SCGP Newsroom

ไทย-เดนมาร์ค เลือกใช้หลอดกระดาษเฟสท์ จาก SCGP เป็นผู้ผลิตนมยูเอชทีรายแรก ที่ใช้หลอดกระดาษจากผู้ผลิตภายในประเทศไทย เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

6 พฤศจิกายน 2563: อ.ส.ค. และ SCGP ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาหลอดกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับนมไทย-เดนมาร์ค พร้อมเปิดตัวใช้หลอดกระดาษ ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลก โดยนำร่องใช้กับผลิตภัณฑ์นม “ไทย-เดนมาร์ค แลคโตสฟรี” นับเป็นแบรนด์แรกที่เลือกใช้หลอดกระดาษจากผู้ผลิตภายในประเทศ โดยคาดการณ์ว่าพร้อมออกสู่ตลาด ในไตรมาสแรก ของปีพ.ศ. 2564 จะช่วยลดการใช้หลอดพลาสติก 7,000,000 หลอด ลดปริมาณขยะพลาสติก 2.5 ตันต่อปี

บรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ ใน SCGP ได้พัฒนาหลอดกระดาษเฟสท์ ที่ผลิตจากกระดาษสำหรับสัมผัสอาหาร ภายใต้มาตรฐานกระบวนการผลิตระดับสากล ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP-EU Standard  สามารถย่อยสลายได้ภายใน 90 วัน โดยมีนวัตกรรมการผลิตที่ทำให้หลอดโค้งงอ มีปลายตัด สะดวกสำหรับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย มีความแข็งแรงสามารถเจาะกล่องนมได้และใช้ดื่มนมได้จนหมดกล่อง ซึ่งไทย-เดนมาร์ค ได้ร่วมกับบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ ใน SCGP ในการพัฒนาหลอดกระดาษรวมถึงบรรจุภัณฑ์รวมหน่วยและบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งเพื่อลดปริมาณขยะภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการพัฒนาหลอดกระดาษและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์สำหรับนมไทย-เดนมาร์ค เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมและยกระดับสังคมไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาหลอดกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับนมไทย-เดนมาร์ค กล่าวว่า “ปัจจุบันรัฐบาลมีการส่งเสริมและรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเกิดความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด  ซึ่งการส่งเสริมและรณรงค์นี้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งในวงการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม จนถึงบริษัท ห้างร้าน โรงเรียน และชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานเป็นอย่างดี ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) มีความตระหนักถึงการร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยจะร่วมมือกันขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัว เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้”

ด้านนายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการ  ทำการแทนผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบัน ผู้บริโภคหันมาใส่ใจโภชนาการที่ดี และสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น  ทำให้การบริโภคนมได้รับความนิยมมากขึ้น  อีกทั้งรัฐบาลยังมีการรณรงค์ให้ผู้บริโภคดื่มนม จาก 18 ลิตร ต่อคน ต่อปี  เพิ่มเป็น 25 ลิตร ต่อคน ต่อปี ภายในปี พ.ศ.2569  อ.ส.ค.ในฐานะรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีพันธกิจในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทย รวมถึงเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายนมไทย-เดนมาร์ค ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงผลกระทบจากปัญหาขยะที่จะเพิ่มขึ้นตามการบริโภค  จึงได้ร่วมมือกับบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ และ บริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด ใน SCGP พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมนม  ซึ่งไทย – เดนมาร์ค นับเป็นเจ้าแรกในตลาดที่ใช้หลอดกระดาษ  ที่ผลิตภายในประเทศไทย และได้นำร่องใช้หลอดกระดาษกับผลิตภัณฑ์นม  “ไทย-เดนมาร์ค แลคโตสฟรี” ผลิตภัณฑ์นมยูเอชที สูตรปราศจากน้ำตาลแลคโตส โดยคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะออกสู่ตลาด ในไตรมาสที่ 1 ของปีพ.ศ.2564 และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  และยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมนมในประเทศต่อไป”

นางวิมล จันทร์เทียร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด และผู้อำนวยการ     แบรนด์บรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ ใน SCGP กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่หลากหลาย SCGP มุ่งให้ความสำคัญต่อผู้บริโภคและการเป็นพันธมิตรชั้นนำทางธุรกิจที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้า โดยในโอกาสนี้ได้ร่วมมือกับองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ในการพัฒนาหลอดกระดาษแบบโค้งงอ ปลายตัด เพื่อนำร่องใช้กับผลิตภัณฑ์นม “ไทย-เดนมาร์ค แลคโตสฟรี” และพร้อมขยายผลไปยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์ค มอร์แกนิก  โดยไทย-เดนมาร์ค นับเป็นเจ้าแรกในตลาดที่ใช้หลอดกระดาษจากกระดาษสำหรับสัมผัสอาหาร ที่ผลิตภายในประเทศไทย ภายใต้มาตรฐานกระบวนการผลิตระดับสากล ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP-EU Standard ไม่มีสารเคลือบ สามารถย่อยสลายได้ภายใน 90 วัน 

เฟสท์ ใน SCGP มุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง โดยนำเสนอบรรจุภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากกระดาษสำหรับสัมผัสอาหารและเยื่อยูคาลิปตัส  ซึ่งสามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรง มีความสะอาด ปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล โดยมีความหลากหลาย ทั้งรูปแบบและขนาดความจุ รวมกว่า 100 รายการ ซึ่งเฟสท์ยังพร้อมนำเสนอหลอดกระดาษอีก 4 รายการให้อ.ส.ค. ได้พิจารณาใช้งานที่ร้านไทย-เดนมาร์ค Milk Land ได้แก่ หลอดกระดาษเฟสท์ 6 มม. สำหรับเครื่องดื่มเย็น หลอดกระดาษเฟสท์ 8 มม. และ 10 มม. สำหรับเครื่องดื่มปั่น และหลอดกระดาษเฟสท์ 12 มม. สำหรับชานมไข่มุก

นอกจากนี้ SCGP ได้นำเสนอบรรจุภัณฑ์ Green Carton ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีผลิตกล่องน้ำหนักเบา (Lightweight G Technology) ที่สามารถลดการใช้วัตถุดิบกระดาษและพลังงานในการผลิต โดยยังคงความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์เช่นเดิม ซึ่งปัจจุบันได้นำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อขนส่งผลิตภัณฑ์นมยูเอชที ตราไทย-เดนมาร์ค Kid D และผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ SCGP ยังได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์แบบรวมหน่วย หรือ Multipack ซึ่งผลิตจากนวัตกรรมกระดาษลูกฟูกลอนเล็ก ที่มีความแข็งแรงและรองรับงานพิมพ์คุณภาพสูง เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าที่ต้องการความสวยงามและสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้อีกด้วย นับเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมตามหลัก Circular Economy 

และในโอกาสนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือระหว่าง อ.ส.ค และ SCGP จะนำไปสู่การสร้างบรรทัดฐานและยกระดับบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนม ให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นพัฒนานวัตกรรมร่วมกันที่คำนึงถึงการเติบโตทางธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง”

SCGP รุกเพิ่มฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร เพื่อขยายตลาดในสหราชอาณาจักร ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยเข้าซื้อหุ้น Go-Pak UK Limited เพิ่มรายได้กว่า 2,800 ล้านบาท

       บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้ลงนามในสัญญาซื้อหุ้นของ Go-PakUK Limited ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร (foodservice packaging) ในสหราชอาณาจักร ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยมีฐานการผลิตในเวียดนาม การลงทุนนี้จะทำให้ SCGP เติบโตอย่างแข็งแกร่งในธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหาร สามารถขยายฐานตลาดไปยังสหราชอาณาจักร ยุโรป และ อเมริกาเหนือ เพื่อรองรับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค และส่งเสริมการเติบโตของความต้องการบรรจุภัณฑ์อาหารทั่วโลก

 

       นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า “SCGP ได้ลงนามในสัญญาซื้อหุ้นเพื่อเข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ใน Go-Pak UK Limited (หรือ “Go-Pak”) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปของการลงทุนประมาณเดือนธันวาคม 2563  หลังจากได้รับการอนุมัติขั้นสุดท้ายด้านกฎเกณฑ์ต่าง ๆ จากหน่วยงานที่มีอำนาจในประเทศที่เกี่ยวข้อง ภายหลังการควบรวมกิจการ จะทำให้ธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร (foodservice packaging) ของ SCGP มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นกว่า 2,800 ล้านบาทต่อปี”

 

         Go-Pak มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองบริสตอล สหราชอาณาจักร และมีฐานการผลิตอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม โดยเป็นหนึ่งในผู้นำในการให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อาหารในสหราชอาณาจักร ยุโรป และอเมริกาเหนือ ทั้งจากฐานการผลิตของตนเองและเครือข่ายการจัดหาทั่วโลก ซึ่งบรรจุภัณฑ์อาหารเหล่านี้รวมถึง ภาชนะจาน ชาม ช้อนส้อม ถ้วย และแก้ว ที่ทำจากกระดาษ โพลิเมอร์ รวมถึงวัสดุย่อยสลาย อื่น ๆ จะนำไปใช้ในการบรรจุอาหารและเครื่องดื่มพร้อมรับประทาน ทั้งนี้ฐานลูกค้าของ Go-Pak ประกอบไปด้วย ผู้จัดจำหน่ายในภาคธุรกิจการบริการด้านอาหาร ผู้ค้าปลีก และผู้ค้าส่ง ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการร้านอาหาร เครือข่ายร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ร้านขายอาหารนำกลับ รวมถึงผู้ให้บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ โดยธุรกิจข้างต้นมุ่งเน้นเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย คุณภาพ และความสะดวก

 

         “รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน รวมถึงการนิยมสั่งซื้ออาหารสะดวกซื้อมากขึ้นนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งปัจจุบัน SCGP มีฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารในมาเลเซียและไทย โดยมีตลาดหลักในภูมิภาคอาเซียนและญี่ปุ่น การเข้าซื้อหุ้น Go-Pak จะเสริม ความแข็งแกร่งของฐานลูกค้าในตลาดสหราชอาณาจักร ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวมทั้งยังเป็นการเสริมศักยภาพ   การแข่งขันด้วยการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และขยายฐานการผลิตทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน โดยการลงทุนของ SCGP ใน Go-Pak ครั้งนี้ สอดคล้องกับกลยุทธ์การขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการขยายฐานลูกค้าที่เป็นตลาดผู้บริโภค และเพิ่มขีดความสามารถการผลิตบรรจุภัณฑ์ขั้นปลาย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร” นายวิชาญกล่าวเพิ่มเติม

                                   

         Go-Pak ก่อตั้งขึ้นในปี 2552 และมีการเติบโตทางธุรกิจอย่างก้าวกระโดดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 12 เดือนล่าสุด (ไตรมาสที่ 4/2562-3/2563) Go-Pak มีรายได้ 68.7 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 2,800 ล้านบาท) มีมูลค่าสินทรัพย์ 40.7 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 1,650 ล้านบาท) เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 3/2563 และมีกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร 4 พันล้านชิ้นต่อปี ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายกว่า 250 ประเภท  

 

——————————————————————-

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เป็นผู้ให้บริการบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งนำเสนอบริการด้านบรรจุภัณฑ์เยื่อและกระดาษ บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ และบริการบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายอื่น ๆ มีรายได้รวมในช่วงเก้าเดือนปี 2563 เท่ากับ 69,190 ล้านบาท โดยมีฐานการผลิตรวมกว่า 40 แห่งในเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย

SCGP โชว์ศักยภาพ 9 เดือนแรก ทำกำไรสุทธิ 4,971 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ชูโมเดลธุรกิจแข็งแกร่ง สินค้า บริการ และโซลูชันครบวงจร มุ่งเติบโตอย่างมีคุณภาพ

      SCGP โชว์ผลงาน 9 เดือน เติบโตอย่างมีคุณภาพ ทำกำไรสุทธิ 4,971 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 และมีรายได้จากการขาย 69,190 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากโมเดลธุรกิจที่แข็งแกร่ง การควบรวมกิจการ (Merger & Partnership) และมีฐานลูกค้าจำนวนมากและหลากหลายอุตสาหกรรมช่วยกระจายความเสี่ยง พร้อมวางแผนขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทฯ สามารถสร้างผลการดำเนินงานใน 9 เดือนของปีนี้เติบโตอย่างแข็งแกร่งท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน โดยมีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 69,190 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเติบโตร้อยละ 5 กำไรสุทธิ 4,971 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 22 เพิ่มขึ้นเช่นกัน จากความสามารถในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และมีปัจจัยเกื้อหนุนจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของความต้องการใช้สินค้าจำเป็นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยกลุ่มสินค้าที่เติบโตได้ดีใน 9 เดือนผ่านมาคือ บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค บรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซ และบรรจุภัณฑ์สำหรับฟู้ดเดลิเวอรี่ ในขณะที่กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เริ่มมีการฟื้นตัวในไตรมาสสาม หลังจากได้รับผลกระทบจากการที่ผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้าคงทนที่มีมูลค่าสูงในช่วงก่อนหน้านี้ รวมถึงความต้องการบรรจุภัณฑ์ในประเทศเวียดนามที่เติบโตขึ้นภายหลังจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 เริ่มคลี่คลาย และจากการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะจากการควบรวมกิจการกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียและบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ในประเทศไทยที่ทำให้ SCGP มีรายได้และกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

SCGP  ได้ออกแบบและดำเนินงานตามโมเดลธุรกิจ (Business Model) ที่แข็งแกร่ง โดยมีสินค้าและบริการที่หลากหลาย และมีความสามารถด้านการผลิตที่ครอบคลุมทั้งบรรจุภัณฑ์ขั้นต้น (Upstream) และบรรจุภัณฑ์ขั้นปลาย (Downstream) จึงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง SCGP ยังมุ่งเน้นการขยายตลาดบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและมีความต้องการใช้อย่างสม่ำเสมอในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนลูกค้ากลุ่มดังกล่าวประมาณร้อยละ 70 ของยอดขายในสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) พร้อมกับการเดินหน้าขยายธุรกิจด้วยการควบรวมกิจการหรือ Merger and Partnership (M&P) เพื่อขยายการเติบโต รองรับการบริโภคและเมกะเทรนด์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนการบริหารจัดการธุรกิจภายใต้แผน Business Continuity Plan และบริหารกระแสเงินสดอย่างระมัดระวัง จึงทำให้ SCGP ยังคงเติบโตและสามารถรับมือกับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรค COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมาได้

 

“ผลการดำเนินงานที่เติบโตท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนว่าเราเดินมาถูกทาง สามารถเติบโตอย่างมีคุณภาพหรือ Growth with Quality และบริษัทฯ จะมุ่งขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจรในภูมิภาคนี้” นายวิชาญกล่าว

 

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCGP กล่าวต่อว่า หลังจาก SCGP ได้ระดมทุนโดยการเสนอขายหุ้น IPO และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้วางแผนขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการขยายการลงทุนและการ     ควบรวมกิจการ ปัจจุบันโครงการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) ในประเทศเวียดนาม ได้เริ่มเปิดดำเนินการแล้ว และมีอีก 3 โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างด้วยงบลงทุนรวมกว่า 7,700 ล้านบาท จะทยอยแล้วเสร็จในปี 2564 ได้แก่ โครงการขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ (Packaging Paper) ในประเทศอินโดนีเซีย โครงการขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ (Packaging Paper) ในประเทศฟิลิปปินส์ และโครงการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) ในประเทศไทย

 

สำหรับความคืบหน้าของการควบรวมกิจการ (M&P) กับ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company หรือ (SOVI) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก (Corrugated Containers) รายใหญ่ในประเทศเวียดนามที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์    โฮจิมินห์ กำลังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบสินค้าคงคลังรอบสุดท้าย คาดว่าการทำธุรกรรมจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งการเข้าลงทุนนี้จะส่งผลให้ SCGP มีกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำจากเยื่อและกระดาษในเวียดนามเพิ่มขึ้น รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพขยายตลาดบรรจุภัณฑ์ เนื่องจาก SOVI มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่เป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่และบริษัทชั้นนำในประเทศ

