SCGP Newsroom

Social Media Library

🌳ต้นไม้ ไม่ว่าจะต้นเล็กหรือต้นใหญ่ ต่างก็มีพลังในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากต้นไม้ทุกต้นมีกระบวนการสังเคราะห์แสง ที่จะช่วยเพิ่มออกซิเจน และดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ไปเก็บไว้ในลำต้น กิ่ง ใบ และราก หากให้คำนวณต้นไม้ 1 ต้นสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ยถึง 9-15 กิโลกรัมต่อปี และยังช่วยดักจับฝุ่นละออง PM 2.5 และมลพิษได้ประมาณ 1.4 กิโลกรัมต่อปีอีกด้วย ​
. ​
สำนักเศรษฐกิจการป่าไม้ กรมป่าไม้ ระบุว่า พรรณไม้หลายชนิดมีความสามารถพิเศษในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่โดดเด่น ยิ่งเติบโต ยิ่งมีอายุยืนยาวก็จะยิ่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้น เช่น ​
. ​
🌱 ยูคาลิปตัส 267 ต้น/ไร่ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 3.15-6.09 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี ​
🌱 กระถินเทพา 178 ต้น/ไร่ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 4.00-6.09 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี ​
🌱 โกงกาง 711 ต้น/ไร่ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 0.77-6.49 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี ​
🌱 ปาล์มน้ำมัน 144 ต้น/ไร่ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 2.49 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี ​
🌱 พะยูง 100 ต้น/ไร่ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 1.36-2.16 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี ​
🌱 ยางพารา 144 ต้น/ไร่ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 4.22 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี ​
. ​
หากเราปลูกต้นไม้แต่ละสายพันธุ์อย่างมีคุณภาพ หมั่นดูแลอย่างเหมาะสม จนเติบโตอย่างอุดมสมบูรณ์ ต้มไม้ต้นนั้นก็จะยิ่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ดีให้กับโลกของเราได้นั่นเอง ​
. ​
นอกจากการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปรับอากาศบริสุทธิ์ให้โลกแล้ว การปลูกต้นไม้ก็ยังช่วยให้ร่มเงาเป็นที่อยู่ของสัตว์น้อยใหญ่ เป็นแหล่งอาหาร ทำให้ระบบนิเวศสมบูรณ์ อีกทั้งยังช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ชะลอความแรงลมพายุ ป้องกันการเกิดน้ำท่วมอีกด้วย ​
. ​
🌿 ตัวอย่าง ‘ต้นยูคาลิปตัส’ เป็นหนึ่งในพืชสารพัดประโยชน์ที่ยิ่งปลูกก็ยิ่งดีต่อโลก ใบของยูคาลิปตัสที่ร่วงจากต้นจะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ฟื้นฟูดิน ส่วนรากที่เล็กแต่หยั่งลึกนั้นทำงานผนึกกำลังกันเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและทำให้ดินอุ้มน้ำดี ที่สำคัญยังเป็นพืชที่ดูแลง่าย ให้ผลตอบแทนงาม นิยมปลูกไว้ตามคันนา ​
. ​
ถ้าป่าของเราเขียวชะอุ่ม เต็มไปด้วยต้นไม้ที่เติบโตอย่างอุดมสมบูรณ์ แน่นอนว่าไม่ใช่แค่เราที่ได้หายใจรับอากาศดี ๆ โลกของเราก็ได้หายใจไปด้วย ​
. ​
#SCGP #ESG #SCGPESG

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading...