🌫️ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศประมาณ 30% มาจากการผลิตอาหาร โดยเฉพาะ ‘ภาคการเกษตร’ ยิ่งในประเทศไทยเมืองแห่งการเพาะปลูก เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวมาถึง ท้องฟ้าก็เริ่มขมุกขมัวเพราะทั้งเมืองถูกปกคลุมด้วยฝุ่น PM 2.5
.
ฝุ่นควันเหล่านี้เกิดจากการเผาเศษขยะการเกษตรเพื่อเคลียร์พื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะข้าว อ้อย และข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยมาอย่างยาวนาน
.
ชุมชนบ้านหนองไม้เฝ้า ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นหนึ่งในชุมชนที่ปลูกอ้อยเพื่อเลี้ยงชีพทำให้ต้องเผาทุกปี ชาวบ้านจึงได้จัดตั้ง ‘กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองไม้เฝ้ารักษ์โลก’ เพื่อหาวิธีลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษ
.
🚜หนึ่งในการแก้ไขปัญหาคือมีการออกแบบ ‘รถสับใบอ้อย’ คันแรกของประเทศไทย เป็นนวัตกรรมสุดล้ำช่วยเก็บใบอ้อยเหลือทิ้งโดยไม่ต้องเผา ซึ่งรถสับใบอ้อยนี้ ดัดแปลงมาจากรถอีแต๋น มีหนวดกุ้งอยู่ด้านหน้าคอยเก็บใบอ้อยที่กองไว้เข้าสู่เครื่องสับย่อยให้มีขนาดเล็กลง สามารถสับเก็บขยะใบอ้อยได้มากถึงวันละ 10 ไร่
.
♻️และในปี 2563 ชุมชนก็ได้จับมือกับ SCGP โรงงานบ้านโป่ง นำใบอ้อยทั้งหมดขนส่งไปยังโรงงาน เพื่อผลิตเชื้อเพลิงแบบ Biomass ซึ่งเป็นการเผาไหม้ในระบบหม้อไอน้ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยควันพิษทำลายสุขภาพผู้คนในละแวก ถือเป็นพลังงานสะอาดอย่างดีตามหลักแนวความคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
.
โมเดลรถสับใบอ้อยมีประสิทธิภาพดีจนนำไปใช้อย่างแพร่หลายในตำบลเขาขลุง ทำให้พื้นที่แห่งนี้ปลอดการเผาเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ และชุมชนยังได้รับ ‘รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ โครงการชุมชนปลอดขยะ Zero Waste ปี 2565 ชุมชนขนาดกลาง’ อีกด้วย
.
นอกจากนี้นวัตกรรมรถสับใบอ้อย ยังต่อยอดใช้กับขยะเหลือทิ้งทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด เป็นการเปลี่ยนขยะให้มีมูลค่า สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ช่วยลดการเผาหลังการเก็บเกี่ยวพืช แก้ปัญหาฝุ่นควันได้อย่างตรงจุด ส่งผลให้สุขภาพของคนในชุมชนดีขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ดีต่อสิ่งแวดล้อมและโลกของเราอย่างยั่งยืน
.
#WeAreGreener #รถสับใบอ้อย