SCGP Newsroom

SCGP เตรียมขายหุ้นกู้ อายุ 3 ปี 8 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.65 ต่อปี มูลค่าเสนอขายไม่เกิน 5,500 ล้านบาท

SCGP เตรียมออกหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2564 อายุ 3 ปี 8 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.65 ต่อปี มูลค่าเสนอขาย   ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท และมีหุ้นกู้สำรองเพื่อการเสนอขายเพิ่มเติมมูลค่าไม่เกิน 500 ล้านบาท ชูอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ A+(tha) จากฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) สะท้อนฐานะการเงินและสถานะธุรกิจที่แข็งแกร่ง เปิดจองซื้อสำหรับ    ผู้ถือหุ้นกู้ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ครั้งที่ 1/2560 (SCC214A) ในวันที่ 15 มีนาคมนี้ และผู้ลงทุนทั่วไปสามารถจองซื้อได้ในวันที่ 29-31 มีนาคมนี้ ที่ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเสนอขายหุ้นกู้ครั้งแรกมูลค่าไม่เกิน 5,000 ล้านบาท และมีหุ้นกู้สำรองเพื่อการเสนอขายเพิ่มเติมมูลค่าไม่เกิน
500 ล้านบาท เพื่อนำมาชำระคืนเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ที่จะครบกำหนดภายในไตรมาส 3 ปี 2564 นี้ โดยหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับ   การจัดอันดับความน่าเชื่อที่ระดับ A+(tha) จากบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจจากการเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน

การเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ในวันที่ 1-5 มีนาคมนี้ จะให้สิทธิจองซื้อกับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2560 (SCC214A)* ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 1 เมษายนนี้ ด้วยอัตราส่วนเสนอขาย 1 หุ้นกู้ SCC214A ต่อ 0.2 หุ้นกู้ SCGP (SCGP24DA) จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 1,000 บาท และช่วงที่ 2 ในวันที่ 29-31 มีนาคมนี้ จะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป จองซื้อขั้นต่ำ 1,000,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท

สำหรับผู้ถือหุ้นกู้ SCC214A และผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจ สามารถจองซื้อหุ้นกู้ SCGP ได้ที่ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 5 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทั้งทางออนไลน์และที่สาขาของธนาคาร โดยดาวน์โหลดใบจองซื้อได้ที่ http://investor.scgpackaging.com/th ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ

ทั้งนี้ภาพรวมการดำเนินธุรกิจของ SCGP ในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยมีรายได้จากการขาย 92,786 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปีก่อน กำไรสุทธิ 6,457 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากปีก่อน เนื่องจากการขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับต่ำเพียง 0.6 เท่า และในปี 2564 บริษัทได้วางแผนขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี และรองรับความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่จะเพิ่มขึ้นหากสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลาย

*ผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นกู้ SCC214A ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน

SCGP หนุน “โปรโม – โปรเม” สู้ศึก LPGA 2021 ต้นแบบคนรุ่นใหม่ ส่งต่อแรงบันดาลใจสู่ความสำเร็จ

SCGP นำโดย คุณวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมสนับสนุนสองพี่น้อง โปรโม – โมรียา จุฑานุกาล (ขวา) และ โปรเม- เอรียา จุฑานุกาล (ซ้าย) นักกอล์ฟหญิงไทยที่ประสบความสำเร็จระดับโลก เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันดวลวงสวิงในรายการ LPGA 2021

เพราะแรงบันดาลใจ สร้างได้ ทุกที่ ทุกโอกาส…. SCGP ขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมส่งต่อพลังและแรงบันดาลใจจากโปรโมและโปรเมให้ทุกคน พร้อมกับสานฝันและเป็นกำลังใจให้ทั้งคู่ มุ่งสู่ความสำเร็จ สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ

SCGP คว้ารางวัล “Best IPO Retail Investors 2020” การันตีความเชื่อมั่นและยอมรับในระดับสากล

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้รับรางวัล Best IPO Retail Investors จากงานประกาศผลรางวัล Alpha SEA’s Best Deal & Solutions Awards 2020 ซึ่งจัดโดย Alpha Southeast Asia นิตยสารชั้นนำที่ได้รับความเชื่อถือในแวดวงตลาดเงินตลาดทุนของภูมิภาคอาเซียน ตอกย้ำความสำเร็จการเสนอขายหุ้นสามัญครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ SCGP โดยมีสัดส่วนของการกระจายหุ้นที่ครอบคลุมกลุ่มนักลงทุนหลากหลาย และได้เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนตุลาคม 2563 รางวัลนี้จึงสะท้อนถึงความเชื่อมั่น ความพึงพอใจ และการเป็นที่ยอมรับของ SCGP ในระดับสากล

SCGP ร่วมมือพันธมิตรขยายฐานธุรกิจแพคเกจจิ้ง รับดีมานด์ในเวียดนามเติบโต

SCGP เชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ผนึกความร่วมมือกับพันธมิตรเวียดนามเตรียมลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท สำหรับขยายธุรกิจและพัฒนาโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าหลากหลายอุตสาหกรรมในเวียดนาม

           นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า ได้วางกลยุทธ์เสริมศักยภาพการเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน โดยนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของ SCGP ผนึกความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการในแต่ละประเทศ เพื่อร่วมขยายธุรกิจ พัฒนาโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ พัฒนาบุคลากร สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้า เพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคที่เติบโต ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา SCGP ได้มีการขยายการลงทุนในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้เติบโตเฉลี่ยกว่าร้อยละ 10  ต่อปี โดยในปี 2552 SCGP ได้ก่อตั้ง Vina Kraft Paper Co., Ltd. เพื่อเป็นฐานการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ด้วยกำลังการผลิต 5 แสนตันต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์และรองรับอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อปี 2558 บริษัทได้เข้าลงทุนใน Tin Thanh Packing Joint Stock Company (BATICO) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) รายใหญ่ 1 ใน 5 ของเวียดนาม และประสบความสำเร็จในการร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขยายตลาดในเวียดนามรวมถึงตลาดส่งออก นำมาสู่การลงทุนขยายกำลังการผลิตอีกร้อยละ 17 หรือ 84 ล้านตารางเมตรต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            เมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา SCGP ได้ขยายการลงทุนในเวียดนามด้วยการควบรวมกิจการ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (หรือ SOVI) ผู้ผลิตชั้นนำด้านบรรจุภัณฑ์เมื่อเดือนมกราคม 2564 โดยเข้าถือหุ้นร้อยละ 94.11 มีกำลังการผลิตกระดาษลูกฟูกและกล่องลามิเนท (Offset Laminated Packaging) เพิ่มขึ้น 100,000 ตันต่อปี โดย SOVI มีรายได้กว่า 1,600 ล้านดอง (กว่า 2,200 ล้านบาท)

            และเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 SCGP ได้ลงนามสัญญาร่วมทุนใน Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation (Duy Tan) ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปในเวียดนามมีรายได้ประมาณ 6,100 ล้านบาท โดยมีฐานลูกค้าเป็นบริษัทข้ามชาติและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์ชั้นนำในเวียดนาม และเป็นผู้ผลิตภาชนะเครื่องใช้พลาสติกในครัวเรือนแบรนด์ “DuyTan” ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศเวียดนาม มีกำลังการผลิตประมาณ 116,000 ตันต่อปี คาดว่าการทำธุรกรรมเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 70 ครั้งนี้จะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2564

           สำหรับการขยายการลงทุนในเวียดนามเป็นไปตามกลยุทธ์ของบริษัทที่ต้องการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทั้งบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกและบรรจุภัณฑ์กระดาษ รวมถึงการพัฒนาทีมนักออกแบบในประเทศ พร้อมนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายให้ดีมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน SCGP พร้อมประสานความร่วมมือแบบบูรณาการกับพันธมิตรทุกราย เพื่อแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ในการพัฒนาโซลูชันด้าน  บรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร  พร้อมทั้งจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตของลูกค้าในภูมิภาคอาเซียนที่มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

            “การขยายฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำในเวียดนามทั้ง 3 โครงการ คาดว่าจะสร้างรายได้แก่ SCGP เพิ่มขึ้นประมาณ 8,500 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ได้เตรียมศึกษาการขยายกำลังผลิตกระดาษทางตอนเหนือของเวียดนาม เพื่อรองรับความต้องการใช้จากลูกค้าในประเทศและการขยายตลาดส่งออก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามอีกด้วย” นายวิชาญ กล่าว     

SCGP ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

SCGP ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ติดตามรายละเอียดที่ https://www.youtube.com/watch?v=UdMe3vw4quQ

สร้างโซลูชันไร้ขีดจำกัดด้วย Innovative Mindset

Innovative Mindset ไม่เพียงเป็นกระบวนการสร้าง วิธีคิดในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นภายในองค์กร  แต่ยังเป็นการผลักดันให้เกิดการเรียนรู้และการลงมือทำในสิ่งใหม่ ๆ เพี่อให้สามารถสร้างโซลูชันทางนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ เช่นเดียวกับ DOM (Detect Odor & Monitoring) เครื่องมือตรวจวัดกลิ่นภายในโรงงานอุตสาหกรรมของ SCGP หนึ่งในนวัตกรรม ที่ได้รับการพัฒนาจากกระบวนการคิดแบบ Innovative Mindset และคว้ารางวัลชนะเลัิศด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริการประเภทการออกแบบบริการจากการประกวด รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563

 

ในครั้งนี้เราจึงชวนตัวแทนของทีมพัฒนานวัตกรรม DOM มารวมแบ่งปันมุมมองแบบ Unbounded ในการสร้าง นวัตกรรมด้วยกระบวนการพัฒนาที่มี Innovative Mindset  เป็นแกนหลักอย่างแท้จริง

 

“เราเชื่อว่าการสร้าง DOM มาใช้ตรวจวัดและเฝ้าระวังกลิ่นที่เป็นปัญหาในโรงงานอุตสาหกรรมจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีความราบรื่นมากขึ้น เพราะที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องกลิ่นระหว่างโรงงานกับชุมชนยังไม่มีเครื่องตรวจวัดที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วย แต่ระบบเฝ้าระวังกลิ่นของ DOM สามารถตรวจวัดและวิเคราะห์องค์ประกอบของกลิ่นที่มีปัญหได้แม่นยำ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขก่อนจะมีผลกระทบต่อชุมขน

 

“นวัตกรรมตัวนี้ไม่ได้ตอบโจทย์เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดเรื่อง Innovative Mindset ซึ่งถือเป็นวิธีคิดที่สำคัญมาก ๆ ในการก้าวข้ามความท้าทายของทุกปัญหาเพราะนวัตกรต้องเป็นคนที่เข้าใจปัญหาและสร้างโชลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ได้ และแนวคิดดังกล่าวจะช่วยให้สิ่งที่กำลังสร้างอยู่กลายเป็นนวัตกรรมที่ดีได้เช่นเดียวกับที่ DOM เป็น และในอนาคตเราจะพัฒนา DOM ให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้งานนวัตกรรมชิ้นนี้อย่างกว้างขวางต่อไป”