 

“การควบรวมกิจการเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ ที่ต้องการขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน พร้อมทั้งขยายฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและเพิ่มขีดความสามารถการผลิตบรรจุภัณฑ์ขั้นปลาย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรทั้งในอาเซียน” นายวิชาญกล่าว

“Dezpax” จับมือ “Makro” ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มครบวงจร รองรับการเติบโตของตลาดฟู๊ดเดลิเวอรี

เดซแพค (Dezpax) สตาร์ทอัพผู้ให้บริการ Packaging Solutions ด้านอาหารและเครื่องดื่มครบวงจร จากเอสซีจี นำโดยคุณปฐมพงศ์ ดีปัญญา Chief Executive Officer ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มครบวงจร กับบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการค้าส่งสินค้าอุปโภคและบริโภคสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร นำโดยนายยุทธนา เพียงสุนทร รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารสินค้าอุปโภค ภายในงานได้รับเกียริตจาก คุณประกิจ วรวัฒนนนท์ Head of Startup Studio, ZERO TO ONE by SCG มาร่วมเป็นสักขีพยานความร่วมมือในครั้งนี้ด้วย

 

โดยความร่วมมือครั้งนี้ ทั้งสององค์กรจะร่วมมือกันให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มครบวงจร ตั้งแต่การนำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพและหลากหลาย พร้อมบริการพิมพ์โลโก้ร้านแบบครบจบในที่เดียว การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ช่วยยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการร้านอาหารทั่วประเทศ รองรับการเติบโตของตลาดฟู๊ดเดลิเวอรี พร้อมตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านแพคเกจจิ้งโซลูชันครบวงจร

‘บรรจุภัณฑ์อยู่รอบตัวเรา’ สำรวจนวัตกรรมจับต้องได้ที่ทำให้ชีวิต ‘สะดวก สบาย ง่าย ปลอดภัย’ ของ SCGP ในงาน SCGP IPO Roadshow [Advertorial]

นิทรรศการนำบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตและพัฒนาโดย SCGP มาจัดแสดง โดยจำแนกเป็นโซนตามไลฟ์สไตล์และการใช้งาน เพื่อให้นักลงทุนได้ทำความรู้จักกับบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน และได้เห็นภาพของบรรจุภัณฑ์ว่าอยู่รอบตัวเราได้อย่างไรบ้าง

SCGP IPO Roadshow ชื่องานก็บอกชัดเจนว่าเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อชวนให้นักลงทุนรับฟังการนำเสนอข้อมูลของ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน โดยผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงานเมื่อวันพุธที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่คือนักลงทุนที่มองเห็นแนวโน้มการเติบโตที่ดีของกลุ่มธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ธุรกิจหลักของ SCG

 

ในขณะที่ THE STANDARD ลงทะเบียนและเข้าร่วมงานในฐานะผู้บริโภคที่ใคร่รู้และอยากดูให้เห็นกับตาว่านวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ทุกไลฟ์สไตล์ และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นเช่นไร และเหตุใดในขณะที่ธุรกิจมากมายต้องพ่ายให้กับวิกฤตโควิด-19 แต่ธุรกิจบรรจุภัณฑ์กลับยังคงเติบโต

เราเริ่มค้นหาคำตอบภายในพื้นที่ของรอยัล พารากอน ฮอลล์ ซึ่งถูกเนรมิตให้กลายเป็นนิทรรศการที่นำบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตและพัฒนาโดย SCGP มาจัดแสดง จำแนกเป็นโซนตามไลฟ์สไตล์และการใช้งาน นับว่าเป็นไอเดียที่ดีที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้เห็นภาพชัดขึ้นว่าบรรจุภัณฑ์อยู่กับเราในทุกวันของชีวิต 

นอกจากนี้ทุกโซนจัดแสดงจะมีวิทยากรให้ข้อมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์อย่างละเอียด สังเกตเห็นว่าผู้เข้าร่วมงานก็ให้ความสนใจอย่างมาก ซักถามกันตั้งแต่ต้นทางการผลิตไปจนถึงปลายทาง คำตอบที่ได้ยินรวมถึงสิ่งที่ได้เห็นในงานล้วนเป็นไปตามแนวคิดหลักของบริษัทที่ยึดถือตลอดมา นั่นคือการสร้างนวัตกรรม ออกแบบวัสดุ ผลิตภัณฑ์ ระบบ และโมเดลทางธุรกิจให้เป็นมิตรกับธรรมชาติ โดยใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดของเสีย เพื่อนำกลับไปเป็นทรัพยากรหมุนเวียนในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสมในรูปแบบ ‘Make-Use-Return ผลิต ใช้ วนกลับ’  

5 โซนไฮไลต์ ล้วงลึกนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่อยู่กับเราในทุกวันของชีวิต

 

Personal Lifestyle ‘สะดวกกว่า สบายขึ้น’ 
เริ่มกันที่โซนแรก เป็นการจำลองไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันที่เชื่อมโยงไปกับคำว่า ‘สะดวกสบาย’ และไลฟ์สไตล์ยุค New Normal บรรจุภัณฑ์ใดบ้างที่จะช่วยให้ชีวิตประจำวันของเราสะดวกกว่าและสบายขึ้น เช่น Spout Pouch บรรจุภัณฑ์พร้อมฝาเกลียวที่ใช้ต่อกับเครื่องปั๊มนมได้เลย ตอบโจทย์คุณแม่ ไม่หก ไม่ปนเปื้อน ไม่เหม็นหืน ปั๊มเสร็จแล้วแช่ได้เลย หรือ EzySteam บรรจุภัณฑ์อุ่นไมโครเวฟได้สะดวก แค่ 2 นาทีก็อร่อยได้ นวัตกรรมใหม่ Digital Watermark เทคนิคการฝังรหัสข้อมูลดิจิทัลบนบรรจุภัณฑ์ แค่สแกนก็เข้าถึงข้อมูลสินค้า หรือสแกนเพื่อจ่ายเงินก็ยังได้ และชีวิตออนไลน์ที่ต้องจับจ่ายซื้อขายกันทุกวัน Doozy Pack บรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องไปรษณีย์ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ SCGP พัฒนาแบบครบวงจร ครบทุกไซส์ สามารถรองรับความต้องการที่เร่งด่วน 

 

 

Working Lifestyle ‘ปกป้องทุกย่างก้าว’ 
ต้องยอมรับว่าชีวิตนอกบ้านแวดล้อมไปด้วยความเสี่ยง ทั้งอันตรายจากสิ่งที่มองไม่เห็น และสิ่งที่เห็นแต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ SCGP จึงออกโรงปกป้องชีวิตในทุกย่างก้าว โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ซึ่งไม่ว่าจะกินที่ร้านหรือใช้บริการเดลิเวอรี บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ก็สามารถปกป้องเราได้จากสารปนเปื้อน ปกป้องอาหารไม่ให้รั่วซึม รวมถึงปกป้องโลกด้วยการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ไฮไลต์ของโซนนี้คือบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย Fest หนึ่งในแบรนด์ของ SCGP ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภคยุคนี้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP-EU Standard, HACCP และ BRC ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านดีไซน์อันสวยงามและฟังก์ชันที่เหมาะกับการใช้งาน 

ตอนนี้ผลิตออกมา 3 ประเภท 1. Fest Choice ผลิตจากกระดาษ สามารถใส่อาหารร้อนที่มีส่วนประกอบของน้ำและน้ำมันได้ปลอดภัย ไม่รั่วซึม และพิมพ์ลายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับบรรจุภัณฑ์ได้ 2. Fest Bio ผลิตจากเยื่อยูคาลิปตัส 100% สัมผัสอาหารได้โดยตรงเหมือนกัน ข้อดีคือย่อยสลายได้ภายใน 60 วัน เข้าไมโครเวฟได้ และ 3. Fest Chill ผลิตจากเยื่อยูคาลิปตัสเคลือบฟิล์ม เมื่อลอกฟิล์มออกก็นำมารีไซเคิลได้ บรรจุอาหารร้อนได้ 130 องศาเซลเซียส เข้าตู้เย็นและอุ่นร้อนได้ จึงน่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์บริการเดลิเวอรีได้อย่างดี  

