SCGP Newsroom

World Water Day : Accelerating Change to Solve the Water and Sanitation Crisis

โลกของเรามี “น้ำ” เป็นส่วนประกอบหลักถึง 70% สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ล้วนต้องการน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต แต่ในปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำ อันเนื่องมาจากปัญหา Climate Change ซึ่งส่งผลต่อวัฏจักรของน้ำบนโลก ประกอบกับการบริหารจัดการน้ำที่ยังไม่ดีพอในหลาย ๆ มุมโลก ที่นำไปสู่วิกฤติความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ องค์การสหประชาชาติจึงให้ วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี คือ วันอนุรักษ์น้ำโลก หรือ World Water Day เพื่อให้ทั่วโลกได้ระลึกถึงความสำคัญของน้ำ สอดคล้องกับความตั้งใจของ SCGP ที่มุ่งมั่นบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมาโดยตลอด รวมถึงการฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ และสนับสนุนน้ำให้ชุมชนใช้ทำเกษตรกรรม เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีกลยุทธ์หลัก

  • ตั้งเป้าหมายในการลดการใช้น้ำจากภายนอกร้อยละ 35 ภายในปี 2568 เทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน 2557 ปัจจุบันสามารถลดการใช้น้ำจากภายนอกได้ร้อยละ 28 และนำน้ำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่เป็นสัดส่วนร้อยละ 16.3

  • บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ AQUEDUCT ของ WRI มาประเมิน Water Stress ในพื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน ร่วมกับการประเมินการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) สำหรับการเตรียมแผนสำรองการใช้น้ำ (BCP) และร่วมติดตามแนวโน้มสถานการณ์น้ำและวางแนวทางบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกับภาครัฐ ประชาชน และอุตสาหกรรม

  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยการวิเคราะห์การใช้น้ำทั้งวงจร และหาแนวทางที่จะปรับปรุงการใช้น้ำของบริษัทด้วยการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต การปรับปรุงเครื่องจักร และการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่

  • ติดตั้งระบบบำบัดน้ำด้วยวิธีทางชีวภาพที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณภาพของน้ำเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และติดตั้งระบบติดตามคุณภาพน้ำแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถตรวจสอบแบบออนไลน์ได้

  • การนำหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และตัวแทนภาคประชาชน ร่วมตรวจสอบการดำเนินงาน เช่น บริษัทไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) โรงงานปราจีนบุรี ได้นำผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมรับฟังและตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วออกนอกโรงงาน ตามใบอนุญาตของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี

SCGP ส่งเสริมศักยภาพพนักงาน สร้างนวัตกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการ “The Inspiring Innovation 2022, Everyone Everywhere” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

SCGP มุ่งส่งเสริมให้พนักงานนำเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง มาสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ บริการ โมเดลธุรกิจ และโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ ผ่านโครงการ “The Inspiring Innovation” เวทีเพื่อส่งเสริมพนักงานนำไอเดียมาต่อยอดความรู้ ลงมือทำและพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าอย่างแท้จริง และเพิ่มโอกาสในการต่อยอดเป็นโซลูชันใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจ

โครงการ “The Inspiring Innovation 2022, Everyone Everywhere” จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยครั้งนี้มีพนักงานกว่า 480 คน จากทุกสายธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ร่วมเสนอผลงานรวมถึง 80 ผลงาน โดยผลงานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภท Product ประเภท Process และประเภท Business Model and Service ซึ่งผลจากการคัดเลือกโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในครั้งนี้ SCGP สามารถนำนวัตกรรมถึง 23 ผลงานมาพัฒนาต่อสู่ Incubation Program เพื่อนำไปเสริมกระบวนการคิด ให้ความรู้ และฝึกฝนทักษะให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ อาทิ การยกระดับโซลูชันการออกแบบบรรจุภัณฑ์ Upcycling หรือ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้ เช่น สามารถออกแบบให้เป็นของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว หรือดัดแปลงกล่องให้เป็นชั้นเก็บของหรือจัดระเบียบบ้าน  สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าทั่วไปในท้องตลาดให้กับลูกค้า เพื่อใช้ในการทำ Marketing เป็นผู้นำ Trend สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มยอดขายและกำไรได้ การพัฒนากระดาษ High Extensible Sack Kraft 95 gsm โดยใช้สัดส่วนของเยื่อหมุนเวียนหรือ Recycled fiber ในการขึ้นรูปกระดาษได้มากถึง 30% ทดแทนกระดาษนำเข้าจากต่างประเทศที่ผลิตจากเยื่อ Virgin pulp 100 % โดยยังคงคุณสมบัติเทียบเท่าและสามารถใช้งานได้จริง สอดรับแนวนโยบาย ESG และตอบโจทย์ Sustainable supply กระดาษให้ลูกค้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน  การพัฒนาโปรแกรม Artwork Process Automation เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำอาร์ตเวิร์ค ให้เป็น Automation Process  ฯลฯ 

