข้ามาเป็นหุ้นจดทะเบียนในตลาด SET หมวดสินค้าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะมีจำนวนหุ้นเพิ่มทุนคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของจํานวนหุ้นสามัญที่ออกและชําระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ หลัง IPO (ไม่รวมจำนวนหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินอาจใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากบริษัทฯ ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ความเสี่ยง อุตสาหกรรมนี้ยังสามารถเติบโตตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ ทั้งนี้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงในด้านคุณภาพของสินค้าและบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ความเสี่ยงคือธุรกิจต้องมีจุดเด่นทางด้านอื่นที่เหนือคู่แข่ง ซึ่ง SCGP ได้ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้น Customer-Centricity หรือการดำเนินงานโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ด้วยการพัฒนานวัตกรรมสินค้า รวมถึงบริการและโซลูชันที่ครอบคลุมและตอบโจทย์การใช้งานบรรจุภัณฑ์ซึ่งสร้างความโดดเด่นและแตกต่างไม่เหมือนใครให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภค นอกจากนี้ SCGP ยังมีความแข็งแกร่งเรื่องช่องทางการจัดจำหน่าย นวัตกรรมสินค้าและบริการ การกระจายความเสี่ยงไปในหลายประเทศ หลายอุตสาหกรรม และหลายประเภทสินค้า ทั้งหมดเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงเหล่านี้ลดลง ผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินที่ผ่านมาถือว่า SCGP สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องทั้งรายได้และกำไร โดยภาพรวมล่าสุดในงวดครึ่งปีแรก SCGP มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญก็มาจากการควบรวมกิจการและยอดขายบรรจุภัณฑ์ของกลุ่ม E-commerce, Food Delivery ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ สัดส่วนรายได้ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร : ร้อยละ 84.0 ธุรกิจเยื่อและกระดาษ : ร้อยละ 16.0 รายได้จากการขาย ปี 2559 : 74,542 ลบ. ปี 2560 : 81,455 ลบ. ปี 2561 : 87,255 ลบ. ปี 2562 : 89,070 ลบ. ครึ่งปีแรก 2563 : 45,903 ลบ. กำไรสุทธิ ปี 2559 : 3,285 ลบ. (อัตรากำไรร้อยละ 4.4) ปี 2560 : 4,425 ลบ. (อัตรากำไรร้อยละ 5.4) ปี 2561 : 6,065 ลบ. (อัตรากำไรร้อยละ 6.9) ปี 2562 : 5,269 ลบ. (อัตรากำไรร้อยละ 5.9) ครึ่งปีแรก 2563 : 3,636 ลบ. (อัตรากำไรร้อยละ 7.9) เรามารอดูวัน IPO กันครับว่าราคาหุ้นจะเป็นเท่าไหร่ หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหรือแนะนำให้ซื้อ ถือหรือขายหุ้นแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน รายละเอียดเพิ่มเติม https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=282407&lang=th https://scgp.listedcompany.com/misc/mdna/20191231-scgp-mdna-fy2019-th.pdf https://investor.scgpackaging.com/th
SCGP หุ้นน้องใหม่ที่ไม่ใหม่
ภาพรวมธุรกิจ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ”) เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ถือหุ้นในบริษัทที่ให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ทั้งบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ (Fiber-based Packaging) วัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (Performance and Polymer Packaging) และภาชนะบรรจุอาหาร (Food Service Products) พร้อมบริการออกแบบ การพิมพ์และโซลูชันอื่น ๆ ที่มีความหลากหลาย จากจุดเริ่มต้นในปี 2558 ที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากธุรกิจเดิมที่โฟกัสเฉพาะผลิตภัณฑ์กระดาษให้เป็นธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่มีการนำเสนอโซลูชันและนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรมากขึ้น ทำให้ SCGP กลายเป็นผู้ผลิตในระดับภูมิภาคและเป็นหนึ่งในธุรกิจดาวรุ่งของเอสซีจีที่มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการดำเนินงานของ SCGP ประกอบด้วยสองธุรกิจหลัก ได้แก่ (1) สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) และ (2) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Chain) SCGP เป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้าจำนวนมาก จากกลุ่มลูกค้าที่มีตั้งแต่บรรษัทต่างชาติ บริษัทชั้นนำระดับประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) นอกจากนี้ ฐานลูกค้าของ SCGP ยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ธุรกิจเฮลท์แคร์ ไปจนถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดย 52% ของรายได้จากการขายมาจากลูกค้าภายในประเทศ และอีก 48% เป็นรายได้จากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้โครงสร้างธุรกิจของ SCGP ยากที่จะลอกเลียนแบบ ธุรกิจของ SCGP ให้บริการและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ และบริษัทฯ ยังมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมให้สามารถตอบสนองทั้งความต้องการของลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการและไลฟ์สไตล์การใช้งานของผู้บริโภค โดยปัจจุบันรายได้จากการขายกว่า 70% ของ SCGP อยู่ในกลุ่มสินค้าในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค รวมถึงได้รับแรงเสริมจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่มีการหันมาซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ และสั่งอาหารผ่านฟู้ดเดลิเวรีเพิ่มมากขึ้น และถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยในอนาคต SCGP ก็มีโครงการที่จะนำเงินส่วนหนึ่งที่ได้จากการระดมทุน IPO ไปใช้ในการขยายธุรกิจ ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ มีศักยภาพในการเติบโตไปกับอัตราการบริโภคโดยรวมภายในประเทศ ในส่วนของโครงการในอนาคต SCGP ได้พัฒนาแผนกลยุทธ์ในการควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition (M&A)) โดยมุ่งเน้นไปที่การขยายธุรกิจ การเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์หรือวัสดุพื้นฐานในการผลิต การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์เดิมของบริษัทฯ การสะสมและพัฒนาเทคโนโลยี ทักษะ และความชำนาญใหม่ ๆ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตทางธุรกิจ นอกจากนี้ จากแนวโน้ม “เมกะเทรนด์” ทางเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยเฉพาะเทรนด์อีคอมเมิร์ซในกลุ่มประเทศที่ SCGP ประกอบธุรกิจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจากข้อมูลของ ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน คาดว่าความนิยมในการซื้อของออนไลน์ใน 4 ประเทศนี้จะเติบโตกว่าปีละ 14.5% ในช่วงระหว่างปี 2562-2567 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา นอกเหนือจาก “ปัจจัยเชิงคุณภาพ” อีกสิ่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ “ปัจจัยเชิงปริมาณ” อันได้แก่ ผลประกอบการและอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทฯ เมื่อมองผลประกอบการย้อนหลังในช่วงปี 2559-2562 พบว่า SCGP มีรายได้จากการขายที่เติบโตต่อเนื่อง โดยคิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 6.1% ขณะที่กำไรสุทธิมีอัตราการเติบโตกว่า 17.0% ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนการเพิ่มประสิทธิภาพและการเติบโตของธุรกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี และล่าสุด ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 SCGP มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รายละเอียดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ การเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกในครั้งนี้ เป็นการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,127,550,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.5 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ (ไม่รวมจำนวนหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินอาจใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากบริษัทฯ ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) หาก ณ วันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมดจำนวน 1,127,550,000 หุ้น มีผู้จองซื้อหุ้นเป็นจำนวนมากกว่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายดังกล่าว อาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment) จำนวนไม่เกิน 169,130,000 หุ้น ซึ่งหุ้นส่วนเกินดังกล่าวจะมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้ อย่างไรก็ดี จำนวนหุ้นที่เสนอขายสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย และผู้ซื้อหุ้นเบื้องต้นในต่างประเทศ (ถ้ามี) มุมมองของ Club VI วอร์เรน บัฟเฟตต์ สอนว่า ให้ลงทุนในบริษัทที่มี “ความได้เปรียบในการแข่งขัน” ซึ่งเป็นสิ่งที่ SCGP มีอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ในสนามแข่งขันทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน อันเกิดจากโครงสร้างธุรกิจซึ่งยากจะลอกเลียนแบบได้ มีประสิทธิภาพในการผลิตที่ดี อีกทั้งบริษัทฯ ยังเป็นที่เชื่อถือในหมู่ผู้บริโภค มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายตอบโจทย์ลูกค้าได้แทบทุกอุตสาหกรรม ตลอดจนอยู่ในเครือบริษัทที่มีรากฐานมั่นคงและทำธุรกิจมายาวนาน อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า บริษัทฯ ยังคงต้องใช้เม็ดเงินลงทุนเพื่อสร้างการเติบโต เพราะการขยายธุรกิจย่อมต้องใช้เงินทุนก้อนโตเพื่อแลกมา จึงควรระมัดระวังเรื่อง “หนี้สิน” หากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ภาระดอกเบี้ยก็ย่อมเพิ่มขึ้น และบริษัทฯ ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เมื่อย้อนดูผลการดำเนินงานในอดีต จะพบว่ารายได้และกำไรของ SCGP ค่อนข้างมีความสม่ำเสมอ จึงยังมีความเป็นไปได้สูงที่บริษัทฯ จะลากเส้นการเติบโตต่อไปในอนาคต อันเป็นผลจากเทรนด์ของอุปสงค์บรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคที่กำลังเป็นขาขึ้น ประกอบกับการที่ SCGP มีความพร้อมที่จะคว้าโอกาสเหล่านั้น ไม่แพ้รายอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมอีกด้วย โดยสรุป แม้จะมีความท้าทายหลายประการ แต่ต้องถือว่า SCGP เป็นบริษัทพื้นฐานดี ธุรกิจมีความน่าสนใจลงทุนและมีศักยภาพเติบโตไปกับอุตสาหกรรมอีกหลายประเภท ทั้งนี้ นักลงทุนควรศึกษาและติตตามภาพรวมของธุรกิจที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอให้เข้าใจถ่องแท้ หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหรือแนะนำให้ซื้อ ถือหรือขายหุ้นแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
SCGP หุ้นจ่อ IPO ไฟแรง ผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียน
สรุปจุดเด่น SCGP ผู้ให้บริการโซลูชันด้านกระดาษบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน เติบโตอย่างต่อเนื่องตอบรับจากการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และธุรกิจอื่น ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของ Mega trends ที่สำคัญ ผลการดำเนินงานเป็นเลิศ รายได้จากการขาย และกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง SCGP ถือเป็นหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock ซึ่งการเข้า IPO จะทำให้ SCGP สามารถไปลงทุนขยายธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่งและเต็มรูปแบบทั้งการเพิ่มกำลังการผลิต (Organic) และการควบรวมกิจการ (Inorganic) พร้อมเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืนไปกับ Circular Economy (หลักเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน) ตอบโจทย์แนวคิดคนรุ่นใหม่ไฟแรง อยู่ในหมวดธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจที่เติบโตในภูมิภาคอาเซียน คุณกำลังจะเติบโตไปกับอะไร? บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ”) เป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีรายได้จากการขายโตแบบปีต่อปีอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดเด่นอย่างการผสานเทคโนโลยีกับสินค้าบรรจุภัณฑ์ให้มีความลํ้าหน้าและทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุอาหารและผัก หรือบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ อีกทั้งยังมีฐานลูกค้าเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งในและนอกประเทศ ไปจนถึงกลุ่ม SMEs หรือสรุปแล้วคุณกำลังจะเติบโตไปกับธุรกิจที่มียอดขายเติบโตต่อเนื่อง พร้อมฐานลูกค้าที่มีความแข็งแกร่ง! เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ทุกคนคงอยากจะรู้ตัวอย่างสินค้ากัน เพราะฉะนั้น ผมจึงขอหยิบยกสินค้าบางส่วนของ SCGP มาให้ทุกคนได้รับชมและตัดสินใจในศักยภาพ รวมถึงจะได้เข้าใจธุรกิจกันมากขึ้นนะครับ หลัก ๆ แล้ว SCGP มีธุรกิจอยู่ 2 ธุรกิจ คือ (1) สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร และ (2) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ ซึ่งมีสินค้าและจุดเด่นต่าง ๆ ดังนี้… 1) ธุรกิจจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ มีบรรจุภัณฑ์หลากหลาย อาทิ บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง บรรจุภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ที่สามารถนำไปอุ่นร้อนเข้าไมโครเวฟหรือจะแช่เย็นก็ยังได้ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุผักและผลไม้สดต่าง ๆ ที่จะช่วยลดการเกิดของเสียในระหว่างขนส่ง หรือจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับอาหารที่ผ่านการอบและสินค้าอื่นที่ไวต่อออกซิเจน ช่วยคงความสดและยืดอายุการเก็บรักษาของสินค้าที่เชื่อมโยงต่อยอดมายังธุรกิจการแพทย์ 2) สายธุรกิจเยื่อและกระดาษ คือ จำหน่ายภาชนะบรรจุอาหาร และผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์อาหารแบรนด์ “เฟสท์” และผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ รวมถึงกระดาษถ่ายเอกสารแบรนด์ไอเดียด้วย จากที่เล่ามาแล้ว จึงกล่าวได้ว่า SCGP เป็นผู้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย พื้นฐานธุรกิจแข็งแรง ลูกค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศต่างมั่นใจในคุณภาพ SCGP มีฐานรายได้ทั้งจากในและนอกประเทศ โดยหลัก ๆ แล้วจะเป็นในประเทศไทย รวมไปถึงกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย อีกทั้งยังมีฐานลูกค้าที่เป็นบริษัทชั้นนำของประเทศหรือจะเรียกได้ว่ามีพันธมิตรธุรกิจที่มีพื้นฐานแข็งแรง ทำให้ไว้วางใจได้ว่าจะมีการสั่งซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้ที่เติบโตอย่างยั่งยืน ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนกำลังมีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง รวดเร็ว 1) ตลาดบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ณ จุด ๆ นี้คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าอีคอมเมิร์ซยังสามารถเติบโตได้อีกมาก และหากว่ากันถึงตลาดบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซที่ SCGP กำลังดำเนินธุรกิจอยู่นั้นก็ถือได้ว่ามีอัตราเติบโตที่น่าทึ่งเช่นกัน จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ธุรกิจแห่งอนาคตที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ 2) ยอดการใช้งานบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ กำลังเติบโต นอกจากการเติบโตในตลาดใหญ่อย่างอีคอมเมิร์ซแล้ว ยอดการใช้งานสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์ในกลุ่มประเทศที่ SCGP ทำธุรกิจด้วย ก็มีการเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย โดยการเติบโตเฉลี่ยต่อปีแต่ปี 2562-2567 นั้นอยู่ที่ 5.87% และในช่วง COVID-19 ทำให้ผู้คนอยู่บ้านและใช้บริการอีคอมเมิร์ซ ซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่เคยทดลองใช้บริการได้เรียนรู้ และคุ้นชินกับการจับจ่ายออนไลน์ จึงอาจทำให้อีคอมเมิร์ซเติบโตมากกว่าที่เคยเป็น 3) ยอดผู้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและกระดาษเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากลงรายละเอียดลึกลงมาอีกหน่อย ในส่วนของการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกและกระดาษ บรรจุภัณฑ์กระดาษถือเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของ SCGP ยอดการใช้ต่อหัวในไทยนั้นอยู่ที่ 50 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แซงหน้าจีนที่ 35 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ในส่วนของบรรจุภัณฑ์พลาสติกเองศักยภาพการเติบโตของ GDP ที่ 5.1% ณ ปี 2562 รวมกับปริมาณประชากรในอาเซียนที่ 650 ล้านคนแล้ว ก็ถือได้ว่ากลุ่มคนในภูมิภาคอาเซียนขนาดใหญ่กำลังมีการเติบโตทางฐานรายได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการจับจ่ายใช้สอย และนำไปสู่การบริโภคสินค้า ที่จะส่งผลบวกสอดคล้องไปกับกลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเหมือนชิ้นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในสินค้าต่าง ๆ Circular Economy ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ไฟแรง “SCGP ถือว่ามีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน” Circular Economy หรือหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นแนวทางที่เน้นการนำสินค้าและพลังงานกลับมาใช้ใหม่แบบไม่รู้จบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่ SCGP ให้ความสำคัญโดยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ จึงถือได้ว่ามีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน โอกาสลงทุนในหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock เป็นธรรมดาที่หากเราลงทุนในธุรกิจอะไรสักธุรกิจหนึ่ง