SCGP Newsroom

SCGP เติบโตต่อเนื่องหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 ทำรายได้ 27,253 ล้านบาท โตร้อยละ 12 ตอกย้ำศักยภาพโมเดลธุรกิจและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

SCGP สร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำรายได้จากการขายไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 รวม 27,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตอกย้ำโมเดลธุรกิจที่มีศักยภาพ จากการรุกขยายธุรกิจในภูมิภาค การพัฒนาโซลูชันบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค การปรับตัวอย่างรวดเร็ว และภาพรวมเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทสามารถสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องนับจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา โดยไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 27,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 2,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ EBITDA ((กำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ไม่รวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม และรวมกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินกู้ยืมตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2562) อยู่ที่ 5,267 ล้านบาท ถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นมาจากการเติบโตของความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในอาเซียน ราคากระดาบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ SCGP มีการวางโมเดลธุรกิจมุ่งขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำ (Downstream) ในภูมิภาคอาเซียนให้เติบโตยิ่งขึ้น การกระจายฐานลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความเกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ อาทิ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขอนามัย ฯลฯ ที่ยังมีการเติบโตได้ดี เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน โดยบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของรายได้จากสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรจากการขายในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ส่วนบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซยังมีการเติบโตได้ดีในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค และได้รับผลเชิงบวกในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19

 

ขณะเดียวกัน SCGP ได้รุกขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการขยายกำลังการผลิตและควบรวมกิจการ (Merger & Partnership หรือ M&P) โดยนับจากปลายปี 2563 ถึงปัจจุบัน ได้ลงทุนขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบบครบวงจร ได้แก่ (1) การเปิดดำเนินการโรงงานผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์กำลังผลิตส่วนเพิ่ม 400,000 ตันต่อปี ของ Fajar ในประเทศอินโดนีเซีย (2) การขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์อีกกว่า 347 ล้านชิ้นต่อปี ในบริษัทวีซี่ แพ็คเกจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (3) การเข้าลงทุนใน Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ประเทศเวียดนามเพื่อขยายฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค (4) การเข้าลงทุนใน Go-Pak UK Limited เพื่อขยายฐานตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารในภูมิภาคต่าง ๆ รองรับเมกะเทรนด์

 

นอกจากนี้ บริษัทมุ่งเน้นการผนึกกำลัง (Synergy) ระหว่างฐานการผลิตต่าง ๆ  เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการพัฒนาสินค้า การสร้างสรรค์นวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การบริหารจัดการต้นทุนด้านพลังงาน รวมถึงบริหารจัดการ    ความเสี่ยงด้านต้นทุนวัตถุดิบผ่านศูนย์จัดการวัสดุรีไซเคิล (Recycling Station) และพันธมิตรต่าง ๆ อีกทั้งสามารถบริหารจัดการภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จัดส่งสินค้าทางเรือในช่วงที่ผ่านมาได้

 

“ปี 2563 และ 2564 ถือเป็นปีที่ทุกธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างไร   ก็ตาม SCGP ตั้งเป้าผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และสามารถสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกในปีนี้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงโมเดลธุรกิจที่มีศักยภาพจากการกระจายฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมที่หลากหลายและการนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่าง โดยตั้งงบประมาณรายจ่ายลงทุน (CAPEX) ปีนี้ที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายลงทุนเพื่อการเติบโตจากการ M&P และการขยายกำลังการผลิตประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้า และรองรับความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีการเติบโต และอีกประมาณ 5 พันล้านบาทเป็นงบประมาณรายจ่ายลงทุนประจำปีที่ใช้ในการซ่อมบำรุง โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพ โครงการวิจัยพัฒนาสินค้า และโครงการพัฒนาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม” นายวิชาญกล่าว

 

บริษัทอยู่ระหว่างการขยายธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอีกหลายโครงการ ประกอบด้วย การขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ในฟิลิปปินส์อีก 220,000 ตัน/ปี และการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์แบบอ่อนตัวในประเทศไทยอีก 53 ล้านตารางเมตร/ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 รวมทั้งการลงนามในสัญญาซื้อหุ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพื่อเข้าถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 70 ใน Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation (Duy Tan) ประเทศเวียดนาม เพื่อขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปในเวียดนาม คาดว่าจะปิดดีลแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2564

SCGP จับมือ SCG Express เปิดโครงการ “Dream Box” รีไซเคิลกล่องพัสดุเป็นอุปกรณ์การเรียนให้น้อง ๆ กว่า 30 โรงเรียนทั่วประเทศ

SCGP และ SCG Express ชวนผู้บริโภคส่งกล่องพัสดุใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล  แปรรูปเป็นสมุดภาพระบายสี “เปียกปูน-ใบตอง” อุปกรณ์การเรียน และของเล่นกระดาษ เติมฝันและสร้างสรรค์จินตนาการให้น้อง ๆ ในโรงเรียนที่ขาดแคลนกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยสามารถร่วมโครงการกับเราได้ง่าย ๆ เพียง เก็บ พับ และมัด กล่องพัสดุใช้แล้ว และส่งกลับผ่านช่องทาง SCG Express

  1. จุดรับพัสดุด่วน SCG Express ทุกสาขา
  2. บริการรับพัสดุที่บ้าน (Pick Up Service)
  3. พนักงาน SCG Express ที่มาส่งพัสดุ

ตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2564 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร. 02-239-8999

บรรจุภัณฑ์ เฟสท์ ชิลล์ ทางเลือกที่ใช่ของฟู้ดเดลิเวอรี

ปัจจุบัน แพลตฟอร์มส่งอาหารมากมายเกิดขึ้นและได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความสะดวกสบายของการรับประทานอาหารที่บ้าน เพราะไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย จนอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ แต่อย่างไรก็ดียังคงให้ความสำาคัญในเรื่องของความปลอดภัยและใส่ใจที่จะมีส่วนร่วมในเรื่องสิ่งแวดล้อม

ในฐานะผู้นำทางด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร เฟสท์จึงได้คิดค้นบรรจุภัณฑ์เฟสท์ ชิลล์ ที่ตอบโจทย์บริการเดลิเวอรี่ ที่ร้านอาหารและผู้ประกอบการมั่นใจได้ในความสะอาด ปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตจากเยื่อยูคาลิปตัสจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์ มีการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ให้มีความแข็งแรง ขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เคลือบด้วยฟิล์มที่สามารถบรรจุอาหารร้อนได้ถึง 130 องศาเซลเซียส และสามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรง ทั้งอาหารที่มีความร้อน มีน้ำและน้ำมัน และผ่านการทดสอบในเรื่องความสะอาดปลอดภัยอย่างเข้มงวดข้อสำคัญหลังจากการใช้งานยัง สามารถลอกฟิล์มเพื่อนำไปรีไซเคิล และบรรจุภัณฑ์สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติภายใน 60 วัน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่คำนึงถึงผลประโยชน์ทั้งต่อธุรกิจผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

  • สามารถแช่เย็นได้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส
  • สามารถคัดแยกขยะได้สะดวก ด้วยการลอกแผ่นฟิล์มที่เคลือบด้านในออกจากตัวกล่อง
  • สามารถอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟที่กำาลังไฟ800 วัตต์ ได้นาน 3 นาที
  • ฟิล์มพลาสติกที่ลอกออกมาแล้วสามารถนำไปรีไซเคิลได้
  • ส่วนที่เหลือจะย่อยสลายได้ภายใน 60 วัน
  • บรรจุภัณฑ์มีความแข็งแรงเหมาะสำาหรับการจัดส่งเดลิเวอรี

บรรจุภัณฑ์เฟสท์ ชิลล์ มีวางจำาหน่ายที่ Fest Shop เอสซีจี สำานักงานใหญ่ บางซื่อ และ www.festforfood.com
ติดตามรายละเอียดหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/fest
LINE @festforfood หรือ Call Center 0-2586-1000

SCGP x Lotus ชวนนำกล่องกระดาษกลับมารีไซเคิล ตั้งเป้าขยาย Drop point 220 สาขาทั่วประเทศ

SCGP x Lotus ชวนนำกล่องกระดาษกลับมารีไซเคิล
ตั้งเป้าขยาย Drop point 220 สาขาทั่วประเทศ

 

ในยุค New Normal ที่การ “ชอปออนไลน์” กลายเป็นไลฟ์สไตล์ปกติที่เกิดขึ้นทุกวัน เมื่อพัสดุส่งถึงมือผู้รับ กล่องกระดาษที่ทำหน้าที่ปกป้องและขนส่งก็หมดหน้าที่ลง และกลายเป็นวัสดุเหลือใช้ แม้ว่าจะมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่มีใจรักษ์โลก ตระหนักถึงการนำบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นกลับไปรีไซเคิลเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แต่จุดรับรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับไม่เป็นที่แพร่หลาย และไม่สะดวกต่อการนำไปทิ้ง ส่งผลให้กล่องกระดาษเหล่านั้นจึงถูกทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่นไปในที่สุด