จากวิสัยทัศน์ของ SCGP ในการมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาค ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่หลากหลาย ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน นวัตกรรมจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่บริษัทมุ่งสร้างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเวที The Inspiring Innovation ถือเป็นเวทีหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีโอกาสแลกเปลี่ยน ต่อยอด พัฒนาศักยภาพ และส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม ควบคู่ไปกับการลงมือทำ หรือ Execution เพื่อพัฒนาโซลูชันให้ตอบโจทย์ลูกค้าอย่างแท้จริง ตลอดถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
 

SCGP คว้ารางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากเวทีระดับโลก ‘WORLD STAR AWARDS 2023’

SCGP สร้างชื่อเสียงบนเวทีออกแบบบรรจุภัณฑ์ คว้า 5 รางวัลคุณภาพจากเวทีการประกวด ‘WORLD STAR AWARDS 2023’ และ ‘ASIASTAR 2022 AWARDS’ จากผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ สวยงามและโดดเด่น สะดวกต่อการขนส่ง เพิ่มมูลค่า ตอบสนองการใช้งานและส่งเสริมการขายให้แก่สินค้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ประสบความสำเร็จด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากเวทีระดับโลกและเอเชีย จากความมุ่งมั่นพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าได้อย่างแท้จริง มีรูปแบบและการดีไซน์ที่สวยงาม ดึงดูดผู้บริโภคและช่วยส่งเสริมการขายสินค้า โดยล่าสุดนักออกแบบจากบริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด ใน SCGP ได้รับรางวัลชนะเลิศรวม 5 รางวัล จากงาน WORLD STAR AWARDS 2023 ที่จัดโดย World Packaging Organization (WPO) ซึ่งมีผลงานส่งเข้าประกวดในปีนี้รวม 440 ผลงาน ใน 16 ประเภท จาก 37 ประเทศทั่วโลก และงาน ASIASTAR 2022 AWARDS ที่จัดโดย ASIAN PACKAGING FEDERATION 

 

สำหรับงานประกวด “WORLD STAR AWARDS 2023” นักออกแบบของ SCGP ได้รับ 2 รางวัลคุณภาพ ได้แก่ “รางวัลชนะเลิศประเภท Luxury Package” จากผลงาน Moon Cake “มองผ่านจันทร์” โดย ธาวิตา รัตนัย และ สุชาณัฐ ชิดไทย ที่ออกแบบกล่องขนมไหว้พระจันทร์เซ็ต 4 ชิ้น มีจุดเด่นด้านการออกแบบให้มีกลไกหมุนภาพดวงจันทร์ที่หน้ากล่องเพื่อเป็นลูกเล่น สื่อถึงเวลาที่เปลี่ยนผ่านไปและกลับมาบรรจบพบกันใหม่ของครอบครัว เสริมด้วยตัวอักษรมงคลของจีนเพื่อส่งมอบสิ่งดี ๆ แก่ผู้รับ นอกจากนี้ได้เพิ่มประโยชน์แก่บรรจุภัณฑ์สามารถนำมาใช้บรรจุของใหม่ได้เพื่อความคุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ “รางวัลชนะเลิศประเภท Point of Sale” (ชั้นแสดงสินค้า) จากผลงาน “Point of Purchase” โดยทีมนักออกแบบ ประกอบด้วย รินลดา อนุวัฒน์มงคล, ปทิตตา ศิริฤกษ์รัตนา, ผนินทร เรืองแววมณี และ ภาษา จุ้ยชุ่ม จากบริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด ที่ออกแบบชั้นแสดงสินค้าแก่ 3M ที่ผลิตจากกระดาษ มีน้ำหนักเบา ประกอบง่ายไม่ต้องใช้กาว และบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เปลืองเนื้อที่ โดยได้แรงบันดาลใจการออกแบบจากรูปทรงเราขาคณิตของอาคารเรียนและรถโรงเรียน กลายเป็นชั้นแสดงสินค้าเพื่อสื่อสาร ณ จุดขาย ให้เด็กและครอบครัวสามารถเลือกผลิตภัณฑ์เครื่องเขียน อีกทั้งได้ออกแบบฟังก์ชันให้จัดวางสินค้าได้ 360 องศา ช่วยให้ลูกค้ามองเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นและยังจัดวางสินค้าได้มากกว่าชั้นแสดงทั่วไป

 