เราย่อมต้องการโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนและเติบโตไปกับธุรกิจนั้น ซึ่ง SCGP เองก็มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งแบบ Organic คือการเพิ่มกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และแบบ Inorganic ผ่านกลยุทธ์การควบรวมกิจการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการเข้าระดมทุนในครั้งนี้ จะทำให้ SCGP มีเงินไปลงทุนต่อยอดธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น จึงถือเป็นหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock อีกหนึ่งตัวที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนสายคุณค่าหรือ Value Investor (VI) รายได้จากการขายเติบโตต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด ในส่วนของรายได้จากการขายหากย้อนไปดูสัก 4 ปีก่อนหน้าตามภาพด้านบนก็ถือได้ว่าเติบโตต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางธุรกิจที่แข็งแกร่งและความสามารถของผู้บริหาร ที่สามารถผลักดันยอดขายให้เติบโตต่อเนื่องได้แบบปีต่อปีไม่มีถอย โดยสัดส่วนกว่า 69% ของรายได้จากการขายของ SCGP มาจากธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รายได้สามาถรถไปต่อได้เรื่อย ๆ ไม่ค่อยผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ การเติบโตไม่หยุดยั้งแต่เพียงเท่านี้ SCGP พร้อมขยายธุรกิจเสริมสร้างรายได้ให้แข็งแกร่ง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตทางรายได้ ยอดขายหรือกำไรของบริษัทเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความคาดหวังกันเป็นอันดับแรก ๆ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ราคาหุ้นและเงินปันผลที่ได้รับเติบโตตาม ๆ กันไป การขยายธุรกิจเป็นวิถีทางหนึ่ง ที่จะช่วยเสริมสร้างราคาหุ้นให้เติบโตยิ่ง ๆ ขึ้นไป ดังนั้นในส่วนถัดไป เราจะมาดูกันว่าหลัก ๆ แล้ว SCGP กำลังจะขยายโครงการอะไรในอนาคต โครงการขยายกำลังการผลิต หลัก ๆ แล้ว SCGP มีโครงการที่จะเพิ่มฐานการผลิตในอนาคต สอดคล้องกับความต้องการสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในอาเซียน ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้า โดยจะมีการขยายกำลังการผลิต ทั้งในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ โดยจะมีการขยายกำลังการผลิตทั้งในส่วนของกระดาษบรรจุภัณฑ์ลูกฟูก กระดาษกล่องเคลือบขาว (Duplex Paper) และบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว หรือสรุปรวม ๆ ได้ว่าเป็นการต่อยอดการผลิตสินค้าที่ทาง SCGP มีความชำนาญเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเพิ่มความมั่นใจได้ว่า การขยายการผลิตดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างรายได้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในอนาคต ขยายธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่น SCGP มาพร้อมศักยภาพในการควบรวมกิจการ หากเป็นธุรกิจทั่ว ๆ ไปหลาย ๆ คนคงอาจนึกถึงการปั้นธุรกิจเองขยายสาขา เพิ่มกำลังการผลิตไปเรื่อย ๆ แต่ SCGP นั้นมีศักยภาพที่เหนือไปกว่านั้น ที่ผ่านมา SCGP ได้ใช้กลยุทธ์ขยายธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการในธุรกิจที่มีศักยภาพสูงและมีความโดดเด่น เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้า ตัวอย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้นบริษัทผู้นำธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย รวมไปถึงการเข้าซื้อหุ้นบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารสุดลํ้าระดับโลก แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการขยายกิจการ สร้างการเติบโตของธุรกิจในอนาคต ความเสี่ยงที่ควรพึงระวัง 1) ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากในช่วงล่าสุดทาง SCGP มีค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ย ซึ่งเป็นต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากวิกฤติ COVID-19 อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการคงอัตราดอกเบี้ยและปรับมุมมองเศรษฐกิจเป็นบวกมากขึ้น ทำให้ความผันผวนในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยนั้นลดลง 2) ความเสี่ยงทางด้านค่าเงิน ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทมีการแข็งค่าค่อนข้างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการค้ากับต่างประเทศ 3) ต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่กลางปี 2562 ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากการเข้าควบรวมกิจการ แต่การระดมทุนจาก IPO ครั้งนี้ จะทำให้ฐานะการเงินของ SCGP แข็งแกร่งขึ้น เพราะจะมีการนำเงินบางส่วนไปชำระหนี้ ทำให้มีอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง สรุปโดยรวมแล้ว SCGP เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับจองและจับตามอง ด้วยศักยภาพทางพื้นฐานธุรกิจที่มีความมั่นคง และรายได้ที่มีการเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงตอบโจทย์ในระยะยาวต่อคนรุ่นใหม่ด้วยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหรือแนะนำให้ซื้อ ถือหรือขายหุ้นแต่อย่างใด ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน References https://investor.scgpackaging.com/th/financial-information/financial-highlights https://investor.scgpackaging.com/storage/content/downloads/shareholders-meetings/2020/ar2019-th.pdf https://marketeeronline.co/archives/145801 https://scgnewschannel.com/th/scg-news/scgp-packaging-solutions/
SCGP ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนกำลังจะเข้าตลาดหุ้น
SCGP หรือ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) คือ บริษัทผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ใน SCG หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจปูนซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง ซึ่ง SCGP คือส่วนธุรกิจแพคเกจจิ้งที่กำลังจะเข้ามาระดมทุนในตลาดหุ้นนั่นเอง SCGP ประกอบธุรกิจใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ (Fiber-based Packaging) เช่น กล่องลูกฟูก และกล่องพิมพ์สีเพื่อการแสดงสินค้า กระดาษบรรจุภัณฑ์ (Packaging Paper) เช่น กระดาษบรรจุภัณฑ์ลูกฟูก กระดาษกล่องขาวเคลือบ และบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (Performance and Polymer Packaging) ที่นำเสนอบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวและบรรจุภัณฑ์แบบคงรูปเจาะกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการหมุนเวียนอย่างรวดเร็ว (Fast Moving Consumer Goods หรือ “FMCG”) ทั้งนี้ รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 84 ของรายได้จากการขาย 2) สายธุรกิจเยื่อกระดาษ (Fibrous Chain) บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาชนะบรรจุอาหาร (Food Service Products) จากแบรนด์ ‘เฟสท์’ เช่น หลอด ถ้วย ภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ (Pulp and Paper Products) เช่น กระดาษถ่ายเอกสารแบรนด์ ‘ไอเดีย’ กระดาษกราฟิก ฯลฯ ทั้งนี้ รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 ของรายได้จากการขาย จุดเด่นของ SCGP อยู่ที่ความครบวงจร ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ของ SCGP สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า รวมถึงผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสินค้า FMCG อาหารและเครื่องดื่ม สุขอนามัย ไปจนถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยแบรนด์ของ SCGP เองก็ได้รับการยอมรับในอาเซียน มีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างกลุ่มธุรกิจภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นเทรนด์ขึ้นมาเรื่อย ๆ SCGP ก็จับเทรนด์ได้ดีและแสวงหาการเติบโตใหม่ ๆ อยู่เสมอ การลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถก็เป็นเรื่องสำคัญ ในปี 2562 SCGP มีการลงทุนขยายกำลังการผลิต พัฒนาจุดแข็งในการดำเนินงาน และการขยายธุรกิจด้วยการควบรวมกิจการในภูมิภาค ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 25,000 ล้านบาท ตรงนี้อาจจะเรียกว่าเป็นอีกจุดแข็งหนึ่งของบริษัทฯ ก็ว่าได้ นอกจากนี้ SCGP เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศและภูมิภาค ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานและรักษาคุณภาพจนได้รับการยอมรับ สามารถขยายขีดความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่การทุ่มงบวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงควบรวมกิจการต่าง ๆ SCGP จึงคงสถานะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์ของ SCGP บริษัทฯ วางตัวเป็นคู่คิดให้ลูกค้า โดยใช้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ครบวงจรเป็นตัวช่วย สะดวกสำหรับลูกค้าที่ต้องการคำตอบในที่เดียว โดยมุ่งเน้นการตอบโจทย์ได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์สำหรับลูกค้ารายย่อย บรรจุภัณฑ์ที่มุ่งเน้นความสะดวกในการใช้งาน นวัตกรรบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น บรรจุภัณฑ์สำหรับกลุ่มลูกค้า e-commerce และบรรจุภัณฑ์ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด นอกจากนี้ SCGP ยังเน้นการดำเนินธุรกิจแบบ B2B2C เพราะสัดส่วนเกือบร้อยละ 70 ของรายได้จากการขายมาจากลูกค้าอยู่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัทฯ คิดค้นพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำมาพิจารณานั่นเอง เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy คือ หลักในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดย SCGP ก็มุ่งเน้นในการสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานง่าย น้ำหนักเบา แข็งแรง สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสัดส่วนกว่าร้อยละ 95 ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกล่องกระดาษในปัจจุบัน มาจากกระดาษรีไซเคิล หมายเหตุ: (1) คำนวณเป็นร้อยละของรายได้รวมจากการขายของบริษัทฯ (2) ข้อมูลตามส่วนงานแต่ละส่วนของสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรนำมาจากข้อมูลทางการเงินสำหรับผู้บริหารที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานจากผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ (3) สุทธิจากการตัดรายการระหว่างสายธุรกิจ ภาพรวมผลดำเนินงาน SCGP มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยครึ่งปีแรกมีรายได้จากการขายอยู่ที่ 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากงบการเงินพบว่า รายได้งวดครึ่งปีแรกของปี 2563 มีแนวโน้มที่เติบโตเช่นเดียวกับกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นผลจากยอดขายบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภคและกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพที่เติบโตอย่างมาก จากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ผู้บริโภคต่างใช้ชีวิตแบบ New Normal และทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ และให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัยมากขึ้นด้วย SCGP กำลังจะเข้าตลาดหุ้น SCGP มีแผนจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากที่เคยมี SCC เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ประมาณร้อยละ 99.0 ก่อนมีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน โดยบริษัทฯ จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) โดยจะมีประชาชนทั่วไปเข้ามาถือหุ้นสูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 หลังระดมทุนแล้ว SCGP ตั้งเป้าเติบโตทั้ง organic และ inorganic บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ในการขยายธุรกิจ ชำระคืนเงินกู้ยืม รวมไปถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ภาพแน่นอนข้อหนึ่งที่น่าจะเกิดขึ้นคือการลดลงของภาระหนี้สินและดอกเบี้ยจ่ายที่จะช่วยให้ SCGP แข็งแกร่งขึ้นอีก โดย SCGP มีโครงการลงทุนขยายกำลังการผลิตมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 8.2 พันล้านบาทที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 คือโครงการขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์ โครงการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวที่ประเทศเวียดนามและประเทศไทย บริษัทฯ ตั้งเป้าจะขยายส่วนงานธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง เช่น กลุ่มอาหาร FMCG และอีคอมเมิร์ซ และนำรูปแบบการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในไทยไปใช้ต่อต่างประเทศ เพื่อขยายขนาดตลาด กลุ่มลูกค้า และโอกาสในการเติบโต ปรับปรุงประสิทธิภาพและกำลังการผลิต ไปจนถึงมองหาโอกาสควบรวมกิจการ การระดมทุนครั้งนี้น่าจะกลายเป็นจุดหมายสำคัญในการเติบโต SCGP น่าจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่ได้รับแรงเสริมจากการเติบโตของเมกะเทรนด์ ทั้งอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ไปจนถึงกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ สำหรับใครที่รอคอยและตามหาหุ้นแบบนี้ อย่าลืมไปแกะกัน! เข้าไปอ่านแบบ filing ฉบับเต็มได้ที่ https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=282407&lang=th