 

ดร.ทิพนครินทร์ บุญเฟื่อง นักวิจัยอาวุโส/ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

 

“DOM คือนวัตกรรมที่เราเริ่มต้นพัฒนาขึ้นมาจากปัญหาเรื่องกลิ่นในโรงงานของเราเอง เมื่อเราคิดจะแก้ไขปัญหา เราจึงต้องลงไปศึกษาเรียนรู้ปัญหาอย่างเต็มที่

 

“ก่อนหน้านี้เราเคยใช้เครื่องมือในการตรวจวัดกลิ่นแบบต่าง ๆ มาบ้างแล้ว แต่ยังไม่สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นได้ทั้งหมดต่างจาก DOM ที่สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การสำรวจ ตรวจวัด ศึกษาผลกระทบ และติดตั้งระบบ Monitoring

“ผมมองว่า ความท้าทายในการพัฒนานวัตกรรม DOM อยู่ที่ความแตกต่างของปัญหาเรื่องกลิ่นในแต่ละพื้นที่ โรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่งมีปัญหากลิ่นไม่เหมือนกัน ซึ่งตัวแปรที่ต่างกันนี้อาจทำให้โซลูชันของ DOM ไม่สามารถตอบโจทย์การนำไปใช้งานในทุก ๆ พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากัน ดังนั้น เราจึงต้องเรียนรู้จากปัญหาแบบ case by case ทำความเข้าใจปัญหาเฉพาะพื้นที่ของลูกค้าอยู่เสมอ และต้อง

พยายามปรับเครื่องมือของเราให้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเร็วที่สุด

คุณวุฒินันท์ ฤกษ์มังกร นักวิจัย

Hale’s Blue Boy x SCGP : สื่อสารความสุข ผ่านบรรจุภัณฑ์ พร้อมเป็นพาร์ตเนอร์ตัวจริงที่จริงใจ

เพียงแค่เอ่ยชื่อ “เฮลซ์บลูบอย” เชื่อว่าหลายคนก็น่าจะจินตนาการรสชาติน้ำหวานแบรนด์นี้ได้ไม่ยาก แม้ในเมืองไทยจะมีน้ำหวานแบบเดียวกันอยู่หลายแบรนด์ในตลาดแต่เฮลซ์บลูบอยสามารถครองใจคนไทยมาได้ทุกยุคสมัย นอกจากกลิ่นหอมและรสชาติอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงแบรนด์และสโลแกนที่ทุกคนจดจำได้แล้ว กุญแจสำคัญที่ทำให้น้ำหวานเฮลซบลูบอยเป็นแบรนด์น้ำหวานอันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภคตลอดมากว่ 60 ปีนั้น คุณดำรง พัฒนะเอนก ผู้จัดการทั่วไป-โรงงาน บริษัทเฮลซ์ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด แชร์ให้ฟังว่า “คุณภาพสินค้าถือเป็นเลือดเนื้อ เป็นชีวิตและหัวใจของเฮลซ์บลูบอย”

 

ส่งต่อความหวาน สานต่อคุณภาพ

กว่า 60 ปีที่บริษัท เฮลซ์ เทรดดิ้งฯ ก่อตั้งขึ้นโดยพี่น้อง 4 ท่าน คือ คุณลุง คุณพ่อ และคุณอา ในเวลานั้นตลาดเครื่องดื่มในเมืองไทยยังมีให้เลือกเพียงไม่กี่แบรนด์ และส่วนใหญ่ก็เป็นน้ำอัดลม น้ำหวาน เฮลซ์บลู บอยจึงเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกแก่ผู้บริโภค โดยแรกเริ่มมี 2 รสชาติหลัก คือ รสสละ (น้ำแดง) และรสครีมโซดา (น้ำเขียว) ก่อนจะมีการย้ายโรงงานมาตั้ง ณ นิคมอุตสาหกรมบางชัน ขตนบุรี กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2521

 

“บริษัทเราผลิตน้ำหวานเฮลซ์บลูบอยเป็นสินค้าหลัก ซึ่งคนทั่วไปมักคิดว่าเรามีแค่สองรสชาติ คือ น้ำแดงรสสละ และน้ำเขียวรสครีมโชดา แต่จริง ๆ แล้ว น้ำหวานของราตอนนี้มีอยู่ด้วยกันถึง 9 รสชาติ และอยู่คู่ผู้บริโภคมานานมาก เราเชื่อมั่นว่า หัวใจสำคัญของแบรนด์คือคุณภาพและความอร่อยที่ไม่เปลี่ยนแปลง เราจะไม่ยอมทำอะไรที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของเฮลซ์บลูบอยเด็ดขาด มีแต่จะลงทุนเพิ่มเพื่อให้คุณภาพสินค้าของเราดีขึ้น”

 

คุณดำรงค์ย้ำว่า เฮลซ์ เทรดดิ้งฯให้ความสำคัญกับเรื่องความสะอาดปลอดภัยในการผลิตอย่างมาก วัตถุดิบที่นำมาใช้ต้องคัดเลือกอย่างดีที่สุด ทุกโรงงานต่างได้รับมาตรฐาน GMP ตลอดจนมีการส่งน้ำหวานและน้ำที่ใช้ในการผลิตไปตรวจสารปนเปื้อนที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างถูกต้องตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ เป็นหนึ่งในความใส่ใจที่ทำให้เฮลซ์บลูบอยคือตำนานความหวานที่คนไทยยังเทใจให้เสมอ แม้ว่าในช่วงสถานการณ์โควิด-19และวิกฤติศรษฐกิจตลอด พ.ศ. 2563 ยอดขายจะลดลงก็ตาม แต่คุณดำรงค์ยังคงเดินหน้ารักษามาตรฐานการผลิตสินค้าไว้เหมือนเดิม