SCGP โดยคุณจิรศักดิ์ แก้วอุบล Director – Recycling Business จับมือ Lotus พันธมิตรหัวใจสีเขียว โดยคุณสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท โลตัส ร่วมกันติดตั้ง Drop point รับกล่องและลังกระดาษที่ใช้แล้วที่ Lotus ทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นกล่องกระดาษใหม่ สานต่อความตั้งใจของผู้บริโภคที่เห็นคุณค่า เพื่อร่วมสร้างระบบการจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืนตามหลัก Circular Economy ไปด้วยกัน

SCGP ขยายการลงทุน วีซี่ แพ็คเกจิ้ง รับดีมานด์ขยายตัว เพิ่มกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์กว่า 347 ล้านชิ้นต่อปี คาดแล้วเสร็จสิ้นปีนี้

SCGP รุกเพิ่มกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ใน วีซี่ แพ็คเกจิ้ง อีกร้อยละ 15-20 หรือกว่า 347 ล้านชิ้นต่อปี รับความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในไทยและต่างประเทศขยายตัว คาดแล้วเสร็จพร้อมผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายภายในสิ้นปีนี้

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทได้รุกขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (PPP) ของบริษัทวีซี่ แพ็คเกจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Visy เพื่อตอบสนองความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในไทยและต่างประเทศ ที่มีแนวโน้มขยายตัวและสร้างการเติบโตแก่บริษัท โดยการขยายกำลังการผลิตดังกล่าวใช้งบลงทุน 510 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสายการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบขึ้นรูปด้วยความร้อน สายการผลิตที่ 7 และคลังสินค้าใหม่ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรแล้วเสร็จ และได้เริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว โดยในส่วนของคลังสินค้าอัตโนมัติอยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จสิ้นปี 2564 ซึ่งจะทำให้ Visy มีกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 15-20 หรือประมาณ 347 ล้านชิ้นต่อปี

สำหรับ Visy เป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นร้อยละ 80 โดยบริษัทเอสซีจีพี รีจิด พลาสติกส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ SCGP ถือหุ้นร้อยละ 100 โดย SCGP เข้าทำสัญญาซื้อหุ้น Visy เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ผ่านบริษัทย่อยในรูปแบบ Merger and Partnership (M&P) และผลิตบรรจุภัณฑ์เต็มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องมาตลอด

ปัจจุบันถือเป็นบริษัทชั้นนำด้านบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคเอเชีย โดยเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ขึ้นรูปด้วยความร้อนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพสูง เช่น ถ้วยผลไม้ ถาด ขวดโหล เป็นต้น มีลูกค้าเป็นเจ้าของแบรนด์ผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลกที่ต้องการใช้บรรจุภัณฑ์คุณภาพสูง น้ำหนักเบา มีคุณสมบัติยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร และรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุอาหารและผลไม้ และระบบการผลิตที่มีกระบวนการจัดการของเสียจากการผลิตอย่างครบวงจร

ทั้งนี้ ในปี 2563 รายได้ส่วนใหญ่ของ Visy มาจากการส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยนับตั้งแต่เข้าซื้อกิจการ Visy ได้ผลิตสินค้าเต็มกำลังการผลิตสูงสุด 1,750 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ประชากรและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง เช่น ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น ครัวเรือนมีขนาดเล็กลง วิถีชีวิตที่ใส่ใจสุขภาพและความสะดวกสบายมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ของ Visy ได้ถูกเลือกใช้แทนบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ทางเลือกแก่ผู้บริโภค จึงทำให้การใช้เพิ่มมากขึ้นด้วย

SCGP จับมือ Lotus ชวนลูกค้าขาช้อปนำกล่องและกระดาษกลับมารีไซเคิล

SCGP x Lotus ชวนลูกค้าขาช้อปนำกล่องและกระดาษกลับมารีไซเคิล
ตั้งเป้าขยาย Drop point 220 สาขาทั่วประเทศ

 

“พฤติกรรมผู้บริโภค” กับการ “ช้อปออนไลน์” ในช่วงสถานการณ์ COVID 19 ผลักดันให้ตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นไลฟ์สไตล์ปกติในยุค New Normal เมื่อพัสดุส่งมาถึงมือผู้รับ บรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ปกป้อง และขนส่ง ก็หมดหน้าที่ และกลายเป็นวัสดุเหลือใช้ แม้ว่าผู้บริโภคจะมีใจรักษ์โลก อยากส่งกลับไปรีไซเคิลเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แต่ไม่รู้จะส่งไปที่ไหน หรือไม่ได้รับความสะดวก จนเปลี่ยนใจทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่นไปในที่สุด

SCGP จึงร่วมมือกับ Lotus พันธมิตรหัวใจสีเขียววาง Drop point ที่ Lotus ทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อเป็นจุดรับและจัดเก็บกล่องและกระดาษกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล 100% สานต่อความตั้งใจของผู้บริโภคที่เห็นคุณค่า และอยากสร้างระบบการจัดการวัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืนตามหลัก Circular Economy

SCGP รับมอบใบรับรองระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

นายแสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการกระดาษบรรจุภัณฑ์ SCGP และกรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด รับมอบใบรับรองระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ISO 22301:2019 Business Continuity Management System) จากนางพรรณี อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) หรือ MASCI โดยมีคณะผู้บริหารทั้ง 2 องค์กร ร่วมแสดงความยินดี เมื่อเร็ว ๆ นี้

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย x เอสซีจี แพคเกจจิ้ง โต๊ะกระดาษ 3 in 1 : ส่งมอบโอกาส สานต่อความยั่งยืน

จากการลงพื้นที่สำรวจวิถีชีวิตของเด็ก ๆ ในท้องถิ่นทุรกันดารของมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย พบว่ามีเด็กนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลจำนวนมากยังขาดแคลนอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการเรียนและอ่านเขียนหนังสืออย่าง “โต๊ะ” ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน ทำให้เด็กต้องนั่งก้มตัวอ่านหนังสือหรือนอนราบกับพื้น เพื่อเขียนหนังสือ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กในอนาคต

มูลนิธิศุภนิมิตฯ จึงมองหาโต๊ะเขียนหนังสือที่ใช้อ่าน เขียน และเก็บของได้น้ำหนักเบา พกพาสะดวก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งมอบให้เด็กนักเรียนในความดูแลของมูลนิธิฯ ทั่วประเทศ จึงได้ประสานความร่วมมือมายังเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ทีมที มีนักออกแบบและเชี่ยวชาญด้านบรรจภัณฑ์ให้ช่วยออกแบบและผลิตโต๊ะกระดาษตามโจทย์ความต้องการข้างต้น และนั่นคือจุดเริ่มต้นในการพัฒนาไอเดียโต๊ะกระดาษ 3 in 1 เพื่อส่งมอบให้เด็ก ๆ ใช้ประโยชน์และยังสร้างสรรค์ขึ้น ภายใต้แนวคิด Circular Economy

“โต๊ะกระดาษ 3 in 1 เพื่อการเรียนรู้” ทำจากกระดาษรีไซเคิลน้ำหนักเบามีความแข็งแรง คงทน ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งไปยังพื้นที่ทุรกันดารใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และสามารถนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ทั้งหมด ไม่ก่อให้เกิดขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถประกอบขึ้นรูปได้ง่าย และมีฟังก์ชันในการใช้งานถึง 3 อย่างในตัวเดียว ทั้งเป็นโต๊ะนั่งเขียนและอ่านหนังสือ เป็นที่เก็บของและอุปกรณ์การเรียน และพับเป็นกระเป๋าใส่สมุดหนังสือหิ้วไปใช้งานที่บ้านและโรงเรียนได้ โดยมีคำแนะนำในการใช้งานไว้ให้เด็ก ๆ ได้อ่านและปฏิบัติตามที่ด้านข้างโต๊ะ พร้อมทั้งคู่มือในการประกอบแนบมาให้ด้วย

**ล้อมกรอบ**

มูลนิธิศุภนิมิตฯ สั่งผลิตโต๊ะกระดาษทั้งสิ้น 25,000 ตัวให้เด็กนักเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ได้ร่วมสนับสนุนกิจกรรม เพื่อการศึกษา มูลค่ารวม 250,000 บาท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ร่วมส่งมอบโต๊ะกระดาษ 3 in 1 เพื่อการเรียนรู้ให้แก่ เด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านท่ามะขาม อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 80 คน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 มีทีมนักออกแบบจากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง สาธิตการประกอบโต๊ะกระดาษและแนะนำการใช้งานให้เด็ก ๆ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิศุภนิมิตฯ

ทีมนักออกแบบ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง:

ดิเรกข์ อินสกุล อติกานต์ บุญประคอง ภูมิภัค พันธสี และวันชนะ ศรีไตรรัตนะ

“โจทย์สำคัญของมูลนิธิศุภนิมิตฯ คือการออกแบบโต๊ะที่น้ำหนักเบา พกพาง่าย และใช้งานได้หลากหลาย เราจึงเลือกใช้กระดาษมาพัฒนารูปแบบให้ตรงตามการใช้งานและเหมาะกับสรีระของเด็ก สามารถดัดแปลงได้หลายฟังก์ชัน โดยเลือกใช้กระดาษลอนหนา คำนวณจุดรับแรงกดให้ดี เน้นความแข็งแรง และออกแบบโครงสร้างให้เด็กประกอบเองได้ ไม่ซับซ้อน ข้อดีอีกอย่างคือ สามารถสอดแทรกการเรียนรู้ไว้ในตัว เหมือนกับปริศนาที่ให้เด็กได้ทดลองประกอบเป็นของใช้อย่างที่ตัวเองต้องการ และหลังจากใช้งานจนช

DOM : Detect Odor and Monitoring

“It is easy to notice odor but difficult to measure it.” Industrial plants thus have a challenging task of preventing their odor from polluting local communities.

 

SCGP has developed DOM (Detect Odor & Monitoring) to help factories tackle this specific challenge. Detecting odor with great efficiency, this innovation has won the National Innovation

Awards 2020 in the Service Design category and has promised to be friendly to the environment.

 

Equipped with both software and hardware, DOM detects and monitors odor for efficient analyzes and management. Its monitoring system uses sensors, which accept customized settings, to check the intensity of undesirable odors of ammonia, hydrogen sulfide, ethylene oxide, etc. It can even determine as to whether PM2.5 amount is above safe limit. Data is displayed real time on a dashboard in an easy-to-understand manner. DOM truly has positive social, business, and environmental impacts.

 

DOM Service

Odor Identify: What are typical odors at your site?

  • Surveying the site and its odor – causing manufacturing spots;
  • Collecting odor samples for chemical analyzes; and
  • Assessing the intensity of odors by Odor Panelist and based on international-standard guideline

 

Odor Monitoring System: Constant Monitoring at Your Site

  • DOM checks the intensity of odor and sends data to DOM Web Platform for real-time display and database;
  • Alerts are issued when odor intensity soars above specified limit;
  • Assessing odor diffusion from sources in combination with weather and wind-direction data; and
  • Data can be compared with complaints about odor time for improvement in the future.

 

Odor Impact Assessment: What are odor impacts?

  • Displaying odor impacts;
  • Analyzing the sources of main odors and time of odor emissions, which are prone to trigger complaints; and
  • Assessing the feasibility of odor-reduction options

Unlimited Solutions through Innovative Mindset

Innovative mindset encourages learning and efforts to develop solutions. Thanks to such a mindset, great innovations like DOM (Detect Odor & Monitoring) have been created. Designed

to detect odor at industrial plants, SCGP’s DOM has won the National Innovation Award in

Service Design category this year.

 

Now, let’s hear directly from the DOM team about its truly innovative mindset.

 

“We believe DOM will support smooth business operations. In the past, odor problems had often been issues between factories and communities and there was no efficient device to check the odor. Our DOM has great accuracy. So, the device will detect odor even before it becomes

an issue.

 

“Our innovation responds to not just business purposes but also social and environmental care. It materializes because of our innovative mindset. We understand problems and seek to overcome any challenges in our keen pursuit of solutions. Innovative mindset will help any innovator. As for our team, we intend to constantly improve our DOM so that it becomes widely used for good

causes.”

 

Dr. Thipnakarin Boonfueng – Senior Researcher /

Environmental Technology Specialist, Product & Technology Development Center

 

“We started developing DOM because of odor at our plant.

 

“Aware of the odor, our plant had used various odor-detection products before but they had failed to completely eradicate the problem. However, our comprehensive research and serious development have made a difference. Our DOM can detect odor, monitor it, and even assess its impacts.

 

“One big challenge in DOM development is that factories have different kinds of odor. To ensure efficiency, we study the problem case by case. We adapt and adjust fast to provide each of our

customers with the best DOM.”

 

 

Mr. Wuttinan Lerkmangkor – Researcher,

Product & Technology Development Center