 

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น กล่องกันไฟฟ้าสถิตBig Box กล่องสำหรับสินค้าขนาดใหญ่ หรือจะใช้รวมหน่วยเพื่อลดการใช้กล่องนอก ออกแบบความแข็งแกร่งได้ตามต้องการ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของบรรจุภัณฑ์ลดลง แน่นอนว่าลดการใช้ทรัพยากรลงไปด้วย หรือนวัตกรรม Green Carton ที่ใช้ทรัพยากรในการผลิตลดลง มีน้ำหนักเบาลง แต่กล่องยังคงความแข็งแรงเท่าเดิมนั่นเอง 

 

Well-Being ‘นวัตกรรมที่ใส่ใจ ปลอดภัยกว่าที่เคย’   
SCGP ไม่ได้เก่งเรื่องบรรจุภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังขยันสรรหานวัตกรรมที่ต่อยอดจากศักยภาพที่มีในทุกความเป็นไปได้ ผสานความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของทีมนักวิจัย กลายมาเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการได้ด้วย เช่น Aquacella Plusเจลแอลกอฮอล์ที่นำ Cellulose สำหรับทำเยื่อกระดาษ ใช้นาโนเทคโนโลยีทำให้เส้นใยเล็กลงก่อนผสมในเจล ซึ่งไม่เพียงช่วยฆ่าเชื้อโรค แต่ยังดึงความชุ่มชื้นกลับสู่ผิว เส้นใย Cellulose ยังนำไปสานจนกลายเป็น Smart Guard ฟิลเตอร์ แผ่นกรองอนามัยที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับหน้ากากผ้า ป้องกันไวรัส แบคทีเรีย และฝุ่น PM2.5 ได้ ที่สำคัญไปกว่านั้นคือสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ  

 

 

ผลิตภัณฑ์บางอย่างคิดค้นจากปัญหาของลูกค้า เช่น อุปกรณ์ยึดบาดแผลโดยไม่ต้องเย็บ หมดปัญหาเรื่องแผลเป็นจากการเย็บ หรือ Odor Lock ฟิล์มเก็บกลิ่นที่มีคุณสมบัติเก็บกลิ่นได้ถึง 2 ชั้น โดยเฉพาะกลิ่นทุเรียน ตัวอย่างของนวัตกรรมที่ใส่ใจผู้บริโภคและตอบโจทย์การใช้งานที่ปลอดภัยกว่าที่เคย 

 

 

 

Shopping Lifestyle ‘มากกว่าทุกความคาดหวัง’ 
ซูเปอร์มาร์เก็ตจำลองที่ทำให้คุณมองเห็นความหมายที่ซ่อนอยู่ในบรรจุภัณฑ์ นอกจากความสวยงามและปกป้องสินค้า บรรจุภัณฑ์แต่ละชิ้นที่ได้เห็นในโซนนี้ล้วนถูกออกแบบโครงสร้างเพื่อตอบโจทย์การใช้ในงานทุกรายละเอียด เช่น OptiBreath บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยคงความสดอร่อยได้นานยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่ช่วยยืดอายุผักผลไม้ด้วยการคำนวณอัตราการหายใจ และสร้างกลไกให้ผักผลไม้หายใจช้าลง จึงยืดอายุได้นานขึ้น เช่น ผักบางชนิดปกติเก็บได้ 5 วัน แต่เมื่อเก็บใน OptiBreath จะยืดอายุเป็น 10 วัน  

 

 

หรือ Thermoformed Packaging บรรจุภัณฑ์ประเภทถ้วยพร้อมฝาปิด ผลิตจาก Polypropylene ทนความร้อนและสารเคมีได้ดี และยังมีฟิล์ม Evoh ป้องกันการซึมผ่านของอากาศและน้ำมัน เก็บรักษารสชาติได้ดี รวมไปถึงนวัตกรรมกระดาษลูกฟูกลอนจิ๋ว (Micro Flute) บรรจุภัณฑ์บางเฉียบ ความสูงของลอนเพียง 1 มิลลิเมตร แต่ยังคงความแข็งแกร่ง ที่สำคัญ SCGP ยังทำหน้าที่เป็น One Stop Service หรือเป็นคู่คิดช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ธุรกิจของลูกค้า ไปจนถึงออกแบบการพิมพ์เพื่อช่วยให้ธุรกิจของลูกค้าเติบโตไปด้วยกัน  

 

To Be Better ‘คิดให้จบ วนให้ครบ ใช้ให้คุ้ม’  
โซนเกือบสุดท้ายจะมีตู้รับกระดาษรีไซเคิลที่ SCGP นำไปติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อรับบริจาคกระดาษจากผู้ใช้งานตรง งานนี้จึงยกตู้จริงมาให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทดลองใช้จริง วิธีการง่ายๆ คือแค่สแกนแผ่น QR Code ที่สอดไว้หน้าตู้ แล้วกดปุ่มตามคำสั่ง ช่องใส่กระดาษก็จะเปิดออกอัตโนมัติ เครื่องนี้รองรับกระดาษใดๆ ก็ได้ จะเป็น A4 ในออฟฟิศ บิลค่าไฟ หรือกล่องลังก็นำมาหย่อนได้ จากนั้นกดปุ่ม ‘เสร็จสิ้น’ ช่องก็จะปิด พร้อมแสดงข้อมูลหน้าจอว่ากระดาษที่ใส่ไปหนักเท่าไร เทียบได้กับการลดการตัดต้นไม้เพื่อนำมาผลิตสินค้าใหม่ได้กี่ต้น รู้สึกเหมือนได้ช่วยต้นไม้ทันที ซึ่งกระดาษที่ SCGP ได้ไปก็จะนำไปรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ถ้าเป็นกระดาษลังก็วนกลับมาเป็นกล่องกระดาษ ถ้าเป็นกระดาษ A4 ก็วนกลับมาเป็น A4 เหมือนเดิมภายใต้แบรนด์ Idea Green ส่วนตระกร้าสานหรือขวด PCR ที่เห็นก็เป็นผลงานการรีไซเคิลจากวัสดุต่างๆ ของ SCGP เช่นกัน 

 

 

บรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องตอบโจทย์การใช้งานในทุกไลฟ์สไตล์ และต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เมื่อเดินครบทุกโซนก็ยิ่งเห็นภาพบรรจุภัณฑ์แทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรมชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปแบบการใช้ชีวิตในยุค New Normal ที่ผู้คนคุ้นชินกับการทำกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น มองหาความสะดวกสบายมากขึ้น ซื้อของออนไลน์ สั่งอาหารเดลิเวอรี ส่งผลให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและธุรกิจอาหารที่ปรับตัวมาขายแบบเดลิเวอรีได้รับอานิสงส์ไปด้วย 

หากดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคใน 5 ประเทศหลักในภูมิภาคอาเซียน (ประเทศไทย, ประเทศเวียดนาม, ประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย) ตัวเลขปี 2562 ประชากรประมาณ 578 ล้านคน พบว่าเทรนด์การเติบโตของผู้บริโภคในอาเซียนมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่คาดว่าปี 2562-2567 จะเติบโตประมาณ 30% ซึ่งไลฟ์สไตล์ที่ปรับเปลี่ยนส่งผลต่อการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนเติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลที่น่าสนใจคือการบริโภคที่มีส่วนร่วมสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อมก็เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลกลายเป็นที่ต้องการของตลาด 

เท่ากับว่าจากนี้ไป นอกจากบรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องตอบโจทย์การใช้งานในทุกไลฟ์สไตล์แล้ว ในยุคที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ ผู้บริโภคเองก็เริ่มมองหาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ก็เท่ากับเราได้มีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ทำให้ธุรกิจต่างๆ นำปัจจัยนี้มาเป็นโจทย์หลักในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สร้างสรรค์โซลูชันที่หลากหลายเพื่อลูกค้าทุกกลุ่ม  

 

 