 

“เราจะเน้นประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดเพิ่มทักษะให้พนักงานแต่ละคนสามารถทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ ได้หลากหลายมากขึ้น เพื่อประดับประคองกันให้ผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปได้ โดยที่มาตรฐานทุกอย่างของเฮลซ์บลูบอยยังคงเดิม”

 

สื่อสารความสุขผ่านบรรจุภัณฑ์

นอกจากความมุ่งมั่นในการรักษาคุณภาพสินค้าแล้ว ความใส่ใจด้านบรรจุภัณฑ์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุณดำรงค์ไม่คยมองข้าม แม้ว่ารูปทรงขวดและฉลากของเฮลซ์บลูบอยแทบไม่เคยเปลี่ยนไปจากภาพจำของผู้บริโภค แต่หากเห็นกล่องลูกฟูกที่ใช้บรรจุขวดน้ำหวานเหล่านั้น จะสังเกตได้ว่าถูกออกแบบให้สวยงามอยู่เสมอ เพื่อสื่อสารสโลแกน “หวานชื่น รื่นรมย์” รวมถึงได้บันทึกช่วงวลาแห่ความสุขที่ทุกคนเคยมีร่วมกันกับน้ำหวานขวดนี้ ผ่านภาพกราฟิกสวย ๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวการสังสรรค์ภายในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน

 

“กล่องลูกฟูกที่เราใช้ ทาง SCGP เป็นผู้ออกแบบให้ ซึ่งจะเห็นว่าเรามีการเปลี่ยนลวดลายบนกล่องไปตามยุคสมัย เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่อยากจะสื่อสารข้อมูลสินด้กับผู้บริโภค ปัจจุบันเรายังจัดทำกล่อง Gift Set สำหรับซื้อเป็นของฝาก แบบบรรจุ 2 ขวด และ 6 ขวดที่พิมพ์ลวดลายสดใสสวยงามออกมาด้วย โดยเลือกใช้กระดาษที่นำกลับมาไซเคิลได้ ซึ่งทาง SCGP ก็ช่วยออกแบบได้ตรตามความต้องการของเราเลย

 

“ผมมองว่าบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญมาก ๆ ในทางการตลาด เพราะมีส่วนกระตุ้นหรือเร่งการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้ อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ด้วย ทำให้เรารู้สึกวสินค้าที่อยู่ภายในนั้นมีคุณค่ามากขึ้น นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ไม่ใช่แค่สิ่งห่อหุ้มสินค้า แต่ยังช่วยสะท้อนภาพลักษณ์ของสินค้าและบริษัทของเราได้ด้วย เพราะต่อให้สินค้าดี แต่บรรจุภัณฑ์ไม่ดี แรงจูงใจในการซื้อก็คงน้อยลง”

 

พาร์ตเนอร์ตัวจริงที่จริงใจ

ตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัท เฮลซ์ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ไว้วางใจให้ SCGP เป็นพาร์ตเนอร์คนสำคัญที่คอยดูแลกล่องบรรจุภัณฑ์ให้กับน้ำหวานเฮลซ์บลูบอยทุกขวด บรรจุภัณฑ์ที่ใช้จึงไม่ใช่เพียงแค่คุณภาพของกล่องและงานพิมพ์ทนั้น แต่ยังต้องครอบคลุมถึงความปลอดภัยในการปกป้องสินค้าข้างในอีกด้วย

 

“SCGP เป็นบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ เรื่องคุณภาพของกล่องสินค้าก็ช่วยดูแลให้เราได้ดีไม่มีปัญหา อย่างเช่นน้ำหวานของเราหนึ่งโหลมีน้ำหนักมากถึง 24 กิโลกรัม ซึ่ง SCGP ก็สามารถพัฒนาโครงสร้างกล่องลูกฟูกที่แข็งแรงและรองรับน้ำหนักสินค้ที่เรียงซ้อนกันสูง ๆ เป็นเวลานานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

“นอกจากนั้น เรายังประทับใจวัฒนธรรมองค์กรของ SCGP ที่ให้ทั้งความเชื่อใจ สนิมสนมกับลูกค้าเหมือนเพื่อนคู่คิดตัวจริงที่คอยช่วยเราแก้ปัญหาให้คำปรึกษากันได้ตลอด ซึ่งความจริงใจในการให้บริการตรงนี้ทำให้ SCGP รักษาลูกค้าอย่างเราไว้ได้”

 

คุณดำรงค์กล่าวทิ้งท้ายว่า “จกประสบการณ์ที่ได้ทำงานใกล้ชิดกันมาหลายปีเรารู้สึกว่า SCGP เป็นบริษัทที่พัฒนานวัตกรรมดี ๆ ออกมาตลอดและทำออกมาได้ดีด้วย เพราะ SCGP มีทั้งหวยงานวิจัยและพัฒนาสินค้า รวมถึงบุคลากรที่มีความสามารถมากมาย ซึ่งในอนาคตเราค่อนข้างมั่นใจว่าจะต้องได้เห็นผลงานใหม่ ๆ ที่จะช่วยตอบโจทย์ธุรกิจของเราไปได้เรื่อย ๆ อย่างแน่นอน”

 

SCGP IPO Roadshow Exhibition ท้าทายทุกความสำเร็จด้วย “Growth Mindset”

SCGP IPO Roadshow Exhibition ที่สร้างสรรค์บนพื้นที่กว่ 1,000 ตารงเมตร สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นที่ SCGP ตั้งใจถ่ายทอดแนวคิดออกมาเป็นรูปธรรมให้ผู้บริโภคเข้าใจ งานนี้จึงเปรียบสมือนบททดสอบการเติบโตทางความคิดของทีมที่ต้องก้าวข้ามทุกความท้าทายของงานครั้งนี้ภายในระยะเวลาอันจำกัด P-DNA ฉบับนี้จึงชวนทีมผู้ร่วมสร้างสรรค์ Exhibition ดังกล่าวมาร่วมพูดคุยถึงกระบวนการทำงานและเส้นทางที่พวกเขาวางแผนไว้ เพื่อให้ทุกคนในงานได้ร่วมเดินทางสู่การเติบโตไปอีกก้าวของธุรกิจ SCGP ในฐานะผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ที่พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในทุกเจเนอเรชั่น

 

Packaging in Everyday Life

เป้าหมายหลักของการจัดงาน SCGP IPO Roadshow คือ การเชิญชวนให้นักลงทุนได้เข้ามาทำความรู้จักบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP อย่างเจาะลึกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องลักษณะของธุรกิจและการเติบโตต่อไปข้างหน้า โดยมุ่งเน้นไปที่การตอบโจทย์ผู้บริโภค ทีมจึงเลือกออกแบบงาน Exhibition ในครั้งนี้ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Packaging in Everyday Life” เพื่อให้ผู้มาร่วมชมงานได้เห็นว่า บรรจุภัณฑ์เป็นเรื่องใกล้ตัวและอยู่ร่วมกับเราในชีวิตประจำวัน

 

“ถ้าเรามองรอบตัว 360 องศา เราจะสังเกตว่า สิ่งที่เราหยิบจับ สิ่งที่เราใช้ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร แก้วกาแฟ ถุงข้าว ถุงช็อปปิ้ง กล่องพัสดุส่วนใหญ่คือแพคเกจจิ้งเกือบทั้งนั้น หลายคนอาจไม่เคยรู้ ไม่เคยสังเกต แต่เมื่อได้มาชม Exhibition แล้วทุกคนหยุดดู สำรวจตัวเอง จะพบว่า SCGP มีสินค้าและบริการด้านแพคเกจจิ้งที่พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้ในทุกมิติของการดำเนินชีวิต

 

“การคิด Exhibition เราใช้หลักการ Customer Centric แบบเดียวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ลูกค้า คือมองจากมุมของลูกค้าว่า เมื่อเขาเดินเข้ามา ชมบูธต่าง ๆ เขาจะได้อะไร แล้วเราจะสื่อสารออกมาแบบไหนให้เข้าใจง่าย เราเลยนำคอนเซ็ปต์ Packaging in Everyday Life มาบวกกับคีย์เวิร์ดสำคัญของ SCGP นั่นคือ การเป็นผู้นำบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในอาเซียนที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของทุกเจเนอเรชั่น แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นเส้นเรื่องที่จำลองชีวิตของคนคนหนึ่งว่า ในทุกย่างก้าวของเขาได้พบเจออะไรบ้าง เริ่มจากชีวิตส่วนตัว การเดินทาง การทำงาน การรับประทานอาหาร การจับจ่ายใช้สอย ตลอดจนการขนส่งสินค้า และคุณค่าที่เขาต้องการคืออะไรเช่น ปัจจุบันไลฟ์สไตล์เป็นครอบครัวเล็ก เราจึงจำลองภาพเป็นคอนโดมีพ่อแม่ลูกที่ต้องการความสะดวกสบาย เราก็มีบรรจุภัณฑ์ EzySteam ที่ช่วยลดขั้นตอนในการอุ่น เพียงเวฟแค่ 2 นาที่ก็กินได้ แถมยังคงความนุ่มอร่อยอยู่ หรือเทรนด์ของอีคอมเมิร์ช ช็อปปิ้งออนไลน์กำลังมาแรง กล่องพัสดุต่าง ๆ ที่กองอยู่ในบ้าน เราก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น

“เมื่อออกไปข้างนอก ความปลอดภัยทุกย่างก้าวเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องอาหารการกิน การปกป้องสินค้าให้ปลอดภัย มีการจำลองซูเปอร์มาร์เก็ตให้เห็นบรรจุภัณฑ์หลากหลายที่เราเป็นโซลูชันที่มากกว่าบรรจุภัณฑ์ทั่วไปแฝงไปด้วยการออกแบบทั้งด้านโครงสร้างและดีไซน์สวยงาม ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน

 

“สุดท้ายแล้วเราก็ต้องไม่ลืมสิ่งที่เราเป็น นั่นคือ เรื่องของนวัตกรรมและความยั่งยืน ในส่วนของนวัตกรรม เราจะแสดงให้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพที่เรามี ต่อยอดไปพัฒนาเป็นสินค้าและบริการที่หลากหลาย ซึ่งไม่ได้จำกัดเพียงบรรจุภัณฑ์ แต่เราต่อยอดสิ่งที่เรามี สิ่งที่เราเชี่ยวชาญให้กลายเป็นอะไรที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น เช่น เราสามารถต่อยอดไปสู่การทำเจลแอลกอฮอล์สูตร Aquacella จากยูคาลิปตัส อุปกรณ์ยึดบาดแผลโดยไม่ต้องเย็บ แผ่นกรอง หน้ากากอนามัย เป็นต้น และแก่นสำคัญของความยั่งยืน คือ แนวคิด (Mindset) ที่ไม่เหมือนใคร SCGP มุ่งมั่นที่จะเป็นต้นแบบของการดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เราคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาในทุกกระบวนการ จึงเป็นที่มาของคำว่า คิดให้จบ วนให้ครบ ใช้ให้คุ้ม

