SCGP Newsroom

SCGP สร้างการเติบโตกลุ่มบรรจุภัณฑ์อาหารในระดับโลก เดินหน้าขยายกำลังการผลิตในไทยและเวียดนามรองรับการขยายตลาดต่างประเทศ

SCGP ขยายการลงทุนสร้างการเติบโตกลุ่มบรรจุภัณฑ์อาหารรองรับเมกะเทรนด์ เดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิตธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหารอีก 1,838 ล้านชิ้นต่อปี รวม 2 โครงการใช้งบลงทุน 631 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตลาดต่างประเทศ

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า ความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีปัจจัยจากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การบริโภคอาหารพร้อมรับประทาน การเลือกใช้บริการจัดส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ถือเป็นเมกะเทรนด์ที่ส่งผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหาร โดยคาดว่าภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารพร้อมรับประทานในภูมิภาคอาเซียนในปี 2564-2567 จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 6-7% ต่อปี

 

SCGP ได้ขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหารอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาด้วยฐานผลิตในประเทศไทยและมาเลเซีย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป รองรับตลาดในภูมิภาคอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น และในมกราคมที่ผ่านมา บริษัทได้ขยายการลงทุนนอกภูมิภาคอาเซียน โดยเข้าลงทุนร้อยละ 100 ใน Go-Pak UK Limited (Go-Pak) เพื่อเสริมศักยภาพและความแข็งแกร่งด้านการผลิต และสามารถขยายฐานลูกค้าทั่วโลก

 

ล่าสุด SCGP ได้เดินหน้าขยายการลงทุนอีก 2 โครงการเพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหารในระดับโลก โดยขยายกำลังการผลิตของบรรจุภัณฑ์อาหารจากกระดาษ เพิ่มขึ้น 1,615 ล้านชิ้นต่อปี ที่โรงงานจังหวัดราชบุรี และโรงงาน Binh Duong ประเทศเวียดนาม คาดว่าจะเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาสที่ 3 ปีนี้

 

ขณะเดียวกันได้ลงทุนขยายกำลังการผลิตในธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหารจากเยื่อธรรมชาติ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอีก 223 ล้านชิ้นต่อปี ที่โรงงานจังหวัดกาญจนบุรี โดยคาดว่าจะเริ่มเดินดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565  ทั้งนี้ การลงทุนขยายกำลังการผลิตทั้ง 2 โครงการด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 631 ล้านบาท จะเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตเพื่อรองรับการขยายตลาดและความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ

 

“การขยายกำลังการผลิตนี้ จะทำให้บริษัทมีรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 35 จากกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และประเทศเวียดนาม รองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องในธุรกิจ        บรรจุภัณฑ์อาหารทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน” นายวิชาญ กล่าว

SCGP ต่อยอดความสำเร็จตลาดอินโดนีเซีย ขยายการลงทุนบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำใน Intan Group รับการเติบโตในอาเซียน

SCGP ขยายการลงทุนบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย โดยลงนามในสัญญาซื้อหุ้นร้อยละ 75 ใน Intan Group หนึ่งในผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกที่มีฐานธุรกิจใน 4 จังหวัดหลัก ต่อยอดความสำเร็จจากการลงทุนในธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ก่อนหน้านี้ เสริมศักยภาพและบูรณาการธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจร

 

 นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทฯ วางกลยุทธ์ขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น จากการขยายฐานธุรกิจและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในภูมิภาค โดยมองว่า การขยายบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกจะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจแบบบูรณาการของบรรจุภัณฑ์

 

ทั้งนี้ อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีศักยภาพจากประชากรที่มีจำนวนกว่า 270 ล้านคน สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน บริษัทฯ จึงขยายการลงทุนในอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันมีบริษัทย่อย 5 บริษัท ได้แก่ PT Fajar Surya Wisesa Tbk., PT Dayasa Aria Prima (บริษัทย่อยของ Fajar), PT Primacorr Mandiri, PT Indorcorr Packaging Cikarang  และ PT Indoris Printingdo ที่เป็นฐานการผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก 2 แห่ง โรงพิมพ์สำหรับบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก 1 แห่ง และโรงงานผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ 2 แห่ง ในปี 2563 รายได้จากการขายในอินโดนีเซีย เท่ากับ 17,577 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.94 ของรายได้จากการขายรวม

 

โดยหลังจากเข้าไปลงทุน บริษัทฯ ได้ร่วมมือเป็นพาร์ทเนอร์ขยายธุรกิจ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ และรวมผนึกพลัง เช่น การลดต้นทุนทางการเงิน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และในไตรมาสแรกปี 2564 บริษัทฯ ได้เริ่มเดินเครื่องจักรสายการผลิตใหม่ของกระดาษบรรจุภัณฑ์ ส่วนการดำเนินงานใน PT Primacorr Mandiri, PT Indorcorr Packaging Cikarang  และ PT Indoris Printingdo บริษัทฯ ได้ประสานความร่วมมือแบบบูรณาการกับธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ลดของเสีย พัฒนาระบบไอที และนำนวัตกรรม Lightweight G Technology ของ SCGP เข้าไปใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์

 

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCGP กล่าวว่า ล่าสุดบริษัทฯ ได้ขยายการลงทุนในอินโดนีเซีย โดยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาเข้าถือหุ้นร้อยละ 75 ใน PT Indonesia Dirtajaya Aneka Industri Box, PT Bahana Buana Box และ PT Rapipack Asritama (รวมเรียกว่า Intan Group) ผ่าน TCG Solutions Pte. Ltd. ที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย บริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด (TCG) ใน SCGP และคาดว่าจะดำเนินการควบรวมกิจการแล้วเสร็จภายในกลางปี 2564

 

Intan Group เป็นหนึ่งในผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกในอินโดนีเซียซึ่งดำเนินธุรกิจในพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ 4 แห่ง ได้แก่ Surabaya, Semarang, Bekasi และ Minahasa โดยมีฐานลูกค้าในกลุ่มธุรกิจอาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ทั้งที่เป็นบริษัทข้ามชาติและกิจการภายในประเทศ ในปี 2563 Intan Group มีรายได้ 1,329 พันล้านรูเปียห์ (ประมาณ 92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3,057 ล้านบาท)

 

สำหรับการขยายการลงทุนในอินโดนีเซียครั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน เพิ่มศักยภาพการนำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย และสามารถส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างธุรกิจที่บริษัทฯ เข้าไปลงทุนใหม่กับธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์ที่ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบันด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานลูกค้าร่วม นอกจากนี้ บริษัทฯ สามารถนำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ร่วมกับการนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละราย พัฒนาสินค้าที่เป็นนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มศักยภาพด้านการเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน

Doozy Pack : Data-Driven Business Approach That Fulfill Customers’ Needs

Three Doozy Pack members, who have different job responsibility, are here with us today to reveal how they have tackled the challenge.

 

“I am an AE also, I double as a manager. For our B2C model, we embrace the ‘Complete & Easy Set’. In other words, we are a one-stop shop for consumers. Staff at shops have also helped with gathering customers’ opinions or the voice of customers. If customers expected us to have something and we had not yet had that, we would try to prepare it for customers next time.”

 

“COVID-19 crisis posed the most challenging time. We decided to close our shops for staff’s safety, even though our staff were really keen to work. When the crisis eased enough for reopening, we had to prepare protective equipment such as plastic partitions and alcohol gel.

We chose to experiment our equipment with one shop first. When our approach worked fine, we started applying the same thing to other shops too. We have realized that teamwork makes the impossible possible.

 

“When we plan any change, we will communicate and discuss with our staff first. I have paid attention to my team and their work environment. But at the same time, I have emphasized that they must get close to customers and gather customer data. B2C shops give opportunities for us to understand end-consumers. The opinions of end-consumers are useful to business and product development of Doozy Pack. When we run a shop, we need to ensure our physical space generates maximum revenue.

 

“As my current mission is relatively new at SCGP, I am under much pressure. Sometimes, I feel burnt out. I have learnt from and got stronger because of my new job responsibility. We need to have fun beating all challenges. That’s how to motivate ourselves.”

Natsinee Chaocharoenphong

Doozy Pack Shop Manager

 

 

“I am an AE responsible for Doozy Pack’s e-commerce, taking care of both our own platform and Consignment Platforms like Shopee and Lazada. My responsibility covers website display, backdoor operations, as well as advertising efficiency on Facebook and LINE. Simply put, I take charge of every online activity.

 

“Before this, I had worked as a packaging designer for five years. But I’ve decided to jump to the sales field. With my new job responsibility, I have learnt more to understand everything backdoor to ensure front operations run smooth.

 

“Thanks to COVID-19, we have had greater opportunities in communicating with customers and making them aware of our delivery services. As awareness grows, we also need to prepare efficient delivery-service management. If we have proper response, We need to settle any dispute before it blows up online. Call them, talk to them, appease them and make sure problems will not recur.

 

“Communications are very important to our job. If any wrong message is sent out, we quickly correct it no matter how small the mistake is.”

 

“I am always curious as to whether I have done the right thing or if I could have done better. I am also trying hard to look at things from a customer’s perspective. I seriously pay attention to the voice of customer too. Today, everything happens fast. So, we need to act fast as well. If we stumble, stand up quickly. If data confirms we need to change something, act on it. Don’t wait. When we first developed Lite Box, we found that our product was rather expensive. Only after we lowered the specifications of materials involved, can we introduce the products that can compete in the market. When we have an impressive product variety, our customer base naturally expands too. Our product variety is achieved because we keep innovating based on data we have received.”

 

Nantipat Limbasuta

Account Executive –

E-commerce & Retail Solution

 

“I am in charge of everything at the shop. Challenges are everywhere, but the most challenging of all is customer care. There are various types of customers. Some customers do not even know their needs. When handling such customers, we have to listen very attentively and then present easy-to-understand advice.”

 

“My mindset is rooted in my liking. I personally love sales and services-related jobs. So, when I am here with a good supervisor and team, I am happy heading to my shop. At work, I am not just a salesperson. I am also a thinking partner for my customers. For example, although we have nearly 20 box sizes, our products may not perfectly fit all products customers have. So, we may have to help them with some creative solutions because smaller boxes mean a lower logistics cost, etc. When I am assigned to help another branch, I also learn new things. Each shop has different strengths. When I see their strengths, I come back and apply what are good to my shop too. After work on each day, I keep asking myself how I can work better tomorrow.”

 

Thaweeshok Kontrong

Doozy Pack – Shop Assistant Manager

 

 

 

 

Note: Photos were taken before the introduction of measures to control COVID-19 outbreak.

 

 

SCGP and Jones’ Salad serve Healthy Food with Green Heart

Many of you must have been familiar with the face of a kind-looking mustached uncle with a green scarf around his neck these days. His face, after all, appears at several shopping malls or on top of Facebook as the mascot of Jones’ Salad. The brand’s founder Mr. Ariya “Klong” Kumpilo, has embraced social media and new business concept in creating not just brand awareness but also customer engagement.

 

Turning Point in Life behind Business Idea

Not long after his graduation, Mr. Ariya needed urgent surgery to remove an orange-sized tumor. Although it was not malignant, it marked a turning point in his life.

 

“I started becoming health-conscious,” he recounted, “Because eight or nine years ago, it was not at all easy to find organic vegetables. I wanted to start offering healthy choices to consumers myself.”

 

His idea became clearer after his girlfriend went to Australia to further her studies and talked about her uncle-in-law Uncle Jones’ tasty salad dressings. “I even flew to Australia to learn how to make dressings from Uncle Jones. While there, I realized that healthy food had already been a growing trend among Australians at that time. So, I came back to Thailand and applied what I had learnt from Australia,” Mr. Ariya continued.

 

Attention to Customers’ Voice, Focus on Quality, Promoting Engagement

Jones’ Salad opened its first outlet in 2012, around the time health trends started catching on in Thai society. In a bid to win Thai customers’ hearts, Mr. Ariya created Thai flavors of dressings such as seafood dressing and holy basil dressing.

 

“I want to present something that consumers can enjoy every day.  There are 15 dressing choices at Jones’ Salad today. While our signature dressings are always available, our new dressings may stay on or be cancelled. It depends on customers’ feedback,” Mr. Ariya explained.

At present, Jones’ Salad has 16 branches in Bangkok and adjacent provinces. Its target groups are city people who care about their health, control their calorie intake, and go to gyms regularly.

 

“The most important thing about a food brand is consistency. Every dish must have the same standard. To uphold the standard, we need to train our staff well and strictly procure chemical-free ingredients,” Mr. Ariya added.

 

In addition to listening to customers’ feedback, Jones’ Salad has also delivered health content and promotions to customers via its mascot and Facebook page.

 

“During the first two years, I did everything on my own to get close to customers,” Mr. Ariya revealed, “Via our social-media page, consumers can have Jones’ Salad experiences even though they have not yet come to our outlet. Facebook has raised our brand awareness and recognition. After consumers notice us on social media, there is a higher chance they will try our product if they see our outlet.”

 

Thinking Partner for Together Growth

“Many customers sent us a message on Facebook to inform us that they bought our products every day but felt guilty about all the plastic boxes that contained our salads/dressings. Because of their feedback, we reconsidered paper packaging – something we initially thought too expensive,” Mr. Ariya disclosed.

 

“After SCGP listened to our requirements, it has created very impressive packages for us. They are exactly what Jones’ Salad wants. Each box has the right height, with a cup to hold dressings.

Veggies still look nice in these boxes, which can also be stacked on top of each other. Such durable packaging is perfect for deliveries too. Most important of all, such packaging is friendly to the environment. After we switched to SCGP packaging, our customers are happy,” he continued.

 

“I am also happy because SCGP delivers really good services and solutions. We intend to seek SCGP support in the future, as we are looking for more types/sizes of packaging including round boxes,” Mr. Ariya concluded.

A good provider of packaging solutions must fully understand the needs of customers and keep improving to deliver increasingly better results, just like SCGP.

OptiSorbX : Innovative Packaging Preserves Tasty Food for You!

How good will it be if food taste prepared by manufacturers are well-preserved, with the help of packaging, till content reaches customers?

 

OptiSorbX by SCGP is here to provide the answer. Coming out of research and development process, it maintains the quality of fat-containing food items by reducing oxidation. Thanks to such innovation, the shelf life of foods extends. Packaged content will be slower in changing color or turning stale.

 

More effective in keeping out oxygen and vapor than normal packages, OptiSorbX is good for packaging dried and intermediate-moisture food such as baked items, nuts, dried fruits, cheeses, and smoked meat.

 

Both resellers and end-consumers will be able to keep foods longer, because OptiSorbX keeps the original taste, color, and flavors of packaged content for a relatively long time while inhibiting bacterial growth. COCO NEAT, a brand of our valued customer, has now embraced OptiSorbX to ensure its coconut products’ quality and deliciousness for consumers.

 

Note: Shelf-life extension varies, depending on types of content and storage conditions.

 

จาชชัว แพส : ทำเพิ่มวันละ 1 เปอร์เซ็นต์ มันก็ so excited! แล้ว

บทสัมภาษณ์ที่คุณกำลังจะได้อ่านจะทำให้คุณรู้จักดร.จาชซัว แพส Global Foodservice Packaging Head, SCGP ผู้บริหารรุ่นใหม่มากความสามารถคนนี้ดียิ่งขึ้น เพราะทั้งประสบการณ์ แนวคิดในการทำงานรวมถึงมุมมองการใช้ชีวิตที่ถูกสะท้อนผ่านทุกตัวอักษรในทุกบรรกัดต่อจากนี้ เราบอกเลยว่า “ไม่ธรรมดา” ยิ่งถ้าได้ลองเอาแนวคิดต่าง ๆ ไปปรับใช้ แม้ผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงจะน้อยนิดเพียงแค่วันละ1 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยตัวเลขเท่านี้นี่แหละ ก็ช่วยให้ชีวิตพัฒนาขึ้นอย่าง So Excited แล้ว!

ลงทุนในประสบการณ์

พี่จาชเริ่มต้นเล่าย้อนกลับไปสมัยยังเรียนมหาวิทยาลัยว่าด้วยความที่เติบโตและใช้ชีวิตที่ต่างประเทศวัฒนธรรม การเรียนหนังสือคู่ขนานไปกับการทำงานจึงเป็นวิถีปกติ ก่อนจะเริ่มต้นทำงานบริษัทในเวลาต่อมา

 

หนึ่งในสองบริษัทที่พี่จาชเคยทำงานและอดเล่าให้ฟังไม่ได้คือ บริษัทเครื่องเสียงระดับโลกอย่าง Bose Corporation ที่บอสตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งเปิดโอกาสให้เขาได้ทำงานครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่งานดีไซน์ไปจนถึงงานผลิต ส่วนอีกหนึ่งบริษัทที่คงไม่พูดถึงไม่ได้ คือ Intel แห่งซิลิคอนวัลเลย์ ที่นี่เขาได้ฝึกฝนการวิเคราะห์ด้าน Data Analytics และกลยุทธ์ด้าน Supply Chain อย่างเต็มขั้น ก่อนจะบินลัดฟ้ากลับมาที่ประเทศไทยหลังจากการทำงาน 16 ปี ที่สหรัฐอเมริกา เพื่อเริ่มต้นทำงานที่เอสซีจีในปี 2013 ด้วยประสบการณ์เต็มถัง

 

“มาถึงพี่ก็ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่อง Digital Transformation พี่เลยมีโอกาสได้ร่วมก่อตั้งและรับหน้าที่ CDO (Chief Digital Officer) แต่ที่คุ้นหูและคนรู้จักเยอะ น่าจะเป็น AddVentures ซึ่งเป็นงานที่ดูแลเรื่องการลงทุนและการเงินพร้อมกันของเอสซีจี ถือเป็นโอกาสดีเพราะได้ทำงานกับ ZERO TO ONE ซึ่งเป็น Startup Studio คนทุก BU สุดท้ายเมื่อสิ้นปีที่แล้ว ก็กลับมาที่ SCGP ในตำแหน่ง Global Foodservice

Packaging Head”

 

Understand the mode

พี่จาชเริ่มต้นในเรื่องนี้ว่า ความเข้าใจและการผสมผสานโหมดการทำงานให้ดี เป็นเรื่องที่จำเป็น “ถ้าอยู่ในโหมด Execution ทุกอย่างจะต้องเป๊ะ เพราะตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันยังมีอีกโหมดที่เรียกว่า Exploration โหมดนี้ผลที่ได้อาจไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เน้น Improvement และ Test-and-Learn ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้”

 

การจัดทีมก็จะจัดแบ่งเป็นทีมเล็ก ๆ หลาย ๆ ทีม ให้มีความคล่องตัว แต่ละทีมจะมีความหลากหลาย ทั้งเพศ วัย และความเชี่ยวชาญ ยิ่งหลากหลายยิ่งดี พอมารวมตัวกันจะเกิดบรรยากาศการทำงานที่ดี เพราะทุกคนอยากฟังว่าคนอื่นจะแชร์อะไรและสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกันในการวัดผล พี่จาชเน้นไปที่เรื่อง OKRs

(Objectives & Key Results) ด้วย อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ใช้ KPI วัดผลทั้งระยะสั้นและยาว ในระยะยาวรู้ว่าปีนี้ต้องทำอะไร ไตรมาสนี้จะทำอะไร จากนั้นแผนระยะสั้นจะรู้ว่าในแต่ละสัปดาห์ ทำได้ตรงตามที่วางแผนไว้หรือไม่

 

“สุดท้ายคือการจัดการ Project Management สำคัญมาก จะเป็นโปรเจกต์หรือเป็นโปรแกรมก็ว่าไป อันที่จริงเรื่องต่าง ๆ มันไม่ได้ซับซ้อน แค่สื่อสารกันให้มาก ๆ ส่วนอีกเรื่องที่อยากจะเน้นคือ การร่วมมือกัน หลักการง่าย ๆ คือ ถ้าเรื่องไหนเราเก่งเราก็ทำ เรื่องไหนเราไม่เก่งก็ให้คนที่เก่งกว่าเข้ามาช่วย”

 

Grow the top line

นอกจากเรื่องแนวคิดในการทำงานที่ผ่านมาแล้ว Merger and Partnership (M&P) เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราชวนพี่จาชคุยนอกจากธุรกิจ สิ่งที่ได้รับจากการ M&P คือวัฒนธรรมและพฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่าง ไปจนถึงบางเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ แต่พี่จาชก็ยังมองว่าเป็นความท้าทายที่ดี

 

“การ M&P คือการที่เรามองเขาเป็นพาร์ตเนอร์ที่ต้องร่วมมือกัน ไม่ได้มองว่าเราไปซื้อเขา ฉะนั้นการมองว่าเขาเก่งในสิ่งที่เขาทำ เป็นเรื่องที่ถูกต้องเขาเก่งเรื่องไหนให้เขาทำไป ส่วนเราเติมเรื่องไหนได้ก็เติมเข้าไป เพราะเป้าหมายของ M&P คือการ Grow the top line ต้องให้ความสำคัญกับ Integration และ Synergy Project มีหลายเรื่องที่ตอนนี้ไทยทำได้ หรือถ้าอยากจะลองไปฝั่งยุโรปกับอเมริกาก็ลองได้ หรือบางอย่างที่เราไปเห็นมา และอยากเอามาทำที่ไทยเราก็ทำได้ แนวคิดนี้ใช้ได้กับทุกหน่วยงานของเราเลยนะ”

 

แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การทำความเข้าใจและเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับภูมิภาคนั้น ๆ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค พี่จาชขยายความ

 

“พี่ได้โจทย์มาให้ดูทางยุโรปกับอเมริกา ซึ่งผู้บริโภคมีพฤติกรรมหลายอย่างที่ไม่เหมือนคนไทยบางอย่างอาจนำมาประยุกต์ใช้ที่ไทยได้ในขณะที่บางอย่างต้องแยกกัน โดยรวมแล้วพี่ว่า Very excited เขาช่วยเราบ้าง เราช่วยเขาบ้าง คงจะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน”

 

SCGP ทุกคนเป็นฟันเฟืองที่สำคัญ

ก่อนจะจบบทสนทนาในครั้งนี้ เราอดที่จะถามไม่ได้ถึงการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน SCGP ให้ก้าวไปได้ไกล เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน “เราต้องพยายามพัฒนาในเรื่องที่ตัวเองทำถือเป็นโจทย์เบอร์หนึ่งเลย เพราะทุกคนเป็นฟันเฟืองที่สำคัญ ฉะนั้น Do the Best You Can ส่วนสิ่งสุดท้ายถ้ามีได้จะดีมากนั่นคือ มีความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของธุรกิจหรือมีความคิดแบบผู้ประกอบการ ที่อยากฝากไว้คงมีเท่านี้ ที่เหลือ

ก็แค่ Have Fun และ Enjoy the Challenges!”

 

4 Ways to Improve Yourself

Read

ว่ากันว่าหนึ่งในวัตถุดิบที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งคนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เสพกันอยู่เป็นประจำคือ การอ่านพี่จาชก็เช่นกัน

“พี่เป็นคนที่ชอบอ่านบทความ บางครั้งก็อ่านแบบเชิงวิชาการบ้าง เพราะอะไรก็ตามที่อยู่ใน Area ของเรา

เราต้องรู้งว่าวงการที่เราอยู่มีอะไรเจ๋ง และอ่านอย่างอื่นด้วยเพื่อเปิดหูเปิดตา”

 

Mentor

นอกจากสารตั้งต้นอย่างหนังสือแล้ว การมี Mentor ที่ดีก็เป็นสิ่งจำเป็น “พี่มองว่าการมี Mentor นี่โคตรดี คือคน ๆ นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าก็ได้ อาจเป็นคนที่อยู่เลเวลเดียวกันหรือคนที่มีประสบการณ์มากกว่าคุณ หรืออาจเป็นรุ่นพี่ที่นับถือ แค่เดินไปพูดว่า ‘พี่ ผมขอกินข้าวกับพี่เดือนละครั้งได้ไหม?’ ง่ายมากเลยนะ อันนี้พี่ว่าดี”

 

Can-do

แต่ถ้าจะให้ดี คนทำงานยุคนี้ควรมีวิธีคิดแบบ Can-do “จะทำอะไรก็ยกมือเลย ผมขอทำอันนี้ครับ ผมอยากลองนั่นนี่ ‘What’s the worst that could happen?’ เชื่อเถอะว่าพี่ ๆ เขาไม่ยอมให้คุณ Fail กันแบบ
ระเบิดเถิดเถิงหรอก จะมีคนช่วยข้าง ๆ อยู่แล้ว”

 

Small change add up really fast

“มีคำพูดหนึ่งจากเจ้านายเก่าซึ่งพี่ชอบมาก ‘Small change add up really fast’ คิดง่าย ๆ ถ้าทำทุกอย่าง
ร้อยเปอร์เซ็นต์ทุกวัน ถึงวันหนึ่งเพิ่มเป้าหมายใหม่ นิดหนึ่งก็จะกลายเป็น 101 เปอร์เซ็นต์ หนึ่งเปอร์เซ็นต์นั้นจะเพิ่มขึ้นในทุกวัน และ 1 ปี มันจะกลายเป็น 38 เท่า”

SCGP และ Jones’ Salad ร่วมเสิร์ฟสุขภาพดี เพื่อทุกคนและสิ่งแวดล้อม

หลายคนอาจเริ่มคุ้นเคยกับมาสคอตคุณลุงหนวดหนาหน้าตาใจดีผูกผ้าพันคอสีเขียว ที่พบตามห้างสรรพสินค้าและคอมมูนิตี้มอลล์ต่าง ๆ รวมถึงจากคอนเทนต์สุขภาพที่ถูกแซร์ผ่านทางเฟซบุ๊กอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งมีที่มาจากร้านอาหารสุขภาพ โจนส์สลัด (Jones’ Salad) ของ คุณกล้อง – อาริยะ คำภิโล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ที่ใช้โอเดียธุรกิจสมัยใหม่ ใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักและสร้างความผูกพันกับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สร้างธุรกิจ เริ่มจากจุดเปลี่ยน

ย้อนกลับไปช่วงที่คุณกล้องเรียนจบได้ไม่นาน เขาตรวจพบก้อนเนื้อขนาดเท่าผลส้มซึ่งแพทย์แนะนำให้รีบผ่าตัด และโชคดีที่ก้อนเนื้อนั้นไม่ใช่เนื้อร้าย

 

“มันคือจุดเปลี่ยนให้ผมหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น แต่เมื่อ 8 – 9 ปี ที่แล้ว หาอาหารสุขภาพกินไม่ง่ายเหมือนตอนนี้ ผักที่สด สะอาด ปลอดสารเคมีจริง ๆ ยังหายาก จึงเป็นหนึ่งใน Pain Point เลยรู้สึกว่า

น่าจะมีคนเหมือนเราบ้าง คืออยากกินแต่หากินไม่ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้อยากทำร้าน

 

“จนแฟนไปเรียนต่อที่ออสเตรเลีย พักอยู่กับน้าสาวที่แต่งงานกับชาวออสเตรเลีย ชื่อน้าโจนส์ ซึ่งแฟนผมบอกว่าน้าโจนส์คนนี้ทำสลัดได้อร่อยมาก ผมก็บินไปออสเตรเลียให้น้าโจนส์สอนทำน้ำสลัด เพราะคิดว่าถ้าควบคุมคุณภาพของน้ำสลัดได้ เราก็คุมรสชาติจากที่เดียวได้ และยังได้ลองดูธุรกิจอาหารสุขภาพที่นั่นด้วย

ซึ่งตอนนั้นก็กำลังบูมมาก คิดว่าบางอย่างน่าจะเอามาปรับใช้กับเมืองไทยได้ เลยกลับมาเปิดร้านชื่อ โจนส์สลัด (Jones’ Salad)”

 

ใส่ใจเสียงลูกค้า รักษาคุณภาพ สร้างความผูกพัน

ปี 2012 ช่วงที่โจนส์สลัดเปิดสาขาแรก เทรนด์สุขภาพกำลังเป็นที่พูดถึงในเมืองไทย แต่คุณกล้องยังหวั่นใจอยู่บ้าง เนื่องจากร้านของเขาขายสลัดอย่างเดียว และลูกค้าส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคยนักเขาจึงเพิ่มทางเลือกด้วยรสชาติใหม่ ๆ ให้ถูกปากคนไทยมากขึ้น