SCGP เองก็ไม่เคยหยุดพัฒนานวัตกรรม นำเสนอบรรจุภัณฑ์และโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ออกสู่ตลาดเสมอ จึงสามารถครองตำแหน่งผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียนจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบัน SCGP เป็นผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน มีบรรจุภัณฑ์ที่ครอบคลุมและหลากหลาย เป็นผู้ให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์เพียงไม่กี่รายในภูมิภาคนี้ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ตามความต้องการ โดยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2563 สามารถทำรายได้กว่า 45,903 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 11% 

 

 

 

นอกจากนี้ SCGP ยังมีความพร้อมด้านบุคลากรในแต่ละฝ่ายที่ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด มีหน่วยงาน Inspired Studio ออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยมีนักออกแบบ 36 คน นักวิจัยและพัฒนา 90 คน ที่ทำการค้นคว้าวิจัยใน 12 ประเภท พนักงานขายและบริการลูกค้า 500 คน ภายใต้งบประมาณที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนากว่า 500 ล้านบาทต่อปี จึงทำให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนการให้บริการได้อย่างรวดเร็ว และจนถึงวันนี้ SCGP ก็เป็นเจ้าของสิทธิบัตร 66 รายการ 

 

 

ปัจจุบัน SCGP มีลูกค้าในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยเป็นการผสมผสานระหว่างลูกค้าบรรษัทข้ามชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลก บริษัทชั้นนำในแต่ละประเทศ ไปจนถึงกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

ในอนาคต SCGP ยังเสริมศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการลงทุนใน 4 โครงการที่ทยอยแล้วเสร็จในปี 2563-2564 เงินลงทุนรวมประมาณ 8,200 ล้านบาท ได้แก่ การขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม และการขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์ 

ทั้งข้อมูลที่ได้ฟังและบรรจุภัณฑ์ที่เห็นในนิทรรศการทั้งหมดนี้คงจะคลายข้อสงสัยใคร่รู้ได้ครบจบแบบไม่มีข้อกังขาใดๆ ถึงการเติบโตของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ รวมถึงทิศทางในอนาคตของธุรกิจที่ไม่ว่าอย่างไร ‘บรรจุภัณฑ์’ ในทุกรูปแบบก็จะเป็นสิ่งสำคัญและอยู่เคียงข้างทุกการใช้ชีวิตอย่างแท้จริง

ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?id=1683658098593742&story_fbid=2563500340609509

SCGP เคาะราคาเสนอขายสุดท้ายหุ้น IPO ที่ 35.00 บาทต่อหุ้น ปลื้มนักลงทุนรายย่อยและสถาบันจองซื้อท่วมท้น

บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ”) ประกาศราคาเสนอขายสุดท้ายหุ้น IPO ที่ 35.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น หลังได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นจากนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันที่แสดงความต้องการจองซื้อมากกว่าจำนวนหุ้นที่จัดสรรไว้ ชูศักยภาพผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน และแผนงานขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเพื่อรับประโยชน์จากเมกะเทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในภูมิภาคนี้ คาดเข้าเทรดวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประมาณวันที่ 22 ตุลาคม 2563

 

นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม เปิดเผยว่า หลังจากบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้กำหนดช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้นหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายแก่ประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ราคา 33.50-35.00 บาทต่อหุ้น โดยเปิดให้นักลงทุนรายย่อยจองซื้อเมื่อวันที่ 1-2 และ 5 ตุลาคม 2563 ที่ราคา 35.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาสูงสุดของช่วงราคาเสนอขายเบื้องต้น พร้อมทั้งสำรวจความต้องการซื้อหุ้น IPO ของนักลงทุนสถาบัน (Bookbuilding) พบว่าได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม โดยนักลงทุนสถาบันแสดงความต้องการซื้อที่ช่วงราคาเสนอขายสูงสุดคือ 35.00 บาทต่อหุ้น และมีความต้องการจองซื้อมากกว่าจำนวนหุ้น IPO ที่จัดสรรไว้ จึงกำหนดราคาเสนอขายสุดท้าย (Final Price) หุ้น IPO ที่ 35.00 บาทต่อหุ้น โดยมั่นใจว่าราคาดังกล่าวสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานและศักยภาพของ SCGP ที่เป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน โดยภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการเสนอขายหุ้น IPO คาดว่าจะนำหุ้น SCGP เข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประมาณวันที่ 22 ตุลาคมนี้

 

นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายร่วม กล่าวว่า การเสนอขายหุ้น IPO ของ SCGP ครั้งนี้ มีจำนวนไม่เกิน 1,127.6 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งนี้ (ไม่รวมหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน อาจใช้สิทธิซื้อหุ้น IPO จากบริษัทฯ ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) และจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Over Allotment) จำนวนไม่เกิน 169.1 ล้านหุ้น รวมคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 29.3 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ (กรณีที่ใช้สิทธิซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน) โดยในการเสนอขายหุ้น IPO แก่นักลงทุนรายย่อย และการสำรวจความต้องการซื้อหุ้น IPO ของนักลงทุนสถาบันที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับที่ดีมากและเป็นนักลงทุนสถาบันที่มีคุณภาพ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในโมเดลธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรของ SCGP ที่เป็นผู้นำบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียน และมีแผนงานขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ไปใช้ขยายธุรกิจ ชำระเงินกู้และเป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยวางแผนขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมุ่งนำเสนอบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย พร้อมทั้งมุ่งคิดค้นและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

 

ในด้านแผนงานขยายการลงทุนนั้น จะมีทั้งโครงการที่ SCGP ขยายการลงทุนเอง และเข้าควบรวมกิจการ (Merger & Partnership) โดยในปี 2563 บริษัทฯ ได้เจรจาและลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกรายใหญ่ในเวียดนามที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ นอกจากนี้มีโครงการขยายกำลังการผลิตในประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ รวม 4 โครงการ ใช้งบลงทุนรวมประมาณกว่า 8,200 ล้านบาท จะทยอยแล้วเสร็จในปี 2563-2564 และอยู่ระหว่างศึกษาโอกาสขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง

 

******************************************

ข้อมูลเพิ่มเติม

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (SCGP) ดำเนินธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน เป็นหนึ่งในธุรกิจของเอสซีจีที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ที่เติบโตจากความต้องการของผู้บริโภคที่มีเพิ่มขึ้น (Consumer Growth) ทั้งในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย รวมทั้งประเทศอื่น ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ SCGP ยังมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่มีวัสดุหลากหลายประเภท (Multi-materials) ทั้งกระดาษและพอลิเมอร์ พร้อมการให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Packaging Solutions Provider) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ พร้อมการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าชั้นนำระดับสากลได้อย่างครอบคลุมและครบวงจร

 

หมายเหตุ

การแจกจ่ายเอกสารฉบับนี้ไปยังประเทศหรือเขตอำนาจรัฐอื่น ๆ นอกจากประเทศไทย อาจเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย ผู้ที่ได้รับเอกสารฉบับนี้ควรศึกษาและปฏิบัติตามข้อจำกัดทางกฎหมายนั้น ๆ เอกสารฉบับนี้ไม่ได้ถูกจัดทำเพื่อการเผยแพร่ การตีพิมพ์ หรือการแจกจ่าย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในหรือไปยังสหรัฐอเมริกา

 

เอกสารฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อแจ้งข้อมูลเท่านั้น และไม่ถือเป็นการเสนอขายหรือการชักชวนให้เข้าซื้อหลักทรัพย์ใด ๆ และไม่มีการเสนอขายหรือซื้อหลักทรัพย์ในประเทศหรือเขตอำนาจรัฐใดที่การเสนอขาย การชักชวนการเสนอซื้อ หรือการขายหลักทรัพย์นั้นขัดต่อกฎหมาย หลักทรัพย์ที่กล่าวถึงในเอกสารฉบับนี้ยังไม่ได้นำไปจดทะเบียนภายใต้กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1933 รวมทั้งที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม (“กฎหมายหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา”) หรือกฎหมายของรัฐใด ๆ ในสหรัฐอเมริกา และจะไม่มีการเสนอขายหรือการขายหลักทรัพย์ดังกล่าวในสหรัฐอเมริกา เว้นแต่จะได้มีการจดทะเบียนหรือได้รับยกเว้นการจดทะเบียนภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา และกฎหมายของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ไม่มีความประสงค์ที่จะจดทะเบียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดหรือว่าทั้งหมดของการเสนอขายหรือหลักทรัพย์ใด ๆ ที่กล่าวถึงในเอกสารฉบับนี้ในสหรัฐอเมริกา หรือดำเนินการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในสหรัฐอเมริกา

 

ข้อความในเอกสารฉบับนี้ที่เป็นการคาดการณ์ของตลาดหรือแนวโน้มอุตสาหกรรมนอกเหนือจากที่เป็นข้อเท็จจริงในอดีต เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองในปัจจุบัน สมมติฐาน การประมาณการ อันมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอน จึงมิได้เป็นการรับประกันว่าเหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่คาดการณ์นั้นจะเกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงในสมมติฐานหรือปัจจัยต่าง ๆ อาจทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างจากการคาดการณ์ดังกล่าว

 

********************************************

 

เผยแพร่โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอ็ม ที มัลติมีเดีย จำกัด (ในนาม SCGP)

รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ : ฐิยาภรณ์ ศรีอดุลย์พันธุ์ (ด๊ะ) โทร. 087 556 6974 E-mail: [email protected]

SCGP ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา บรรจุภัณฑ์ดัดแปรบรรยากาศสำหรับผลิตผลสดทางการเกษตร

             เมื่อเร็วๆ นี้ SCGP นำโดย คุณวิชาญ จิตร์ภักดี Chief Executive Officer และ คุณกรัณย์ เตชะเสน Chief Operating Officer Performance and Polymer Packaging Business ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนากับมหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ผศ.ดร.พีรธร บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร และผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายในงานได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี มาร่วมเป็นสักขีพยานความร่วมมือในครั้งนี้ด้วย

             โดยความร่วมมือครั้งนี้ ทั้งสององค์กรจะร่วมกันทดสอบ วิจัย และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ดัดแปรบรรยากาศ (Modified Atmosphere Packaging) บรรจุผลิตผลสดทางการเกษตรสำหรับส่งออก โดยบรรจุภัณฑ์นี้มีคุณสมบัติช่วยดูดซับก๊าซเอทิลีน สามารถนำไปใช้ยืดอายุและลดการเน่าเสียของผลิตผลสดทางการเกษตรได้ โดยเริ่มต้นศึกษาจากมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ที่ทางมหาวิทยาลัยกำลังศึกษาและวิจัยอยู่ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยี Laser Perforation และ Compounding ของศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี SCGP เข้าไปใช้ในกระบวนผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสนับสนุนและต่อยอดงานวิจัยเพื่อยกระดับและส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารและผลิตผลสดทางการเกษตรที่นับว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้เติบโตขึ้นอีกด้วย

SCGP คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ จากผลงาน DETECT ODOR & MONITORING (DOM)

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา SCGP โดย ดร.พงษ์สุดา ผ่องธัญญา Director – Product & Technology Development Center พร้อมด้วย ดร.ทิพนครินทร์ บุญเฟื่อง Senior Researcher เข้ารับ “รางวัลชนะเลิศ” รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2563  ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ประเภทการออกแบบบริการ ด้วยผลงาน “Detect Odor & Monitoring (DOM)” ระบบตรวจวัดและเฝ้าระวังกลิ่นแบบครบวงจร จาก นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ

Detect Odor & Monitoring (DOM) เป็นนวัตกรรมโซลูชันด้านการสำรวจตรวจวัด การประเมินผลกระทบกลิ่นจากแหล่งกำเนิด รวมไปถึงระบบตรวจวัดและเฝ้าระวังกลิ่น แก๊ส และมลพิษทางอากาศแบบต่อเนื่องที่มีการนำผลตรวจวัดมาใช้ร่วมกับสภาพภูมิอากาศ และแสดงผลตรวจวัดบนเว็ปแพลตฟอร์มที่สะดวก และเข้าถึงได้ง่าย มีการแจ้งเตือนเมื่อมีความเสี่ยง นอกจากนี้ มีการใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือในการสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการระบุอัตลักษณ์ของกลิ่นนำไปสู่การวิเคราะห์และประมวลผลในอนาคตที่แม่นยำและรวดเร็วขึ้น 

โดยครั้งนี้นับว่าเป็นการได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นครั้งที่ 2 ของ SCGP หลังจากที่เคยได้รับมาแล้วเมื่อปี 2553 ในด้านเศรษฐกิจ จากผลงาน “TextPro” กระดาษเพื่องานพิมพ์หนังสือแบบเรียน รางวัลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ SCGP ในการค้นคว้าและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านสินค้าและบริการ เพื่อตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้า ทุกภาคส่วน และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน

สรุปหุ้น IPO SCGP

ถ้าพูดถึงหุ้นใหญ่เมืองไทยที่ทุกคนรู้จักกันดีคงมีชื่อของหุ้นเอสซีจี หรือ SCC ที่สร้างผลกำไรให้นักลงทุนมากมายหลายปีที่ผ่านมา วันนี้ต้องบอกว่าพี่ปูนใหญ่กลับมาแล้ว! แต่รอบนี้เป็นการนำบริษัทย่อยที่ทำธุรกิจบรรจุภัณฑ์มาเข้าตลาดหุ้นภายใต้ชื่อ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP”) เพื่อระดมทุนไปรองรับแผนการเติบโตแบบ Organic ด้วยการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิต และมีแผนแบบ Inorganic ผ่านการควบรวมกิจการทั้งในและต่างประเทศ

หุ้นตัวนี้มีความดีงามที่น่าสนใจหลายอย่างเช่น เป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน แถมธุรกิจของ SCGP ก็กำลังเติบโตตามเทรนด์ผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ (E-Commerce) และธุรกิจรับส่งอาหาร (Food Delivery) บอกได้เลยว่าจะเป็น IPO แห่งปีที่น่าจับตามองแน่นอน ส่วนรายละเอียดของตัวธุรกิจน่าสนใจแค่ไหน ผมสรุปมาให้แล้วครับ

หุ้นกำลังจะเข้าตลาดแล้ว ช่วงนี้ผลตอบแทนดี ๆ หลายตัว ไม่ศึกษาเตรียมไว้ ถ้าพลาดแล้วห้ามบ่นว่า ”เสียดาย” นะครับ 🙂

แว้บแรกที่ดูหุ้น SCGP หุ้นตัวนี้มีความน่าสนใจอยู่ประมาณ 3-4 ประเด็นด้วยกันครับ

  1. เป็นผู้นำธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย และอีกหลาย ๆ ประเทศในอาเซียน ตรงนี้น่าสนใจเพราะการแข่งขันช่วงนี้แข่งกันดุเดือด ซึ่ง SCGP ถือเป็นรายใหญ่ จึงมีความแข็งแกร่งค่อนข้างมาก
  2. เป็นหุ้นที่เติบโตไปพร้อมกับเทรนด์การบริโภคและช้อปปิ้งออนไลน์ของอาเซียน ผมเองสังเกตเห็นว่าช่วงหลัง ๆ ที่ผ่านมา คนสั่งของออนไลน์กันเยอะมาก การใช้แพคเกจจิ้งก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หุ้น SCGP น่าจะได้รับแรงหนุน ประกอบกับการมี R&D ที่แข็งแกร่ง ก็จะยิ่งช่วยเสริมเกิดการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว
  3. รายได้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและอุตสาหกรรมยังมีช่องว่างให้เติบโตอยู่ โดย SCGP มีแผนการเติบโตแบบ Organic ด้วยการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิต และแผนแบบ Inorganic ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรที่น่าสนใจในการขยายธุรกิจ
  4. SCGP ทำการตลาดในอาเซียนและมีการส่งออกมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก นับได้ว่าเป็นหุ้นที่มีส่วนแบ่งรายได้จากตลาดในต่างประเทศประมาณครึ่งหนึ่ง ใครอยากไปต่างประเทศแต่ไม่อยากซื้อหุ้นต่างประเทศ ซื้อ SCGP ก็ทำให้ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตของต่างประเทศได้ครับ

ชื่อ SCGP นี่ก็ไม่ได้มาเล่น ๆ เพราะบริษัทนี้ถือเป็นบริษัทย่อยของปูนซิเมนต์ไทย (SCC) นี่เอง ปัจจุบัน SCC ถือหุ้นประมาณ 99% แต่หลังจาก IPO เข้าตลาดแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นของ SCC จะเหลือราว ๆ ไม่น้อยกว่า 70%

แต่ SCC ก็ยังมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ ดังนั้น การซื้อหุ้น SCGP ก็เหมือนการได้ร่วมทุนกับปูนใหญ่ไปกลาย ๆ

โดยตัวธุรกิจหลัก ๆ ของ SCGP เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยผลิตตั้งแต่กระดาษที่เอาไปทำบรรจุภัณฑ์, กล่องที่ใช้ในอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงสินค้านวัตกรรมต่าง ๆ

สัดส่วนของธุรกิจแบ่งตามรายได้ ประกอบด้วย สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร และสายธุรกิจเยื่อและกระดาษ

สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจรมีสัดส่วนรวม 84% ของรายได้จากการขาย (ข้อมูลงวดครึ่งปีแรกของปี 2563) ถือเป็นธุรกิจหลักของ SCGP เลยทีเดียว ซึ่งตรงนี้รายได้แบ่งแยกย่อยเป็น 3 ประเภทคือ ….
1.บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ 25%
2.กระดาษสำหรับใช้ทำบรรจุภัณฑ์ 51%
3.บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ 8%

สายธุรกิจเยื่อและกระดาษมีสัดส่วน 16% ของรายได้จากการขายทั้งหมด

มองผ่านตัวเลขอาจจะเข้าใจได้ไม่หมด ผมทำรูปตัวอย่างมาให้ดูกันชัด ๆ ครับว่าหน้าตาสินค้าแต่ละหมวดเป็นอย่างไรบ้าง?

จากภาพนี้ จะเห็นว่าบรรจุภัณฑ์ของ SCGP มีหลากหลายรูปแบบมาก ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม

Highlight ที่น่าสนใจของบรรจุภัณฑ์ของ SCGP คือหมวดบรรจุภัณฑ์สมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ที่มีโอกาสการเติบโตสูงเพราะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค

นอกจากนั้น SCGP ยังผลิตสินค้าจำพวกกล่องอาหาร และถาดใส่อาหารต่าง ๆ ดังนั้น SCGP จึงมีโอกาสเติบโตของการสั่งอาหารผ่าน Food Delivery มากขึ้นด้วยครับ

ดังนั้น พอบรรจุภัณฑ์ที่ SCGP ขายมีความหลากหลาย ลูกค้าที่มาซื้อก็มีความหลากหลายตามไปด้วย ลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทคือกลุ่ม Consumer Goods ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 69% ส่วนที่เหลืออีก 31% เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมและอื่น ๆ

บริษัทที่เป็นลูกค้าของ SCGP ก็เช่น บริษัทแฟชั่นกีฬา, ผู้ผลิตอาหารแช่แข็งและผลไม้กระป๋อง, ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายและสุขอนามัย, เครื่องปรับอากาศ, อาหารสำเร็จรูป ฯลฯ

ลูกค้าของ SCGP กระจายอยู่ในหลายอุตสาหกรรม ดังนั้น ทำให้ความเสี่ยงของ SCGP ลดลงด้วย เพราะไม่ต้องพึ่งพิงอยู่กับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งมากจนเกินไป

SCGP ดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแกร่ง การเติบโตของรายได้ก็ถือว่าอยู่ในระดับดีทีเดียว สำหรับบริษัทที่มีรายได้ระดับเกือบ ๆ แสนล้าน ดูในรูปจะเห็นว่ารายได้ปีล่าสุดมีการเติบโตมาราว ๆ 2% แต่กำไรลดลงเล็กน้อย จริง ๆ มันมีสาเหตุอยู่ครับ

เพราะในไตรมาส 3 ปี 2562 SCGP มีการควบรวมบริษัทบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียและในประเทศไทยมา 2 ราย ทำให้รายได้เข้ามาไม่เต็มปี นอกจากนั้นปี 2562 สินค้าหมวดเยื่อและกระดาษมีราคาขายที่ปรับลดลง ถัว ๆ กันไปกับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่มากขึ้นออกมาเป็นการเติบโตเล็กน้อยที่ 2%

อัตรากำไรขั้นต้นของ SCGP ก็ลดลงในทิศทางเดียวกันคือลดจาก 20.8% ในปี 2561 มาเหลือ 19.6% ในปี 2562 ด้วยสาเหตุเดียวกันกับที่กล่าวไปข้างต้น

ส่วนล่าสุด ภาพรวมครึ่งปีแรกของปีนี้ SCGP มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 45,903 ล้านบาท เติบโต 11% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิ 3,636 ล้านบาท เติบโต 40% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

แล้วบริษัทมีแผนในการสร้างการเติบโตให้กลับมาอย่างรวดเร็วอย่างไรบ้าง?

SCGP มีแผนหลัก ๆ อยู่ 2 แผนด้วยกันคือ การเพิ่มกำลังการผลิตให้กับสินค้าที่เติบโตและการควบรวมซึ่งจะทำให้ SCGP ได้กำไรทันที

SSCGP ยังมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตให้กับบริษัทโดยรวมได้ที่ 15.7%

Sส่วนการเพิ่มกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (พวกซอง ๆ ทั้งหลาย) SCGP มีแผนในการเพิ่มกำลังการผลิตให้โรงงานในประเทศไทยและเวียดนาม

Sที่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตเพราะอัตราการใช้กำลังการผลิตเดิมของโรงงานเริ่มเต็มนั่นเอง

ถามว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้บริษัทมั่นใจได้ว่าเพิ่มกำลังการผลิตมาแล้วสินค้าจะยังขายได้? ปัจจัยนั้นคือเรื่องการเติบโตของตลาดบรรจุภัณฑ์ในอาเซียน จากรูปจะเห็นว่าแต่ละประเทศมีการเติบโตของการบริโภคบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ 5.3-7.2% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย

ประเทศไทยโต 5.3%
ประเทศอินโดนีเซียโต 5.5%
ประเทศเวียดนามโต 5.6%
ประเทศฟิลิปปินส์โต 7.2%

อย่างไรก็ตาม ในฐานะของนักลงทุนก็ไม่ควรมองที่โอกาสในการทำกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ก็ต้องมองความเสี่ยงไว้ด้วยซึ่ง SCGP มีความเสี่ยงที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวหลายอย่างเช่น

  1. เรื่องการจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอต่อความต้องการของบริษัทที่มีการไปตั้งโรงงานไว้ในหลายประเทศ
  2. เนื่องจากธุรกิจของ SCGP เป็นกระดาษซึ่งมีวัตถุดิบตั้งต้นมาจากเยื่อไม้และกระดาษรีไซเคิล ดังนั้น บริษัทจึงจำเป็นต้องทำตามกฎหมายของแต่ละประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้นได้ในกรณีที่ประเทศนั้น ๆ ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และอาจมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
  3. กระดาษพิมพ์เขียนเป็นสินค้าที่มีโอกาสถูก Disruption สูง แม้ปัจจุบันจะเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ทั้งในเชิงการเรียน และการส่งของต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีเรื่องเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลเสียกับบริษัทได้

แม้ความเสี่ยงจะมีอยู่บ้างแต่ด้วยศักยภาพของ SCGP และฐานะความเป็นผู้นำตลาด บริษัทฯ มีการติดตามความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง และสามารถปรับไลน์การผลิตไปสู่สินค้าที่มีอนาคตดีกว่าได้

สุดท้ายถ้าอยากซื้อหุ้นร่วมทุนทำธุรกิจกับ SCGP ที่มีปูนใหญ่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ รายละเอียดที่นักลงทุนจำเป็นต้องรู้มีดังต่อไปนี้ครับ …

  1. เงินปันผล ! บริษัทมีแผนที่จะจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 20% ของกำไรสุทธิ ซึ่งส่วนตัวผมถือว่ามันไม่มาก แต่ก็พอเข้าใจได้เพราะบริษัทต้องใช้เงินในการขยายกำลังการผลิต รวมไปถึงการซื้อกิจการ
  2. การซื้อหุ้น SCGP ถือเป็นการลงทุนในหุ้นที่มีสถานะธุรกิจเป็นผู้นำในหลาย ๆ ประเทศ ความแข็งแกร่ง และการเติบโตนับว่าคาดหวังได้
  3. ขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปในสัดส่วนสูงสุดไม่เกิน 29.3% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนส่วนเกินทั้งจำนวน) ถือว่าไม่มากไม่น้อย เป็นระดับปกติที่บริษัทมั่นใจได้หุ้นจะซื้อง่ายขายคล่องในตลาด

SCGP ถือว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจเพชรเม็ดงามของเอสซีจี เข้าตลาดมาคงเป็นที่ติดตามของนักลงทุนทั้งรายย่อยและรายใหญ่ ส่วนใครอยากจะเข้าไปซื้อ ก็ขอให้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Filing ตัวเต็มได้ครับ

ขอให้โชคดีมีกำไรกันทุกคนมีความสุขกับการลงทุนครับ

SCGP ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนกำลังจะเข้าตลาดหุ้น

SCGP หรือ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) คือ บริษัทผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ใน SCG หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจใน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจปูนซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจเคมิคอลส์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง ซึ่ง SCGP คือส่วนธุรกิจแพคเกจจิ้งที่กำลังจะเข้ามาระดมทุนในตลาดหุ้นนั่นเอง

SCGP ประกอบธุรกิจใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่

1) สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain)
บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ (Fiber-based Packaging) เช่น กล่องลูกฟูก และกล่องพิมพ์สีเพื่อการแสดงสินค้า กระดาษบรรจุภัณฑ์ (Packaging Paper) เช่น กระดาษบรรจุภัณฑ์ลูกฟูก กระดาษกล่องขาวเคลือบ และบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (Performance and Polymer Packaging) ที่นำเสนอบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวและบรรจุภัณฑ์แบบคงรูปเจาะกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการหมุนเวียนอย่างรวดเร็ว (Fast Moving Consumer Goods หรือ “FMCG”) ทั้งนี้ รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 84 ของรายได้จากการขาย

2) สายธุรกิจเยื่อกระดาษ (Fibrous Chain)
บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาชนะบรรจุอาหาร (Food Service Products) จากแบรนด์ ‘เฟสท์’ เช่น หลอด ถ้วย ภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ (Pulp and Paper Products) เช่น กระดาษถ่ายเอกสารแบรนด์ ‘ไอเดีย’ กระดาษกราฟิก ฯลฯ ทั้งนี้ รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 ของรายได้จากการขาย

จุดเด่นของ SCGP อยู่ที่ความครบวงจร
ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ของ SCGP สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า รวมถึงผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสินค้า FMCG อาหารและเครื่องดื่ม สุขอนามัย ไปจนถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยแบรนด์ของ SCGP เองก็ได้รับการยอมรับในอาเซียน มีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างกลุ่มธุรกิจภาชนะบรรจุอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นเทรนด์ขึ้นมาเรื่อย ๆ SCGP ก็จับเทรนด์ได้ดีและแสวงหาการเติบโตใหม่ ๆ อยู่เสมอ

การลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถก็เป็นเรื่องสำคัญ
ในปี 2562 SCGP มีการลงทุนขยายกำลังการผลิต พัฒนาจุดแข็งในการดำเนินงาน และการขยายธุรกิจด้วยการควบรวมกิจการในภูมิภาค ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 25,000 ล้านบาท ตรงนี้อาจจะเรียกว่าเป็นอีกจุดแข็งหนึ่งของบริษัทฯ ก็ว่าได้ นอกจากนี้ SCGP เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศและภูมิภาค ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานและรักษาคุณภาพจนได้รับการยอมรับ สามารถขยายขีดความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่การทุ่มงบวิจัยและพัฒนา รวมไปถึงควบรวมกิจการต่าง ๆ SCGP จึงคงสถานะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

กลยุทธ์ของ SCGP
บริษัทฯ วางตัวเป็นคู่คิดให้ลูกค้า โดยใช้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ครบวงจรเป็นตัวช่วย สะดวกสำหรับลูกค้าที่ต้องการคำตอบในที่เดียว โดยมุ่งเน้นการตอบโจทย์ได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์สำหรับลูกค้ารายย่อย บรรจุภัณฑ์ที่มุ่งเน้นความสะดวกในการใช้งาน นวัตกรรบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น บรรจุภัณฑ์สำหรับกลุ่มลูกค้า e-commerce และบรรจุภัณฑ์ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด

นอกจากนี้ SCGP ยังเน้นการดำเนินธุรกิจแบบ B2B2C เพราะสัดส่วนเกือบร้อยละ 70 ของรายได้จากการขายมาจากลูกค้าอยู่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัทฯ คิดค้นพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำมาพิจารณานั่นเอง

เศรษฐกิจหมุนเวียน
เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy คือ หลักในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดย SCGP ก็มุ่งเน้นในการสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานง่าย น้ำหนักเบา แข็งแรง สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสัดส่วนกว่าร้อยละ 95 ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกล่องกระดาษในปัจจุบัน มาจากกระดาษรีไซเคิล

หมายเหตุ:
(1) คำนวณเป็นร้อยละของรายได้รวมจากการขายของบริษัทฯ
(2) ข้อมูลตามส่วนงานแต่ละส่วนของสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรนำมาจากข้อมูลทางการเงินสำหรับผู้บริหารที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานจากผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ
(3) สุทธิจากการตัดรายการระหว่างสายธุรกิจ

ภาพรวมผลดำเนินงาน
SCGP มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยครึ่งปีแรกมีรายได้จากการขายอยู่ที่ 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

จากงบการเงินพบว่า รายได้งวดครึ่งปีแรกของปี 2563 มีแนวโน้มที่เติบโตเช่นเดียวกับกำไรสุทธิ ซึ่งเป็นผลจากยอดขายบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารส่งออก สินค้าอุปโภคบริโภคและกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพที่เติบโตอย่างมาก จากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ผู้บริโภคต่างใช้ชีวิตแบบ New Normal และทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ และให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัยมากขึ้นด้วย

SCGP กำลังจะเข้าตลาดหุ้น
SCGP มีแผนจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากที่เคยมี SCC เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ประมาณร้อยละ 99.0 ก่อนมีการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน โดยบริษัทฯ จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) โดยจะมีประชาชนทั่วไปเข้ามาถือหุ้นสูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 หลังระดมทุนแล้ว

SCGP ตั้งเป้าเติบโตทั้ง organic และ inorganic
บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ในการขยายธุรกิจ ชำระคืนเงินกู้ยืม รวมไปถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ภาพแน่นอนข้อหนึ่งที่น่าจะเกิดขึ้นคือการลดลงของภาระหนี้สินและดอกเบี้ยจ่ายที่จะช่วยให้ SCGP แข็งแกร่งขึ้นอีก

โดย SCGP มีโครงการลงทุนขยายกำลังการผลิตมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 8.2 พันล้านบาทที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 คือโครงการขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์ โครงการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวที่ประเทศเวียดนามและประเทศไทย

บริษัทฯ ตั้งเป้าจะขยายส่วนงานธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง เช่น กลุ่มอาหาร FMCG และอีคอมเมิร์ซ และนำรูปแบบการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในไทยไปใช้ต่อต่างประเทศ เพื่อขยายขนาดตลาด กลุ่มลูกค้า และโอกาสในการเติบโต ปรับปรุงประสิทธิภาพและกำลังการผลิต ไปจนถึงมองหาโอกาสควบรวมกิจการ การระดมทุนครั้งนี้น่าจะกลายเป็นจุดหมายสำคัญในการเติบโต

SCGP น่าจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่ได้รับแรงเสริมจากการเติบโตของเมกะเทรนด์ ทั้งอีคอมเมิร์ซ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ไปจนถึงกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ

สำหรับใครที่รอคอยและตามหาหุ้นแบบนี้ อย่าลืมไปแกะกัน! เข้าไปอ่านแบบ filing ฉบับเต็มได้ที่
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=282407&lang=th