 

เส้นทางสู่การเติบโต…อย่างยั่งยืน

อีกเรื่องหนึ่งที่ SCGP อยากสื่อสารไปถึงกลุ่มนักลงทุนและผู้บริโภคมากที่สุดคือ “การเติบโตอย่างยั่งยืน” (Journey of Growth) เป็นการสรุปแนวคิดทั้งหมดให้ผู้มาร่วมงานได้เข้าใจก่อนที่จะเข้าไปสู่เนื้อหาในงานเปิดตัวบนเวทีโดยบุคคลสำคัญ

 

“อุโมงค์ Journey of Growth เป็นนิทรรศการส่วนสุดท้ายที่เราตั้งใจให้เป็นพื้นที่สรุปเรื่องราวทั้งหมดของ Exhibition ว่า เราจะเติบโตและก้าวไปด้วยกันได้อย่างไร เป็นการช่วยขมวดปมความคิดให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นด้วยว่า SCGP จะเติบโตต่อไปอย่างแน่นอน เพราะเรามี Growth ที่ชัดเจนนั่นคือ การเข้าไปป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของ SCGP ได้อย่างครบถ้วน”

 

ความท้าทายทุกตารางนิ้ว

พื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร คือโจทย์แรกที่ท้าทาย เพราะพวกเขาต้องระดมความคิดกันอย่างหนักว่า Exhibition ที่จะเกิดขึ้นต้องมีความเหมาะสมกับพื้นที่ ตรงตามคอนเซ็ปต์ไอเดียที่จะสื่อสารออกไป และยังต้องมีความเป็นไปได้ในการทำให้เป็นจริงด้วย ซึ่งนับจากวันแรกที่ทีมได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานครั้งนี้ ทีมบอกอย่างภาคภูมิใจว่า ในทุกวัน ทุกพื้นที่ของการทำงาน สิ่งที่ดูคล้ายกับปัญหาหรืออุปสรรคที่พบระหว่างทางนั้น สำหรับพวกเขาคือ “ความท้าทาย”

 

“Over scale Landmark ด้านหน้า เป็นสิ่งที่เราตั้งใจแสดงถึงศักยภาพของการสร้างสรรค์งานจากกระดาษและความสามารถในการออกแบบของดีไซเนอร์เรา เพราะทั้งชิ้นงานนั้นเราออกแบบจากกระดาษทั้งหมด ขั้นตอนในการทำนั้นจะต้องออกแบบแต่ละชิ้นให้เหมาะสมกับความสามารถของเครื่องจักร ต้องทลายข้อจำกัดที่เกิดขึ้นอย่างไร ต้องมีชิ้นส่วนเท่าไร และประกอบขึ้นรูปอย่างไร ที่เห็นนั้นคือเราต้องใช้คนช่วยกันยก ช่วยกันประกอบไม่น้อยกว่าสิบคน ซึ่งแน่นอนต้องมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบงานนี้”

 

“Social Distancing คือความท้าทายสำคัญอีกอย่าง การดีไซน์รูปแบบงานการจัดบูธให้รองรับคนได้พอดี ไม่แน่นเกินไป รวมถึงการคิดวิธีการนำเสนอข้อมูลที่ต้องดึงคนดูให้ได้ภายในเวลาจำกัด เพื่อลดความแออัดในการชมบูธทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราต้องมองในภาพใหญ่ รวมถึงการบริหารเวลาและบริหารทีมให้จัดการทุกอย่างเสร็จสิ้นภายในเวลาอันจำกัด ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเข้ามา

 

“จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนตอนนั้น สิ่งที่เราคิดหรือวางแผนไว้ สุดท้ายอาจจะไม่ได้เป็นตามที่หวัง เช่น ต้องจัดแบบออนไลน์อย่างเดียว ซึ่งเราได้รับการยืนยันว่าสามารถจัดงาน IPO ตามแผนนี้แน่นอนเพียง 3 วันเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่เราพร้อมรับและปรับเสมอ ก่อนหน้านั้นเราไม่เคยหยุดคิดหรือหยุดทำงานเลย พวกเราต้องประชุมงานผ่านออนไลน์ตลอดเวลา ทำให้การส่ง Message ให้เข้าใจตรงกันเป็นเรื่องยาก วิธีแก้ไขคือ ทุกครั้งที่สื่อสารกัน เราต้องให้รายละเอียดงานที่มากขึ้น สรุปสิ่งที่คุยเป็นลายลักษณ์อักษร และหาวิธีสื่อสารที่เหมาะสมกับแต่ละคน นอกจากนี้ รูปแบบงานที่เป็นไฮบริดอีเว้นต์นั้นมีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เราต้องให้ MC ทำหน้าที่เป็นตัวแทนลูกค้าที่เข้าไปสอบถามบริการต่าง ๆ เสมือนลูกค้าได้มาชมงานด้วยตนเอง

การออกแบบบูธก็ต้องเป็นไปได้ในรูปแบบของงานจากกระดาษเป็นหลักไม่เล็กเกินไป ความสูงพอหมาะ และต้องควบคุมงบประมาณได้ ทั้งหมดนี้มันคือพื้นที่ของความท้าทายจริง ๆ ซึ่งเรามีหน้าที่บาลานซ์สิ่งเหล่านั้นให้ออกมาสำเร็จ