 

“ผมก็พยายามทำการบ้านและครีเอทรสชาติที่ถูกปากคนไทยหน่อย เช่น น้ำสลัดซีฟู้ด น้ำสลัดกะเพรา ทำให้สามารถกินได้ทุกวันแล้วไม่เบื่อ ปัจจุบันน้ำสลัดเรามี 15 แบบ โดยรส Signature หรือรสต้นตำรับเราจะมีอยู่ตลอดส่วนที่คิดขึ้นใหม่ก็จะให้ลูกค้าลองชิมแล้วเก็บข้อมูล อันไหนที่ผลตอบรับไม่ดีก็เอาออก ผ่านมาเกือบ 9 ปี ตอนนี้เรามี 16 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เน้นเปิดสาขาในห้างสรรพสินค้า เพราะร้านเราเน้นไลฟ์สไตล์คนเมืองส่วนมาก เล่นฟิตเนสในห้าง แล้วขากลับก็ซื้อของเราไปกิน หรือพนักงานออฟฟิศที่กำลังคุมแคลอรี่ และกลุ่มคนรักสุขภาพ

 

“ผมมองว่าสิ่งสำคัญที่สุดของร้านอาหารคือ มาตรฐานที่ต้องเหมือนกันทุกจาน ซึ่งจะมีมาตรฐานได้ก็ต้องเริ่มจากการเทรนนิ่งพนักงาน ตอนที่เปิดแรก ๆ เราไม่เคยทำร้านอาหารมาก่อน ก็ได้รับ Complain อยู่เหมือนกันตอนนี้ผมเลยมาโฟกัสเรื่องการเซตหลักสูตร ทำเทรนนิ่งให้พนักงานทุกคนมีมาตรฐานเดียวกัน ส่วนวัตถุดิบเราน้นที่ความปลอดภัย ผักต้อง ปลอดสารพิษ”

 

นอกจากความเอาใจใส่ในรสชาติและคุณภาพอาหารแล้ว ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจของร้านโจนส์สลัดยังแตกต่างจากเพจร้านอาหารทั่วไป มีการนำเสนอคอนเทนต์เรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ตัวการ์ตูนลุงโจนส์ เป็นคนเล่าเรื่อง จนเป็นที่รู้จักของทุกคนแม้อาจจะยังไม่เคยมาชิมสลัดก็ตาม

 

“ใน 2 ปีแรกผมทำแบบสนุก ๆ ทำเองคนเดียวเลยครับ เขียนเอง ทำกราฟิกเองโพสต์ ตอบข้อความ ทำเองหมด เพราะอยากให้ความรู้จริง ๆ ไม่ได้คิดจะใช้เพื่อดึงลูกค้าเข้าร้านขนาดนั้น แต่พอทำไปทำมา เรารู้สึกว่ามันทำให้เรากับลูกค้าใกล้กันมากขึ้น

 

“จากปกติลูกค้าร้านอาหารจะได้ประสบการณ์จากการมารับประทานที่ร้าน พอมีเพจลูกค้าที่อาจไม่ได้มากินที่ร้านก็ยังเจอเราในออนไลน์ พอเปิดเจอบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ มันก็เกิดความผูกพัน เกิด Awareness จากตรงนี้ด้วยเหมือนกัน เวลาเปิดสาขาใหม่ คนเดินผ่านไปผ่านมาก็จำเราได้ อยากมาลองกินมากขึ้น เพราะคุ้นเคยจากสื่อออนไลน์อยู่แล้ว”

 

เพื่อนคู่คิด ช่วยเติมเต็ม เติบโตไปด้วยกัน

“หลังจากเปิดร้านมีลูกค้าส่งข้อความมาในเพจเยอะมากเลยครับ ว่ากินของเราทุกวันแต่รู้สึกผิดมาก เพราะกล่องพลาสติกเต็มบ้านเลย ตัวเราเป็นแบรนด์สุขภาพ เลยเป็นจุดที่ทำให้เราต้องคิดเรื่องบรรจุภัณฑ์กระดาษอีกครั้ง หลังจากที่เราเคยคิดจะใช้ และคิดว่าราคาสูงเกินไป

 

“SCGP เข้ามาคุยถึงความต้องการของเรา แล้วกลับไปออกแบบมาให้ดู ซึ่งสินค้าออกมาดีมาก ได้ตามที่เราต้องการเป๊ะเลย ความสูงพอดี มีถ้วยใส่น้ำสลัดวางผักแล้วฟูไม่ทับกันจนไม่น่ากิน สัมผัสกับอาหารแล้วไม่ยวบ สะดวกและยังดีไซน์ให้สามารถวางซ้อนกันได้ โดยไม่เคลื่อนหล่นง่าย แข็งแรงเหมาะกับการเดลิเวอรี่มากเลยครับ เราเลยรู้สึกว่าได้ทั้งช่วยโลกด้วย และได้บรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้าเราแฮ็ปปี้ด้วย

 

“SCGP มีบริการดี มีโซลูชันมาช่วยแก้ปัญหาให้เราได้ ผมแฮ็ปปี้มากครับ ในอนาคตเรายังอยากให้ SCGP ซัพพอร์ตเพิ่มขึ้นในเรื่องรูปทรงกล่อง จริง ๆ เรายังต้องการกล่องอีกหลายแบบเลยครับ โดยเฉพาะกล่องทรงกลม ต้องการอีกหลายขนาดเลยครับ”

 

การเป็นโซลูชันที่ดี ไม่เพียงแต่นำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์การใช้งาน แต่ยังเป็นความเข้าใจและใส่ใจในความต้องการทุกมิติ และต้องมีความต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อไปให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน

 

รับชมวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/g42jWBsztEE

 

โครงการรวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ  

“รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” 

 

62 องค์กรผนึกกำลังเปิดโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภครักสิ่งแวดล้อมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อให้ทรัพยากรได้หมุนเวียนนำกลับไปใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) พร้อมกับการช่วยเหลือสังคมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยการเปิดจุดรับกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ส่งมอบให้แก่ผู้รับการสนับสนุนทั่วประเทศ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” ที่จุดรับกล่องกระดาษเหลือใช้ใกล้บ้านท่าน

  • ไปรษณีย์ไทย ทุกสาขา *ยกเว้น อีเอ็มเอสพอยท์ และร้านรับรวบรวม
  • เอสซีจี เอ็กเพรส ทุกสาขา
  • โลตัส ทุกสาขา *ยกเว้น เอ็กเพรส โกเฟรช และตลาด
  • ท็อปส์ มาร์เก็ต สาขา แฟชั่นไอส์แลนด์ พระราม 2 พระราม 3 พระราม 9 บางรัก โรบินสันลาดกระบัง บางแค ศรีนครินทร์ 101 เดอะเทิร์ดเพลส เพลินนารี่ อมอรินี่ ดอนเมือง ลาดหญ้า อินเด็กซ์บางนา เอสพลานาด อ่อนนุช สีลมคอมเพล็กซ์ สุพรีม เซ็นจูลี่พลาซ่า ปิ่นเกล้า รามอินทรา ทองหล่อ นวมินทร์ นางลิ้นจี่ ดิ เอ็กซ์เพลส์ มาร์เก็ตเพลสดุสิต ออลซีซัน สีลม ไอเพลส เดอะแจสวังหิน อาร์ซีเอ ประชานิเวศ ลาดกระบัง สุขาภิบาล 3 เบลลาแกรนด์ สุขุมวิท 41 มาบุญครอง มาร์เก็ต เพลส นวมินทร์ อุดมสุข ธัญญาพาร์ค รามคำแหง เอ็มไพร์ เซนต์หลุยส์ หนองจอก สาทร พรานนก พุทธมณฑล เดอะแจส ศรีนครินทร์ สายไหม ตลิ่งชัน สุขุมวิท แจ้งวัฒนะ เวสต์เกต 1 เวสต์เกต 2 รัตนาธิเบศร์ ชัยพฤกษ์ อินเด็กซ์ ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ เดอะวอล์ค ราชพฤกษ์ งามวงศ์วาน ศรีสมาน บีไฮฟ์
  • เซ็นทรัลพลาซา สาขา เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลวิลเลจ ชิดลม รังสิต รามอินทรา ศาลายา รัตนาธิเบศร์ บางนา เวสต์เกต อีสต์วิลล์ แจ้งวัฒนะ ปิ่นเกล้า ลาดพร้าว มหาชัย พระราม 2 พระราม 3 พระราม 9 หาดใหญ่ เชียงใหม่ เชียงใหม่แอร์พอร์ต พัทยา มารีนา ระยอง อุดร ขอนแก่น ชลบุรี โคราช
  • โรบินสัน สาขา แฟชั่นไอส์แลนด์ รัตนาธิเบศร์ ซีคอนสแควร์ มหาชัย พระราม 9 บางรัก บางแค ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต  ศรีสมาน ลาดกระบัง สมุทรปราการ
  • บีทูเอส สาขา เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว เซ็นทรัลชิดลม เซ็นทรัลพระราม 2 เซ็นทรัลพระราม 3 โรบินสันรังสิต เซ็นทรัลรังสิต เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เซ็นทรัลบางนา ซีพีเอ็น พระราม 9
  • เพาเวอร์บาย สาขา เซ็นทรัลเวิดล์ ชิดลม ลาดพร้าว ปิ่นเกล้า เวสต์เกต เมกะบางนา พระราม 2
  • ซูเปอร์สปอร์ต สาขา เซ็นทรัลเวิลด์ ลาดพร้าว เวสต์เกต พระราม 9
  • ไทวัสดุ สาขา สุขาภิบาล 3
  • ออฟฟิศเมท สาขา อาร์ซีเอ
  • สยามพารากอน
  • สยามเซ็นเตอร์
  • สยามดิสคัฟเวอรี่
  • ไอคอนสยาม
  • สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพฯ
  • เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชั้น G หน้าลิฟท์หมายเลข 17-19
  • พาราไดซ์ พาร์ค ชั้น 1 หน้าเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์
  • พาราไดซ์เพลซ ชั้น 2 ใกล้ทางเชื่อมเข้าอาคาร
  • เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ชั้น 1 ลานไนน์ สแควร์
  • คอสโม บาซาร์ เมืองทองธานี
  • แปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา
  • ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต และสเปลล์
  • อยุธยา ซิตี้พาร์ค
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

62 องค์กร ผนึกกำลังเปิดโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” ณรงค์ให้ผู้บริโภครักสิ่งแวดล้อมพร้อมกับการช่วยเหลือสังคม

62 องค์กร ผนึกกำลังร่วมส่งต่อกล่องกระดาษเหลือใช้

เพื่อรีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี

 

62 องค์กรผนึกกำลังเปิดโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภครักสิ่งแวดล้อมและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ด้วยการแยกกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อให้ทรัพยากรได้หมุนเวียนนำกลับไปใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) พร้อมกับการช่วยเหลือสังคมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ด้วยการเปิดจุดรับกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ส่งมอบให้แก่ผู้รับการสนับสนุนทั่วประเทศ

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับการประสานงานความร่วมมือกับ 62 องค์กร จัดทำโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เพื่อร่วมกันรณรงค์ให้ผู้บริโภคใส่ใจในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้และจัดการกับวัสดุประเภทกระดาษที่เหลือใช้ เพื่อหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่อย่างมีคุณค่า ซึ่งรวมถึงการนำมารีไซเคิลเป็น “เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” นวัตกรรมการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อสังคม ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด 19 และสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยจะรวบรวมกระดาษตั้งแต่ 28 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคมนี้

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด 19 ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนเตียงผู้ป่วย นำมาสู่การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดความต้องการเตียงสนามอีกเป็นจำนวนมากเพื่อรองรับผู้ป่วย SCGP จึงได้ออกแบบเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” ที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล 100% มีน้ำหนักเบาเพียง 14 กิโลกรัม ประกอบและติดตั้งได้สะดวกรวดเร็ว รองรับน้ำหนักในแนวราบได้ 100 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามจากความต้องการเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพีที่มีอย่างต่อเนื่อง จึงนำมาสู่ความร่วมมือกับ 62 องค์กร เพื่อเปิดจุดรับกล่องกระดาษที่เหลือใช้ นำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี”

สำหรับประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในโครงการนี้ สามารถส่งมอบกล่องกระดาษเหลือใช้ เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ณ จุดรับกระดาษสาธารณะ โดย SCGP จะรวบรวมกลับมายังโรงงานเพื่อนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ส่งมอบให้แก่ผู้รับการสนับสนุนต่อไป

“SCGP ขอขอบคุณพลังความร่วมมือจากทุกองค์กรและประชาชนทุกท่านที่ให้การสนับสนุนโครงการ “รวมใจสู้โควิด เปลี่ยนกระดาษเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” เพื่อร่วมกันช่วยเหลือให้คนไทยก้าวผ่านความท้าทายครั้งนี้ไปด้วยกัน มากไปกว่านั้นคือเพื่อร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด” นายวิชาญ กล่าว ทั้งนี้ องค์กรทั้ง 62 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 1.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.กรีนสตาร์ 3.กรุงเทพมหานคร 4.คาร์นิวาล ซัพพลาย 5.แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) 6.ฉายา พิกเจอร์ 7.ชิปป๊อป 8.ชีวาทัย 9.ซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์ 10.เซ็นทรัล รีเทล 11.เซ็นทรัลพัฒนา 12.เซ็ปเป้ 13.โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล 14.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 15.โตโยต้าบางกอก 16.ที.บี.ที. คอร์เปอเรชั่น 17.ไทยพีเจ้น 18.ไทยฟูจิพลาสติก 19.ไทยสพิริท 20.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 21.ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย 22.บอสสาร์ด (ประเทศไทย) 23.ไปรษณีย์ไทย 24.พานาโซนิค (ประเทศไทย) 25.พีทีจี เอ็นเนอยี 26.เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล 27.แพรคติก้า 28.ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) 29.มูราคามิ แอมพาส (ประเทศไทย) 30.เมืองไทยประกันชีวิต 31.โยโกฮามา รับเบอร์ (ประเทศไทย) 32.โรงพยาบาลสงฆ์ 33.โลตัส 34.วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล 35.ศูนย์การค้าคอสโม บาซาร์ เมืองทองธานี 36.ศูนย์การค้าแปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา 37.ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ 38.ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค 39.สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) 40.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโดยสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม 41.สยามเซ็นเตอร์ 42.สยามดิสคัฟเวอรี่ 43.สยามพรีเมี่ยมเอาท์เล็ต กรุงเทพฯ 44.สยามพารากอน 45.สยามพิวรรธน์ 46.สยามมิชลิน 47.สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช 48.แสนสิริ 49.อาหารยอดคุณ 50.อินโนเว็ก โฮลดิ้ง 51.อีโค่ไลฟ์ 52.อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 53.เอ็น.ซี เฮ้าส์ซิ่ง 54.เอ็นทีเอ็น แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) 55.เอสซีจี 56.เอสซีจี เอ็กซ์เพรส 57.เอสซีจีพี 58.แอมเวย์ 59.แอล บี เอส แลบบอเรตอรี่ 60.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ 61.ไอคอนสยาม และ 62.ไฮ-เทค พรีซิชั่น โมลด์ (ไทยแลนด์)

Flairosol, a refillable spray package that delivers very fine mist without making more waste

Generally, spray packages are divided into two types; the pressurized package that provides fine mist but is a singleused container and the pumping package which can be refilled but the mist is not as delicate as that of the first one.

Therefore, SCGP introduces Flairosol, an exclusive agent by Conimex. This spray package responds to the need for a spray bottle that is reusable, welldesigned, userfriendly and environmentally friendly and, at the same time, delivers an ultrafine mist.

Flairosol, an exclusive agent by Conimex, is an innovative spray package. This refill container is convenient and easy to use, giving highquality mist that can spread evenly on various types of surfaces across a wide range of applications: for household use, personal care, pet care, plant care, and car care etc.

  • The spray dispenser is unique and different. Its nonpressurized container gives the finest nano mist and is reusable, helping to reduce resource consumption.
  • It delivers continuous and consistent fine mist that covers the surface evenly, with liquid output of 1.20 cc (+/- 0.20 cc) per one spraying at the duration of 1.05 seconds +/- 0.2 seconds.
  • It is easy to usesimply turn the spray nozzle open and refill the solution. No battery or charger is needed.
  • It can contain several kinds of liquid such as mineral water, air or fabric freshener, liquid cleaner, including alcoholcontaining liquid, but it is not suitable for a solution with highconcentration of oil.
  • It is safe. Because of its nonpressurized container, there are no propellant gases that can be easily flammable if leaked.
  • There are two sizes for selection: 160ml and 300ml. suitable for a variety of applications.