ขณะที่งานประกวด “ASIASTAR 2022 AWARDS” สามารถคว้า 3 รางวัลคุณภาพ ได้แก่ 1.รางวัลชนะเลิศประเภท Gift Package 2 รางวัล ประกอบด้วย ผลงาน “The Art of Hand Crafted” โดย ธาวิตา รัตนัย ได้ออกแบบกระเช้าของขวัญที่ใช้เป็นกล่องเก็บสิ่งของขนาดเล็กต่อได้ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากกล่องเก็บของและลวดลายผ้าไหมไทยประยุกต์ ตัวกล่องผลิตจากกล่องลูกฟูกลอน E ผลิตด้วยระบบพิมพ์ดิจิทัล หูหิ้วเป็นริบบิ้นผ้าสีทอง ออกแบบลวดลายกราฟฟิกหรูหรา แข็งแรงรับน้ำหนักได้มาก และผลงาน “Lucky Fortune Gift Set” จาก กฤชพร กุลรัตนรักษ์ และ สุริยา พิมพ์โคตร ที่ออกแบบกล่องของขวัญสบู่มงคลและฟอร์จูนคุกกี้ โดยออกแบบโครงสร้างกล่องให้มีขนาดกะทัดรัด สามารถใช้ประโยชน์จากสายคล้องของพู่ที่ยื่นออกจากกล่องเพื่ออำนวยความสะดวกในการหิ้ว และออกชิ้นส่วนกันกระแทกให้ใช้กับสบู่ที่มีรูปทรงแตกต่างกันได้ถึง 4 รูปแบบ นอกจากนี้สามารถนำไปแขวนเพื่อเป็นของตกแต่งได้อีกด้วย และรางวัลสุดท้ายเป็น รางวัลชนะเลิศประเภท Transport Package (บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง) จากผลงาน “Ready to Share – Ready to Show” โดย ธนพร วรวาส และ กฤชพร กุลรัตนรักษ์ ที่คำนึงถึง 3 ปัจจัย ได้แก่ ระบบขนส่ง ค้าปลีกและการจัดแสดงที่โดดเด่น โดยเป็นกล่องที่รองรับการขนส่ง พร้อมวางขายและเรียงซ้อนกันได้ นอกจากนี้ได้ออกแบบให้สามารถฉีกตามรอยปรุเพื่อโชว์สินค้าและสะดวกในการเลือกซื้อ โดยนำกลไกแบบ Pop-Up มาใช้ร่วมกับการออกแบบเพื่อเพิ่มความโดดเด่นแก่สินค้าในชั้นวางเป็นที่จดจำ และคำนึงถึงการใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

การได้รับรางวัลครั้งนี้เป็นความภาคภูมิใจของ SCGP และสร้างแรงบันดาลใจแก่นักออกแบบในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีแก่ลูกค้าและตอบโจทย์การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดย SCGP พร้อมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่องที่เป็นนวัตกรรมทางความคิดและการดีไซน์ เพื่อเสริมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทยให้มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น
 

วันสตรีสากล 8 มีนาคม 2566 นี้ ร่วมเฉลิมฉลองกับองค์การสหประชาชาติภายใต้หัวข้อ DigitALL: Innovation and technology for gender equality.

วันสตรีสากล 8 มีนาคม 2566 นี้ ร่วมเฉลิมฉลองกับองค์การสหประชาชาติภายใต้หัวข้อ

DigitALL: Innovation and technology for gender equality.

จากยุคเริ่มแรกของการใช้คอมพิวเตอร์จนถึงยุคปัจจุบัน ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมพัฒนา Virtual reality และ AI มากมายที่ช่วยยกระดับโลกที่เราอาศัยอยู่ และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่มักถูกลืมว่าพวกเขาก็เป็นส่วนสำคัญ ไม่ค่อยมีการยอมรับหรือชื่นชม ทุกวันนี้ความเหลื่อมล้ำทางเพศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบกับความสามารถในการเข้าถึงดิจิทัลในหลายพื้นที่ ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถปลดล็อกศักยภาพทางเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ รวมถึงภัยคุกคามและความรุนแรงทางออนไลน์ และการขาดความช่วยเหลือทางกฎหมาย ทำให้พวกเขาต้องออกจากพื้นที่ดิจิทัลของพวกเขาอย่างไม่มีทางเลือก อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่มุมเทคโนโลยีดิจิทัลก็กำลังเปิดประตูบานใหม่ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิง  เด็กหญิง และกลุ่มคนชายขอบอื่น ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่การเรียนรู้ผ่านดิจิทัลที่ตอบสนองต่อเพศสภาพ ครบคลุมถึงการดูแลสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยี ที่มักเป็นเรื่องที่ถูกหลีกเลี่ยงในบางพื้นที่ ยุคดิจิทัลจึงเป็นโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนในการขจัดความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมทุกรูปแบบ

 

ในวันที่ 8 มีนาคมนี้ เราสนับสนุนให้รัฐบาล นักเคลื่อนไหว และภาคเอกชนร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อทำให้โลกดิจิทัลปลอดภัยขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น และเท่าเทียมกันมากขึ้น เราต้องมีโอกาสที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่า ไม่ใช่แค่สำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิง แต่เพื่อมนุษยชาติและทุกชีวิตบนโลก

 

Source: https://www.unwomen.org

SCGP ติดอันดับธุรกิจที่มีความยั่งยืนใน The Sustainability Yearbook 2023 โดย S&P Global ระดับ Gold Class สะท้อนการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ตอกย้ำความเชื่อมั่นจากผู้ลงทุนทั่วโลก

SCGP มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคและโลกที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ ESG ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในทุกมิติ และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงบนรากฐานของความยั่งยืน ทำให้ SCGP มีผลงานที่โดดเด่นทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) ด้านสังคม (Social) และด้านบรรษัทภิบาล (Governance) ส่งผลให้ SCGP ได้รับการประเมินความยั่งยืนในระดับ Gold Class ผลการประเมินอยู่ในกลุ่มคะแนนสูงสุด 1% แรก (Top 1%) และเป็น Industry Mover คือ บริษัทจดทะเบียนที่มีพัฒนาการโดดเด่น มีคะแนนการประเมินความยั่งยืนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าอีกด้วย ในปีนี้ S&P Global ได้ประเมินความยั่งยืนบริษัททั่วโลกกว่า 7,800 บริษัท โดยมี 710 บริษัทที่ได้รับการประกาศใน The Sustainability Yearbook 2023 เป็นบริษัทจากประเทศไทย 37 บริษัท ซึ่งเป็นอันดับ 5 ของโลก มีแบ่งการจัดอันดับเป็น 4 ระดับ ได้แก่ Gold Silver Bronze และ Member โดยระดับ Gold Class มีบริษัทจากประเทศไทยมากเป็นอันดังที่ 1 จำนวน 12 บริษัท ลำดับที่สองคือสหรัฐอเมริกา 11 บริษัท ลำดับสามคือไต้หวันและอิตาลี 7 บริษัท

 

Deltalab ได้รับรางวัล The Best FSD Channel Partner, South Europe 2022 จากคู่ค้าระดับโลก

Deltalab, member of SCGP ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ห้องแล็บและทางการแพทย์ รวมถึงเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำยาเคมีและเครื่องทดสอบคุณภาพสูง ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพชั้นนำ ได้รับรางวัล The Best Food Science Division (FSD) Channel Partner จาก Bio-Rad Laboratories ผู้นำด้านน้ำยาเคมีและเครื่องทดสอบด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับโลก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

โดยรางวัลนี้เป็นรางวัลที่มอบให้แก่คู่ค้าทางธุรกิจและผู้จัดจำหน่ายสินค้า (Distributor) ด้านอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีความโดดเด่น ซึ่งในปี 2022 ทาง Deltalab สามารถสร้างยอดขายได้เติบโตสูงถึง 60% เมื่อเทียบกับปี 2021 สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางธุรกิจ ในต่างประเทศที่ SCGP ได้มีการขยายการลงทุน พร้อมสร้างความแข็งแกร่งในการเป็นโซลูชันอย่างครบวงจร โดยการร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำที่ได้รับการยอมรับและเชื่อมั่นจากคู่ค้าระดับโลก

ไพฑูรย์กล่องกระดาษ เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยคุณภาพและมาตรฐาน

ไพฑูรย์กล่องกระดาษ

เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยคุณภาพและมาตรฐาน

 

จากคำชักชวนของผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่จุดประกายให้ “ไพฑูรย์กล่องกระดาษ” เริ่มต้นออกเดินทางในธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์บนแนวคิดในการเรียนรู้ พัฒนา และม่งสร้างคุณภาพ เพื่อยกระดับธุรกิจมาโดยตลอด จนสามารถบรรจุชื่อแบรนด์ดังระดับโลกเอาไว้ในรายชื่อลูกค้าใด้ในปัจจุบัน ซึ่งคุณปัญจพล ม่วงศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไพฑูรย์กล่องกระดาษจำกัด ผู้บริหารที่เข้ามารับหน้าที่ดูแลธุรกิจต่อจากคุณพ่อ ได้สละเวลามาร่วมย้อนเรื่องราวไปยังจุดเริ่มต้นของธุรกิจ และแนวทางการสานต่อธุรกิจบนวิถีแห่งการปรับตัว เพื่อรับมือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

เริ่มต้นจากการเรียนรู้

“จุดเริ่มต้นของเรามาจากยุคของคุณพ่อ ประมาณปี 2521 ตามคำแนะนำของผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เข้ามาบุกเบิกที่ดินละแวกบางบอนเพื่อทำกิจการบรรจุภัณฑ์ และได้ชักชวนครอบครัวเราให้ลองทำธุรกิจบรรจุภัณฑ์ด้วยกัน เนื่องจากเห็นความสามารถในการทำธุรกิจด้านอื่นมาก่อน ประกอบกับความเชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรที่มีอยู่เป็นพื้นฐานเดิมในครั้งแรกเราเริ่มต้นด้วยคนงานเพียง 3 คน โดยคุณพ่อก็ไปเรียนรู้เกี่ยวกับกล่องกระดาษลูกฟูกรูปแบบต่างๆ จากผู้ใหญ่ท่านนั้นด้วยตัวเองเพราะสมัยนั้นเรายังไม่มีความรู้มาก่อน

 

“ต่อมามีลูกค้ารายหนึ่งต้องการจะสั่งสินค้าเพิ่มอีก 10 เท่า ตอนนั้นคุณพ่อสามารถปรับปรุงและติดตั้งเครื่องจักรเพิ่ม เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวได้ เมื่อออร์เดอร์เพิ่มเข้ามา ทำให้มีอำนาจต่อรองในการซื้อวัตถุดิบมากขึ้น สามารถลดต้นทุนได้ ธุรกิจก็เดิบโตขึ้นกระทั่งปี 2539 ตัดสินใจขยายธุรกิจในลักษณะย้อนกลับ (Backward Integration) เริ่มผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูกเอง ช่วยลดต้นทุน ลดเวลา รองรับงานเร่งด่วนได้ สามารถตอบสนองลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงต่อยอดธุรกิจนำเข้า จำหน่าย และติดตั้งเครื่องจักรผลิตบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากมีทีมงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เพราะเครื่องจักรของเรา 99% นำเข้าจากญี่ปุ่นมาติดตั้งเอง และดูแลรักษาเองทั้งหมด”

 

ต่อยอดด้วยคุณภาพและมาตรฐาน

 

เวลาผ่านไปกว่า 40 ปี ปัจจุบันคุณปัญจพลเข้ามาบริหารงานแทนคุณพ่อ สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก คุณภาพ และมาตรฐานจึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้

“อย่างที่ทราบดีว่า ในปัจจุบันปัจจัยแลสภาวะแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนไปจากสมัยก่อนค่อนข้างเยอะ มีข้อกำหนดและมาตรฐานในระดับสากลที่เราต้องศึกษา เพื่อยกระดับธุรกิจของเราให้ตอบสนองลูกค้า รวมไปถึงดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ไม่ว่าจะเป็นการรับรองวัตถุดิบหรือกระบวนการผลิตต่าง ๆ ที่ปลอดภัยกับสังคมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข้อกำหนดต่าง ๆ มีความเข้มงวดขึ้นมาก เช่น วัตถุดิบที่นำมาใช้ต้องมีการรับรอง FSC (Forest Stewardship Council) ว่ามาจากแหล่งป่าปลูกทดแทน แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานสากล รวมถึงการวางแผนภายในองค์กร การพัฒนาให้ทรัพยากรบุคคลมีความสามารถพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อลูกค้าว่า เราจะสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ สินค้าของเรามีการควบคุมคุณภาพ โดยผ่านการทดสอบในห้องแล็บที่มีการควบคุมทั้งอุณหภูมิและความชื้นให้เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า

 

“ทั้งหมดคือการเรียนรู้ การปรับตัว หากไม่ลอง ไม่เริ่ม เราก็ไม่รู้ ตลอด 5 ปีที่ทำมา เราพิสูจน์จนได้คำตอบ นั่นคือ ผลตอบรับที่ดีที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นเหตุผลสำคัญที่เราอยากรักษามาตรฐานไว้เพื่อขยายฐานลูกค้าในกลุ่มที่มีความต้องการสูงให้เติบโตมากขึ้น และสอดรับกับเทรนด์ในอนาคต แม้บางอย่างจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็ตาม

 

ยกระดับธุรกิจพร้อมพาร์ตเนอร์ที่ใช่

 

“ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ SCGP เพราะตั้งแต่ที่เราเริ่มผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก SCGP ก็ได้ช่วยเหลือในเรื่องวัตถุดิบม้วนกระดาษที่มีคุณภาพและต้นทุนราคาที่ดี จนทำให้เราเติบโตมาได้ถึงทุกวันนี้ และร่วมพัฒนาโปรเจกต์ลูกค้ารายสำคัญของเราที่มีความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง FSC CoC (Chain of Custody Certification) ว่ามาจากแหล่งปลูกป่าหมุนเวียนหรือทดแทน มีการจัดการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องมีการรับรองคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานต่าง ๆ โดยลูกค้าจะมีการตรวจสอบอยู่ตลอด ซึ่งที่ผ่านมากระดาษจาก SCGP สามารถตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากเรื่องคุณภาพแล้ว ยังมีสินค้าที่เพียงพอต่อความต้องการของเรา แม้ในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา ก็ทำให้มั่นใจว่าเราจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

 

“ลูกค้าของเราในปัจจุบันให้ความสำคัญเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทำให้เราต้องทำการบ้านเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในเรื่องนี้ โดยมีการพัฒนาร่วมกันจนสามารถลดการใช้กระดาษลงถึง 15% ลดการใช้ทรัพยากรแต่ยังคงประสิทธิภาพเอาไว้ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้า ซึ่งทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 5 แล้ว

 

“ความประทับใจอีกอย่างคือ ที่มบริการเทคนิคและทีมขายของ SCGP เหตุการณ์ต่าง ๆที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพ ความต้องการ หรือสิ่งที่เราอยากปรับปรุง จะมีทีมบริการเทคนิคเข้ามาคอยช่วยให้ข้อมูลช่วยวิเคราะห์และติดตามผล ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้า หรือพัฒนาสินค้าได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ในอนาคตเราอยากขยายมาตรฐานการรับรองไปในกลุ่มสินค้าประเภทอื่น เช่น ฉากกันกระแทก (Corner Protection) หรือกระดาษกล่องขาวเคลือบ (Duplex) และไม่ว่าโจทย์หรือความต้องการของลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ขอให้เราร่วมกันพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน” คุณปัญจพลกล่าวทิ้งท้าย

 

ที่มา a LOT Vol.29
https://www.scgpackaging.com/th/alotNewsletter

WELCOME CHALLENGES AND CHANGES รับมือทุกความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง

รับมือทุกความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง

ดร.เกศินี ธิติวุฒิสกุล

Senior Researcher, Innovation and Product Development Center

 

สินค้า บริการ และโซลูชันของ SCGP ถูกสร้างขึ้นจากองค์ความรู้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณภาพ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า และนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนของบริษัท นักวิจัยคือ กลุ่มบุคลากรผู้อยู่เบื้องหลังหลากหลายนวัตกรรมที่สำคัญ วันนี้เรามีตัวแทนมาบอกเล่า วิธีคิดและแรงบันดาลใจที่ผลักดันให้เขาสนุกกับการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนให้ SCGP ก้าวไปข้างหน้า

 

“แนนเป็นนักวิจัยที่รับผิดชอบการสร้างสรรค์นวัตกรรมและกำหนดแผนงานด้านการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยี ซึ่งหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับนาโนเซลลูโลสที่ SCGP เรานำมาใช้ในธุรกิจมาระยะหนึ่งแล้ว

 

“งานด้านการพัฒนานวัตกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เป็นโซลูซัน ในฐานะนักวิจัย เราจึงต้องมองให้รอบด้าน ตั้งต้นจากความต้องการของลูกค้า ความเป็นไปได้ทั้งทางเทคนิคและทางธุรกิจ เพื่อสร้างความแตกต่าง และสร้างการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรกับลูกค้าตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

 

“ความท้าทายแรกของการพัฒนานวัตกรรมในระดับโลกคือการ Scale up องค์ความรู้ใหม่ไปใช้ในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งไม่มีใครสามารถให้คำตอบเราได้อย่างชัดเจน เพราะไม่มีใครมีประสบการณ์มาก่อน เราอ้างอิงข้อมูลจากภายนอกได้น้อยมาก ทีมเราจึงต้องรับมือกับเรื่องนี้ด้วย การเพิ่มขีดความสามารถของทีม หาข้อมูลเพื่อเรียนรู้ให้มากขึ้นและลงมือทำให้เร็วที่สุด ความท้าทายต่อมาคือการสร้างคุณค่าเพิ่มเติมเพื่อหาโซลูซันใหม่ที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าและสังคมผ่านการเข้าไปเรียนรู้ลูกค้าเพื่อหา Customer Insight ทำความเข้าใจลูกค้าและปัญหาอย่างถ่องแท้ และเรียนรู้ระบบนิเวศตลอดห่วงโซ่คุณค่า มองให้ลึกถึงสิ่งที่จะตอบโจทย์เหนือความคาดหวัง ทั้งในด้าน Functional และด้าน Emotional”

 

ในการทำงานเราจะต้องเจอกับความท้าทายต่างๆ ในโลกธุรกิจและสังคมปัจจุบันที่เรียกว่า BANI (Brittle / Anxious / Non-linear / Incomprehensible) ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เปราะบาง เราไม่สามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นตลอดเวลาประกอบกับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เราต้องไม่หยุดเรียนรู้และพัฒนา ต้องเปิดรับมุมมองใหม่ในระดับโลกมากขึ้น เพื่อพร้อมรับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มี Mindset ที่เรียกว่า “Welcome Challenges and Changes”

 

“แนนเชื่อว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อโลกที่ดีขึ้นคือ คำตอบของการพัฒนานวัตกรรมสำหรับอนาคต ดังนั้นแรงบันดาลใจในการทำงานของแนนจะพยายามมองให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาโซลูชันสำหรับโลก ทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้พลังงานน้อยที่สุด ด้านการพัฒนาโซลูชันที่มีคุณค่าต่อลูกค้าและสังคม เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมดีขึ้น และด้านการพัฒนาโซลูชันที่ช่วยสนับสนุนให้องค์กรของเราเติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

“การมี Passion ถือเป็นแรงผลักดันให้เราอยากจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ ขณะเดียวกัน การทำงานที่นี่ทำให้เรา มีโอกาสเรียนรู้แบบ T-shape คือ การลงลึกในสิ่งที่เราเชี่ยวชาญและได้เรียนรู้ศาสตร์ด้านอื่นจากทีมที่มีความชำนาญที่แตกต่างกัน และนั่นคือความสุขและความสนุกในการทำงาน เราได้เรียนรู้ ปรับตัวพัฒนาตนเองและเติบโตเป็น Next Chapter of Me อย่างต่อเนื่องค่ะ”

 

ที่มา a LOT Vol.29
https://www.scgpackaging.com/th/alotNewsletter

SCGP ต่อยอดองค์ความรู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใหม่ เปิดตัว HOLIS by SCGP B Cap บำรุงสมองแบบองค์รวม

SCGP ต่อยอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญการเพาะเลี้ยงพืชมูลค่าสูง ด้วยการนำเทคนิคเฉพาะมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในเห็ดเยื่อไผ่ พร้อมคัดสรรวัตถุดิบจากแหล่งชั้นนำระดับโลกสู่การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดใหม่ “HOLIS by SCGP B Cap” ตัวช่วยบำรุงสมองแบบองค์รวม เพื่อป้องกันและฟื้นฟูให้พร้อมใช้งาน โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่เหนื่อยล้าจากการใช้ความคิดจากการทำงานเป็นเวลานาน การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและมลภาวะต่างๆ ในปัจจุบัน 

 

บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า SCGP ได้ต่อยอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ นำประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงพืชด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผสานความร่วมมือกับศูนย์พัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ของ SCGP สู่การปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยล่าสุดประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยง “เห็ดเยื่อไผ่” (Bamboo Mushroom) เพื่อนำมาพัฒนาเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรใหม่ “HOLIS by SCGP B Cap” (โฮลิส บาย เอสซีจีพี บี แคป) นวัตกรรมเพื่อการดูแลสมองและระบบความจำแบบองค์รวม หลังจากได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร HOLIS by SCGP IM-MU Cap ที่มีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและปรับสมดุลร่างกายแบบองค์รวมเมื่อปีที่ผ่านมา

 

สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร HOLIS by SCGP B Cap พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด Best for Brain Boost การบำรุงระบบประสาทและสมองแบบองค์รวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองในทุกด้าน ด้วยการบำรุง ป้องกัน ส่งเสริมการทำงาน ฟื้นฟูสมองและความจำแบบองค์รวมให้พร้อมกับทุกการใช้งานในทุกวัน โดยคัดสรร 3 สารสกัดหลักจากธรรมชาติ ได้แก่ (1) Dictyophorine B สารสกัดจากผงเห็ดเยื่อไผ่ที่เพาะเลี้ยงด้วยเทคนิคเฉพาะของ SCGP ช่วยปกป้องระบบประสาทและสมอง (2) DHA เข้มข้น 40% สารสกัดจากน้ำมันสาหร่าย (Algae Oil) นำเข้าจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วยการทำงานของระบบประสาทและสมอง และ (3) Omega 3 สารสกัดจากน้ำมันคริลล์ (Krill Oil) ที่มีส่วนช่วยบำรุงสมอง ส่งเสริมความจำ ไร้กลิ่นคาว นอกจากนี้ ยังมีวิตามินบี 12 ที่มีส่วนในการทำงานตามปกติของระบบประสาทและสมอง และน้ำมันสกัดอื่น ๆ รวมถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลกที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย สามารถตรวจสอบทวนกลับได้

 

HOLIS by SCGP B Cap จึงมุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายวัยทำงานที่สมองเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นเวลานานและผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ที่เริ่มมีความกังวลต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์  มี 2 ขนาด บรรจุกล่องละ 30 เม็ด ราคา 1,100 บาท และ 10 เม็ด ราคา 459 บาท  ปัจจุบันสินค้ามีจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ  ร้าน Tops Vita ทุกสาขา และช่องทางอี-มาร์เก็ตเพลสชั้นนำ ร้าน SCGP Healthcare ใน Shopee, Lazada, Line OA, www.doozyonline  โดยสามารถติดตามข้อมูลสินค้าและกิจกรรมที่น่าสนใจได้ที่ www.holisbyscgp.com และ Facebook : HOLIS by SCGP

SCGP ปี 2565 ทำรายได้ 1.46 แสนล้าน เติบโตร้อยละ 18 กางแผนปี 66 เน้นลงทุนธุรกิจศักยภาพสูง เพิ่มนวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์ครบวงจร รับเศรษฐกิจฟื้น

SCGP เผยการดำเนินงานปี 2565 มีรายได้จากการขาย 146,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากการควบรวมกิจการกับพันธมิตรชั้นนำศักยภาพสูง (M&P) การขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง ส่วนกำไรลดลงจากผลกระทบด้านปริมาณขายลดลงและราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น มองภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ปี 66 มีแนวโน้มดีขึ้นหลังจีนเปิดประเทศ ชู 5 กลยุทธ์สร้างธุรกิจแข็งแกร่งรับเศรษฐกิจฟื้นตัว ได้แก่ การขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องที่มีโอกาสเติบโตสูง การพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์ครบวงจร การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทั้งห่วงโซ่อุปทาน การวางแผนบริหารจัดการเชิงรุก และการขับเคลื่อนธุรกิจด้วย ESG 4 Plus ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตต่อเนื่องที่ 160,000 ล้านบาท

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานปี 2565 ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความท้าทายจากปัจจัยต่าง ๆ โดยมีรายได้จากการขาย 146,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากปีก่อน ผลจากการวางกลยุทธ์ขยายกำลังการผลิตและการควบรวมกิจการกับพันธมิตร (M&P) การรับรู้รายได้เต็มปีจากการรวมผลประกอบการของบริษัทที่ M&P ได้แก่ Duy Tan, Intan Group และ Deltalab การรับรู้รายได้บางส่วนจาก Peute และ Jordan และการปรับราคาสินค้าให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วน EBITDA เท่ากับ 19,402 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8 จากปีก่อน และมีกำไรสำหรับปี 5,801 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30 จากปีก่อน จากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น รวมถึงการลดลงของปริมาณการขายและอุปสงค์กระดาษบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกจากสถานการณ์เศรษฐกิจ และในภูมิภาคจากการล็อกดาวน์ของประเทศจีน 

ขณะที่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 SCGP มีรายได้จากการขาย 33,509 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5 มี EBITDA อยู่ที่ 3,554 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรสำหรับงวด 450 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 79 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการและราคาขายบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคปรับตัวลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาขายกระดาษบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินค้าในกลุ่มบรรจุภัณฑ์เพื่อการอุปโภคบริโภคของประเทศในภูมิภาคอาเซียน ทั้งบรรจุภัณฑ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์ เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ยังเติบโตจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการทยอยเปิดประเทศ

SCGP ได้กำหนดแผนเงินลงทุนไว้ 100,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี (2564-2568) เพื่อบรรลุเป้าหมายรายได้ 200,000 ล้านบาท ในปี 2568 โดยในปี 2564-2565 SCGP ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 37,000 ล้านบาท ในการลงทุนและขยายกำลังการผลิตในธุรกิจที่มีศักยภาพและมีโอกาสเติบโต ทำให้ SCGP สามารถสร้างรายได้และผลตอบแทนที่สูงท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย สะท้อนถึงโมเดลธุรกิจและทิศทางการดำเนินธุรกิจของ SCGP ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม และสามารถสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งให้ SCGP ได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท โดยบริษัทได้จ่ายเป็นเงินปันผลงวดระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 และจะจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายในอัตราหุ้นละ 0.35 บาท ในวันที่ 24 เมษายน 2566 ตามรายชื่อ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 5 เมษายน 2566 โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD หรือวันที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 4 เมษายน 2566

นายวิชาญ กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไตรมาสแรกของปี 2566 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากจะได้รับปัจจัยบวกจากการที่จีนเริ่มเปิดประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียนที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การนำเข้าและส่งออก ตลอดจนห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่กลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอยสินค้าต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันยังคงมีความท้าทายจากเศรษฐกิจทั่วโลกที่ผันผวนต่อเนื่อง แรงกดดันด้านเงินเฟ้อซึ่งอยู่ในระดับสูง และการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย รวมถึงความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงในหลายภูมิภาค เช่น กลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นฐานลูกค้าใหญ่ของภาคธุรกิจการส่งออกของอาเซียน

SCGP ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมรองรับความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงเร่งดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้ารายได้ปีนี้ที่ 160,000 ล้านบาท ด้วย 5 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 
1. การสร้างการเติบโตจากการ M&P และการขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และมองโอกาสขยายสู่ธุรกิจอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูง โดยมุ่งเน้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และผสานความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างบริษัทย่อย (Synergy) ด้วยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี การขยายฐานลูกค้าและจัดหาวัตถุดิบ เพื่อยกระดับขีดความสามารถการดำเนินงาน โดยตั้งงบประมาณการลงทุนในปีนี้ที่ 18,000 ล้านบาท 
2. การพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มคุณค่าและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ด้วยงบประมาณและค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนา 800 ล้านบาท
3. การยกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain integration) การดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Operational excellence) ด้วยการนำระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในการวิเคราะห์ คาดการณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตและผลิตผล และการใช้ Data Analytics เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านข้อมูลตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (End-to-End) 
4. การวางแผนบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน การวางแผนบริหารความเสี่ยงในช่วงที่ภาวะดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น การบริหารจัดการเงินสด และงบประมาณการลงทุน (CAPEX) อีกทั้งยังมีการกระจายฐานลูกค้าหลากหลายประเทศและกลุ่มอุตสาหกรรม การมองหาตลาดใหม่ในแถบตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกาใต้

5. ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยแนวคิด ESG 4 Plus โดยมีเป้าหมายและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนที่จะเพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ทั้งหมดร้อยละ 100 จากปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตทั้งหมดในปี 2568 พร้อมทั้งการดำเนินงานตามแผนงานเพื่อที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593