 

Growth Mindset คือกุญแจสู่ความสำเร็จ

ภายใต้ข้อจำกัดมากมายของการจัดงาน เมื่อเราถามทีมว่า อะไรคือ Key to Success ที่ทำให้พวกเขาก้าวข้ามความท้าทายเหล่านั้นมาได้ พวกเขาต่างยิ้มและตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า สิ่งนั้นคือ “Growth Mindset”‘

 

“การมองปัญหาที่เกิดขึ้นในงานว่าเป็นความท้าทาย มันคือ Growth Mindset อย่างหนึ่งที่ทีมของเราได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เรามีกำลังในการคิดหาโซลูชันที่จะช่วยให้ผ่านโจทย์แต่ละโจทย์ไปได้ ไม่ยอมแพ้ไปกับปัญหาเพราะงานนี้มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น วิธีคิดในการทำงานของทุกคนจึงต้องยืดหยุ่นไปกับปัญหาและเตรียมแผนรองรับในทุกสถานการณ์ตั้งใจทำทุกอย่างให้ออกมาดีที่สุด และต้องพร้อมที่จะปล่อยวางเรื่องบางเรื่องให้ได้ด้วย

 

“นอกจากนี้ Collaboration and Teamwork ก็เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญเพราะงานของเราคงสำเร็จไม่ได้ ถ้าทุกคนในทีมไม่ร่วมมือและมองไปยังเป้าหมายเดียวกัน ตลอดการทำงานมันต้องอาศัยทั้งการเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน เคารพในความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทีม รู้จักดึงจุดแข็งของแต่ละคนมาปรับใช้ หรือถ้ามีคนท้อ เราก็ต้องให้กำลังใจ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนทั้งคนทั้งงาน สำเร็จควบคู่ไปด้วยกัน

 

“แม้การทำงานครั้งนี้จะมีปัจจัยหลายอย่างที่กดดันเรา ทำให้เราแทบไม่ได้หยุดคิดแก้ปัญหา แต่พอมันผ่านไปได้ความคิดของเราก็จะไม่จำกัดอยู่ที่เดิม เพราะเรามี Growth Mindset ที่อยากจะเปลี่ยนทุกความยากความท้าทายให้เป็นความสำเร็จ สุดท้ายพวกเรารู้สึกภูมิใจทั้งกับตัวงานและกับทีมงาน เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้รับโอกาสให้รับผิดชอบงานนี้ เราได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากพี่ ๆ Leader ที่คอยช่วยเหลือ ตัดสินใจ และสนับสนุนไอเดีย SCGP IPO Roadshow ถือเป็นงานที่สำคัญต่อองค์กรมากและทำให้พวกเรารู้สึกเหมือนได้เติบโตไปพร้อมกับ SCGP อีกด้วย”

DATA | SYSTEM | COLLABORATION สร้างความแข็งแกร่ง พาก้าวไปด้วยกัน

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ไวรัสโคโรนา 2019 ได้เข้ามาท้าทายในทุกภาคส่วน แต่ภาคธุรกิจหนึ่งในฟันเฟืองขับเคลื่อนสังคมมิอาจหยุดนิ่งได้ และจำต้องปรับการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ ถือเป็นความท้าทายที่องค์กรต้องบริหารจัดการ หนึ่งในนั้นคือ การทำให้คนและธุรกิจดำเนินต่อได้ภายใต้เงื่อนไข Work from Home แน่นอนว่าในสถานการณ์เช่นนี้ คณะทำงานสถานการณ์ฉุกเฉิน COVID-19 ถือเป็นแกนหลักที่เข้ามาบริหารจัดการ เพราะวิกฤติครั้งนี้ไม่ใช่เพียงภัยธรรมชาติ แต่เป็นภัยระดับมนุษยชาติที่หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ท้าทายที่สุดตั้งแต่เคยพบเจอ”

 

คณะทำงานสถานการณ์ฉุกเฉิน COVID-19 คือใคร

คณะฯ ดังกล่าวเกิดจากการรวบรวมตัวแทนทีมจากทุกสายงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านบริหารจัดการพื้นที่ทั้งในและต่างประเทศด้านการผลิต ด้านวิจัยและพัฒนา ด้านวิศวกรรม ด้านวางแผนการตลาดและการขาย ด้านการจัดการวัตถุดิบ ด้านการขนส่ง ด้านบุคคล ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนด้านการสื่อสาร มาร่วมทำหน้าที่กำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ จากนั้นจึงสื่อสารไปยังพนักงาน คู่ธุรกิจ และลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง

พี่ต๊วด – ธวัชชัย วงศ์ไพศาล ประธานคณะฯ เล่าย้อนว่า เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ได้เซตระบบ Business Continuity Management หรือ BCM ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 เพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤติต่าง ๆ เช่น ภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย และการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งที่ผ่านมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะจุด แต่รอบนี้เป็นโรคระบาดที่มีการแพร่กระจายจากทุกทิศทาง การบริหารจัดการจึงท้าทายกว่ามาก

“ช่วงนั้นโควิด-19 เริ่มระบาดไปในหลายประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่เรา มีธุรกิจอยู่ ตอนนั้นเหมือนโดนทุกทิศทาง พี่วิชาญ CEO ของเราได้ให้ Direction ที่ชัดเจนว่า ‘คนต้องมาก่อน’”

“คน” สำคัญที่สุด

ระบบ BCM ที่ถูกวางแผนไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ซึ่งมีทั้ง Business Management Team (BMT) และ Local Management Team (LMT) จะมีการซักซ้อมเป็นระยะทุกปี เพื่อพร้อมรับทุกสถานการณ์

“เรามี System ที่ชัดเจน เมื่อเกิดเหตุวิกฤติขึ้น ก็แค่ Activate System ที่เซตไว้และรันทุกอย่างไปตามขั้นตอน” พี่โอ – โอภาส รักษ์กุลชน ขยายความก่อนเล่าให้ฟังถึงเคสในต่างประเทศ

“กรณีในจาการ์ตาที่อินโดนีเซีย พอเกิดสถานการณ์เราก็ประเมินว่า พื้นที่ที่คนของเราอยู่น่าจะระบาดหนัก ไม่ปลอดภัย จึงเรียกคนของเรากลับทั้งหมดเพราะความปลอดภัยของคนส

SCGP รายได้ปี 2563 เติบโตแข็งแกร่งท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน เดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจต่อเนื่อง คงความเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน

SCGP เติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2563 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนและผลกระทบจากโรคระบาด ทำรายได้จากการขายรวม 92,786 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีก่อน และกำไรสุทธิ 6,457 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากปีก่อน จากโมเดลธุรกิจการนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายตอบสนองความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น ควบคู่กับการบริหารซับพลายเชนและการขยายธุรกิจเพิ่มพอร์ตบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำสอดคล้องกับสถานการณ์ พร้อมเผยปี 2564 วางแผนขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง พร้อมรุกพัฒนาสินค้านวัตกรรมและดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง ESG

 

            นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานของทั้งปี 2563 แม้ต้องเผชิญกับความผันผวนของเศรษฐกิจและการระบาดของโรค COVID-19 บริษัทฯ ยังคงรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้จากการขาย 92,786 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปีก่อน กำไรสุทธิ 6,457 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากปีก่อน และมี EBITDA (กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ไม่รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม และรวมกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินกู้ยืมตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2562) เท่ากับ 16,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากปีก่อน ซึ่งมีปัจจัยมาจากการนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย การบริหารต้นทุน วัตถุดิบ และซัพพลายเชนที่มีการปรับพอร์ตการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับสถานการณ์ การขยายฐานธุรกิจบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำ (Downstream) และการควบรวมกิจการ (Merger & Partnership หรือ M&P) เพื่อขยายฐานธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการแลกเปลี่ยนจุดแข็งและสร้างประโยชน์จากการผนึกพลัง (Synergy) กับ PT Fajar Surya Wisesa Tbk. และ Visy Packaging (Thailand) Limited

สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เติบโตอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน โดยมีรายได้จากการขาย 23,596 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิ 1,486 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมี EBITDA เท่ากับ 4,211 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มากขึ้นในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค และบรรจุภัณฑ์อาหาร (Foodservice Packaging) โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปลายปี รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์โรคระบาดในบางประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) สินค้าอุปโภคบริโภค การขยายตัวของอีคอมเมิร์ซ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อยอดขายบรรจุภัณฑ์ของ SCGP ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา

โดยช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา SCGP ได้เข้าลงทุนใน Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ในประเทศเวียดนาม เพื่อการขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำและเสริมความแข็งแกร่ง ด้วยการบูรณาการกับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ต้นน้ำของ SCGP ในประเทศเวียดนาม และการลงทุนล่าสุดใน Go-Pak UK Limited (Go-Pak) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำ จะส่งผลให้ SCGP สามารถขยายตลาดใหม่ในสหราชอาณาจักร ยุโรปและอเมริกาเหนือ เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์  ทั้งนี้การขยายธุรกิจใน SOVI และ Go-Pak จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพการนำเสนอบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรและเพิ่มรายได้ให้ SCGP กว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทเสนอการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานของปี 2563 ในอัตรา 0.45 บาทต่อหุ้น ซึ่งรอการอนุมัติจากการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี โดยกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 22 เมษายน 2564 ตามรายชื่อ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผล ในวันที่ 8 เมษายน 2564 โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD หรือวันที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันพุธที่ 7 เมษายน 2564

         ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCGP กล่าวว่า สำหรับปี 2564 บริษัทฯ ได้ตั้งงบลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยจะลงทุนขยายธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โครงการขยายกำลังผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และโครงการขยายบรรจุภัณฑ์โพลิเมอร์ในประเทศไทยจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้ นอกจากนี้ได้วางแผนบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค รองรับภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในระดับภูมิภาคที่มีแนวโน้มขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหากสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 เริ่มคลี่คลาย โดยคาดว่าความต้องการบรรจุภัณฑ์อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าเพื่อสุขภาพ จะยังคงขยายตัวในปีนี้ และในระยะยาวคาดว่าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์จะได้รับปัจจัยบวกจากการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตสินค้ามายังภูมิภาคอาเซียน  

            SCGP ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนองค์กรโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มุ่งเน้นดูแลสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การใช้พลังงานทดแทนในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และพัฒนานวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ เพื่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค เช่น การพัฒนา R-1 นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) ที่ผลิตจากฟิล์มประกบหลายชั้น ช่วยปกป้องสินค้าและทนทานแรงกระแทกได้ดี สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกและวัสดุอื่น ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่ง SCGP ได้ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว (ประเทศไทย) และข้าวตราฉัตร พัฒนา R-1 เป็นถุงข้าวรักษ์โลกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 100% สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจด้วยปรัชญาเศรษฐกิจหมุนเวียนในการนำทรัพยากรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด