SCGP Newsroom

แสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ : มุมมองความคิด เพื่อก้าวสู่การเติบโตที่ยั่งยืน

บนเส้นทางแห่งประสบการณ์กว่า 30 ปี

ตั้งแต่เรียนจบเมื่อปี 2530 พี่แสงเริ่มต้นชีวิตการทำงานกับบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด (โรงงานบ้านโป่ง) ในตำแหน่งวิศวกรทางด้านงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อมาได้รับมอบหมายดูแลงานด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อม รวมเวลาที่อยู่โรงงานบ้านโป่งทั้งหมด 15 ปี ก่อนจะย้ายไปดูแลงานด้านการผลิตที่โรงงานวังศาลาเมื่อปี 2546 หลังจากนั้นกลับมาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงงานบ้านโป่งและวังศาลาตามลำดับ จนกระทั่งปี 2556 ได้ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศเป็นครั้งแรก

 

“พี่ย้ายไปประจำที่ Vina Kraft Paper Co., Ltd. ประเทศเวียดนาม ตอนนั้นเวียดนามมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมาก อยู่ที่นั่นได้ 3 ปี จึงตัดสินใจขยายกำลังการผลิต เพิ่มเครื่องผลิตกระดาษเครื่องที่ 2 โดยใช้เทคโนโลยีผสมผสานของยุโรปกับจีนเป็นครั้งแรก ซึ่งโครงการสำเร็จลุล่วงเร็วกว่ากำหนดไว้ถึง 5 เดือน จากนั้นในปี 2561 กลับมาดูแลงานในประเทศไทย เป็นประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการกระดาษบรรจุภัณฑ์ SCGP จนถึงตอนนี้ครับ”

 

 

4 แนวทางพื้นฐานการทำงานเป็นทีม

 

30 กว่าปีที่ผ่านมา งานเริ่มแรกของพี่แสงคือ การดูแลหน้างานต่าง ๆ เน้นเรื่องการบริหารจัดการประสิทธิภาพการผลิตเฉพาะพื้นที่ เมื่อเปลี่ยนมาสวมบทบาทเป็นผู้บริหาร วิธีการทำงานจึงเปลี่ยนเป็นการดูภาพรวมทั้งหมดเพื่อให้ทุกหน่วยงานทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

 

“งานหลักของพี่คือ การบริหารงานและการประสานงานระหว่างบริษัทที่ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ของ SCGP ในประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ให้ดำเนินงานกันแบบ Synergy เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท โดยแนวทางที่พี่ใช้มาตลอดคือ

 

1. Teamwork – การทำงานร่วมกันเป็นทีม ต้องมีการพูดคุยและนำเสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง และนำทั้งหมดมาประมวลผลจนได้ข้อสรุปซึ่งดีและรวดเร็วกว่าการคิดและทำคนเดียว

2. Common Goal – การยึดเป้าหมายร่วมกัน และมองภาพงานแบบองค์รวม (Holistic Viewpoint จะช่วยให้ทำงานร่วมกันในลักษณะที่เป็น Collaboration และ Synergy เพื่อประโยชน์สูงสุดและเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ได้ง่ายขึ้น

3. Cheer Up – ส่งสริม สนับสนุน และให้คำปรึกษาเพื่อให้งานดำเนินจนถึงเป้าหมาย และจัด Small Win เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและชมเชยทีมงานเมื่อสำเร็จตามเป้าหมาย

4. Challenge – การสร้างความท้าทายให้ทีมได้คิดและทำสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ

 

การดูแลทีมในช่วงโควิดนี้ โอกาสมาเจอกันจะน้อยลง บริษัทช่วยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานให้ทีมสามารถทำงานแบบออนไลน์ เพื่อให้งานทุกอย่างสามารถเดินต่อไปได้โดยเกิดอุปสรรคน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการลงทุนที่ยั่งยืน

 

SCGP ดำเนินงานภายใต้แนวคิด ESG เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน โดยนำเอาประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนพื้นฐานมาเป็นตัวกำหนดทิศทาง และปรับสมดุลให้เกิดขึ้น ซึ่งพี่แสงได้ถ่ายทอดแนวคิดและการนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้าใจมากขึ้น

 

“เราต้องสร้างความสมดุลภายใต้แนวคิด ESG ใน 3 มิติ คือ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) ในมิติด้านสิ่งแวดล้อม เราต้องทำให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อากาศ หรือของเหลือใช้จากกระบวนการผลิต ต้องบริหารการใช้งานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

“มิติด้านสังคม เราต้องดูแลทั้งลูกค้า คู่ค้า รวมไปถึงพนักงานและชุมชนใกล้เคียง เราต้องใส่ใจ พูดคุย แลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้เห็นถึงแนวทางที่จะทำงานร่วมกัน ต้องรู้ว่าจริง ๆ แล้ว ชุมชนต้องการพัฒนาเรื่องอะไร แล้วเอาสิ่งที่เราถนัดไปเสริมให้เกิดการพัฒนาตามความต้องการของชุมชน เช่น ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า ชุมชนมีสินค้าอยู่แล้ว เราเข้าไปช่วยหาช่องทางจัดจำหน่ายที่หลากหลายให้ สร้างรายได้แก่ชุมชน

 

“นอกจากนี้ เราดูแลโรงงานให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เพื่อการอยู่ร่วมกับชุมชนได้ดียิ่งขึ้น เหมือนกับเราอยู่บ้าน ก็ต้องสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน สิ่งเหล่านี้จะทำให้องค์กรสามารถเติบโตและพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน

 

“มิติสุดท้ายคือ การทำงานแบบบรรษัทภิบาล ที่ต้องบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและต่อยอดนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ด้านการพัฒนาสินค้าหรือปรับปรุงกระบวนการการผลิต เราก็ทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าของเราตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม เช่น บรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุสินค้าเกษตร ให้คงคุณภาพและความสุดของสินค้า”

 

หาความรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

“สำหรับพี่ หลักคิดในการพัฒนาตัวเองที่ใช้มาโดยตลอดคือ เราต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งจากอินเทอร์เน็ต ผู้มีประสบการณ์ หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อหามุมมองในด้านอื่นมาเสริม ช่วยปรับและเติมเต็มวิธีการทำงานของเราให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทุกวันหลังเลิกงานพี่จะทบทวนสิ่งที่เราทำไปในวันนี้ มีอะไรที่เราคิดว่าทำได้ดีและอะไรที่ยังพัฒนาได้อีกและเอามาปรับปรุงการทำงานในวันต่อ ๆ ไป จะทำให้เราพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดครับ”

 

การทำงานในปัจจุบัน Data Analytic และ Automation เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้งานสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

 

“ส่วนการทำงานให้มี Speed ที่รวดเร็วขึ้นควบคู่ไปกับคุณภาพที่ดี เราต้องใช้ Data มาวิเคราะห์โดยใช้หลักของ Automation เข้ามาเสริม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Machine Learning หรือ AI สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถต่อยอดการผลิตและบริการต่าง ๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันการนำนวัตกรรมเข้ามาเสริมจะช่วยให้เกิดสิ่งใหม่กว่าที่เคยทำ

 

“ท้ายสุดนี้ พี่ๆ ขอฝากพวกเราทุกคนให้ร่วมมือกัน ลงมือทำเป็นทีมอย่างเอาจริงเอาจังและต่อเนื่อง เพื่อให้งานทุกอย่างประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไปด้วยกันนะครับ”

“โปรเม” กับแรงบันดาลใจ…สร้างได้ ส่งต่อได้

เพราะแรงบันดาลใจคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการลงมือทำ ประกอบกับความมุ่งมั่นผลักดันให้ผลงานสำเร็จซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ และทุกเวลา

 

วันนี้เราขอหยิบยกตัวอย่างความสำเร็จของโปรเม – เอรียา จุฑาณุกาล โปรกอล์ฟหญิงไทยที่ก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 ของโลกได้สำเร็จด้วยวัยเพียง 21 ปี และล่าสุดคว้าแชมป์ Honda LPGA Thailand 2021 นับเป็นคนไทยคนแรกที่คว้าชัยชนะในรายการนี้ ซึ่งสนามนี้โปรเมเกือบคว้าแชมป์ LPGA ครั้งแรกในชีวิตในปี 2013 แต่พลาดในวันสุดท้าย ด้วยความมุ่งมั่นทำให้เธอกลับมาคว้าแชมป์สนามเดิมในปีนั้นได้ นี่คือบทพิสูจน์ความมุ่งมั่นต่อแรงบันดาลใจของโปรเม

 

Mindset ที่สร้างความสำเร็จ

นอกจากการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากครอบครัวและการมุ่งมั่นฝึกซ้อม ก็คือ Mindset ที่ดี เป้าหมายในการเล่นกอล์ฟของโปรเมเริ่มต้นจากการเล่นให้มีความสุข อยากดูแลครอบครัวให้ดีด้วยการเป็นนักกีฬาอาชีพ เธอมุ่งมั่นและจริงจังจนก้าวสู่การเป็นโปรกอล์ฟหญิงอันดับ 1 ของโลกในปี 2017 แต่เมื่อถึงเป้าหมายกลับพบว่าไม่ได้มีความสุขอย่างที่คิดแรงกดดันมากมายทำให้ผลงานของเธอไม่ดีเหมือนเดิม จนกระทั่งวันหนึ่งที่เธอได้นิยามคำว่า “เป้าหมาย” ของตัวเองใหม่ ระหว่างที่กลับไปเยี่ยมเด็ก ๆ ที่เธอให้การสนับสนุน เธอตั้งเป้าที่จะก่อตั้งมูลนิธิเพื่อสร้างบ้านให้กับเด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งสิ่งนี้เองโปรเมคิดว่าจะเป็นจริงได้หากเธอกลับมาเป็นมือ 1 ของโลกอีกครั้ง

 

กระทั่งกลางปี 2018 เธอทำสำเร็จเป็นครั้งที่สอง ซึ่งในครั้งนี้เธอมีความรู้สึกที่แตกต่างไปจากครั้งแรก โปรเมเล่าว่าการเป็นมือ 1 ของโลกในครั้งนี้คือ ความภูมิใจที่ได้ช่วยเด็ก ๆ อีกจำนวนมาก และคุณค่าของเป้าหมายครั้งนี้สำคัญมากพอสำหรับตัวเธอ

 

“เมรู้สึกว่าความหวังเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุก ๆ ครั้งที่เมลงไปเล่นแล้วหวังถึงผลลัพธ์ มันไม่เคยทำให้เมตีกอล์ฟได้ดีขึ้นหรือมีความสุขเลย แต่วันไหนที่เมโฟกัสกับตัวเองแล้วหวังว่าวันนี้จะทำอะไรให้ภูมิใจในตัวเอง และอยู่กับมันจริง ๆ ผลที่ตามมามักจะเกินกว่าที่เราหวังเสมอ

 

พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจ

 

กว่าจะเป็นโปรเมในวันนี้ เธอต้องพบเจอความท้าทาย อุปสรรค และความผิดหวังหลายต่อหลายครั้ง แต่สิ่งที่ช่วยให้เธอก้าวข้ามช่วงเวลานั้นมาได้คือ ทัศนคติในการใช้ชีวิตที่ดี เข้าใจธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลง วันนี้มีความสุข พรุ่งนี้อาจจะทุกข์ สิ่งเหล่านี้คือเรื่องปกติ มองปัญหาให้เป็นแบบทดสอบ ทำให้ชีวิตเข้มแข็งขึ้นและจัดการกับความคาดหวังของตัวเองให้ได้

 

เธอบอกกับตัวเองว่าความสำเร็จต้องเริ่มจากศูนย์ หากวันนี้จะต้องเริ่มจากศูนย์ใหม่ก็ไม่เป็นไร ไม่ว่าจะมีเรื่องแย่ ๆ เกิดขึ้นอีกกี่ครั้ง เธอจะมองให้เป็นเหตุและผลของชีวิตและสนุกไปกับทุก ๆ อย่างในวันที่รู้สึกท้อแท้ อยากยอมแพ้ ก็จะคิดถึงคุณค่าของเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ และเชื่อมั่นในตัวเองไม่เปรียบตัวเองกับคนอื่น เพราะจังหวะชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน

 

ความสำเร็จในระดับโลกของโปรมยังกลายเป็นแรงบันดาลใจให้นักกอล์ฟ เยาวชนหญิงรุ่นถัดมาอีกหลายต่อหลายคน หนึ่งในนั้นก็คือ โปรจีน – อาฒยา ฐิติกุล ที่เคยให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อกีฬาอย่าง “กอล์ฟ ชาแนล” เอาไว้เมื่อปี 2017 ว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เธอไม่ย่อท้อต่อการฝึกอย่างหนักคือ การได้รู้จักกับรุ่นพี่อย่างโปรเม และได้รู้ว่าความสำเร็จที่ได้มานั้นไม่ง่ายเลย โปรรุ่นพี่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมามากมาย ครอบครัวต้องยอมขายทุกอย่าง เพื่อนำมาเป็นทุนสนับสนุนในการเล่นกอล์ฟ แม้จะมีช่วงเวลาที่ผิดหวังจนท้อบ้าง แต่เขาก็ไม่เคยถอย และสู้มาตลอดเพื่อครอบครัวจนประสบความสำเร็จอย่างวันนี้ โปรจีนจึงกลับมาบอกตัวเองว่า ในเมื่อครอบครัวเธอก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ไม่ต่างกัน ตัวเธอก็ต้องประสบความสำเร็จได้ และเป็นแรงผลักดันให้ขยันฝึกซ้อมอย่างตั้งใจและมีวินัยในตัวเอง เพื่อตอบแทนสิ่งที่พ่อแม่เหนื่อยและเสียสละทุกอย่างเพื่อเธอ ทุก ๆ ช็อตที่ตีในสนามเธอจะนึกถึงพ่อแม่เสมอ ซึ่งนี่เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างการส่งต่อ

แรงบันดาลใจของโปรเม ที่ทำให้ความสำเร็จครั้งใหม่เกิดขึ้นได้เสมอ

 

“ไม่มีใครเชื่อมั่นในตัวเรา แต่ก็มี SCG ที่เชื่อมั่นในตัวเรา ทำให้เรามีกำลังใจที่จะออกไปต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค เพราะนอกจากเราจะเชื่อมั่นในตัวเองแล้ว ยังมีคนที่เชื่อมั่นในตัวเรามากกว่าอีก ก็เป็นครอบครัว SCG มาตลอด และวันนี้ก็มี SCGP ที่มาเชื่อมั่นในตัวเราอีก ต้องขอบคุณมาก ๆ ค่ะ”

 

 

– เส้นทางความสำเร็จ –

  • ปี 2000     เมอายุ 5 ปี เริ่มหัดเล่นกอล์ฟ โดยมีพ่อแม่เป็นผู้ฝึกสอน
  • ปี 2003     อายุ 8 ปี คว้าอันดับ 2 รายการJunior World ที่สหรัฐอเมริกา
  • ปี 2012     เข้าสู่การเล่นกอล์ฟอาชีพเป็นครั้งแรก
  • ปี 2013     มีสปอนเซอร์สนับสนุนมากขึ้น และเริ่มสะสมเงินรางวัลจากการแข่งขันกอล์ฟจนเลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างที่ตั้งใจไว้ หลังจากนั้นไม่กี่เดือน เมบาดเจ็บขณะฝึกซ้อมจนหัวไหล่หลุด ทำให้ต้องใช้เวลาปรับวงสวิงเพื่อกลับมาลงสนามแข่งได้อีกครั้ง
  • ปี 2015     ไม่ผ่านการตัดตัวถึง 10 รายการติดกัน จนท้อถึงขั้นคิดเลิกเล่นกอล์ฟ
  • ปี 2016     ด้วยความมุ่งมั่น จนในที่สุดได้รับรางวัลผู้เล่น ยอดเยี่ยมแห่งปี (Rolex Player of the Year) และรางวัลผู้ทำงินรางวัลสูงสุดของ LPGA
  • ปี 2017     ก้าวสู่การเป็นนักกอล์ฟหญิงมือ 1 ของโลกเป็นครั้งแรก
  • ปี 2018     สร้างประวัติศาสตร์กวาดทุกรางวัลใหญ่ของกอล์ฟ LPGA Tour รางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปี (Rolex Player of the Year) รางวัลผู้ทำมินรางวัลสูงสุดของ LPGA และถ้วย Vare Trophy ในฐานะคนทำคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดของฤดูกาล
  • ปี 2019     เรื่องราวชีวิตของโปรเมและ โปรโม (พี่สาว) ถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ “โปรเม อัจฉริยะ/ต้อง/สร้าง” เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจ

 

ขอบคุณข้อมูล: www.thairath.co.th, www.msn.com, www.youtube.com

 

บริการด้วยใจ ให้มากกว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

วันนี้เรามีโอกาสได้มาพบกับทีมผู้รับผิดชอบในการจัดจำหน่าย Fest ทั้งทางออฟไลน์ผ่านหน้าร้าน Fest Shop และช่องทางออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ มาร่วมแชร์แนวคิดและวิธีการทำงานที่พวกเขาใช้มัดใจ

ลูกค้าและสามารถเพิ่มยอดขายบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย Fest ให้มากขึ้นแม้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

 

“พี่ดูแลงานขายหน้าร้าน Fest Shop ค่ะ ถือเป็นจุด Touch Point ของแบรนด์กับลูกค้าเลย เราต้องแนะนำสินค้าให้ตรงกับการใช้งานและสร้างความประทับใจแรกให้กับลูกค้าที่เข้ามาหา เพราะแค่ลูกค้าแวะมาที่ร้านก็เป็นโอกาสสร้างความรู้สึกดี ๆ ให้ลูกค้าได้แล้ว และเรายังมีโอกาสนำเสนอข้อมูลสินค้าให้ลูกค้าพิจารณา รับรู้ความต้องการของลูกค้าได้

 

“นอกจากงานขายเรายังสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเหมือนญาติมิตรด้วย ซึ่งการพูดคุยกับเขาทำให้รู้สถานการณ์ตลาดและความต้องการเชิงลึกของลูกค้าได้ งานบริการและ Service Mind ของทุกคนจึงสำคัญมาก ต้องอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเต็มที่ บางครั้งลูกค้ามาคนเดียวไม่สามารถขนของขึ้นรถได้ เร้ราก็จะช่วยขนของให้ลูกค้า เรื่องเหล่านี้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ลูกค้าจะสัมผัสได้ถึงความตั้งใจในการให้บริการ ลูกค้าบางรายซื้อของจนสนิทสนมกัน และทั้งหมดนี้เราทำด้วยรอยยิ้ม ด้วยใจบริการเมื่อลูกค้ารับรู้ถึงความจริงใจก็จะกลับมาเป็นลูกค้าเราอย่างต่อเนื่อง

 

“แนวคิดหรือ Mindset ที่ผลักดันให้เราตอบโจทย์ลูกค้าได้คือการบริการเกินความคาดหวังของลูกค้าด้วยความจริงใจ ให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ให้ความเป็นกันเองอย่างสุภาพในทุกสถานการณ์ดูแลลูกค้าทุกคนอย่างเท่าเทียม รับฟังลูกค้าให้มากกว่าพูด และตอบให้ชัดเจน ลูกค้าบ่นแปลว่าลูกค้ายังรักเรา ถึงมาบอกว่าอยากให้เราปรับปรุงอะไร จะได้ดีขึ้น ถ้าลูกค้าไม่รักหรือไม่อยากใช้สินค้าเราแล้ว เขาจะหายไปเลย”

 

จิรมณฑ์ ปีติอิทธิวัฒน์ (เป้)

Omni Channel Staff

 

 

 

 

 

 

 

“งานของบุ๊คจะอยู่ในออนไลน์เป็นหลักโดยมีช่องทางทั้ง Facebook, LINE Official และเว็บไซต์ ซึ่งจะได้คุยกับลูกค้าผ่านทางตัวอักษร มากกว่า จึงต้องใช้ความรอบคอบค่อนข้างมากเพื่อป้องกันการสื่อสารที่ผิดพลาด ต้องเลือกใช้คำให้เหมาะสมและพยายามทำให้เขารู้สึกให้ได้ว่าเรายินดีบริการ ตอบคำถามอย่างเป็นกันเองแต่สุภาพใส่ความสนุกสนานเข้าไปในงาน ซึ่งพี่ ๆ ก็เปิดโอกาสให้เราได้คั้นหาและทดลองความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา

 

“ในส่วนของเว็บไซต์ เราต้อง Balance ระหว่างหน้าตาเว็บไซต์ที่สวยงามและดึงดูดให้เข้าเยี่ยมชม กับความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพราะถ้าสวยมากโหลดช้าลูกค้าจะไม่รอ ถ้าขั้นตอนยุ่งยากหลายหน้า หลายคลิก ลูกค้าจะเลิกดู และต้องสังเกตคำถามที่ลูกค้าถามบ่อย เพื่อนำมาปรับปรุงในจุดนั้น และครั้งหน้าลูกค้าจะสั่งซื้อโดยไม่มีคำถาม

 

“ความท้าทายของงานนี้คือ เราต้องแข่งกับเวลาและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หากช้ำเราอาจเสียโอกาสในการขาย เราต้องเข้าใจลูกค้าและสถานการณ์ตลาด คิดโปรโมชันที่ทันสถานการณ์ เน้น Real Time Marketing ตอบสนองทันทีเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่าย โปรโมชัน ต้องหลากหลาย แต่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย สื่อต่าง ๆ ต้องดึงดูดลูกค้า ให้แวะเข้ามาที่ร้านหรือคลิกเข้าเว็บไซต์ของเราให้ได้ เพราะนั้นคือโอกาส

 

“นอกจากนี้ยังต้องมองหาความเป็นไปได้ในการพัฒนา เราจึงมีโจทย์ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา มีการทดลองทำอะไรเพิ่มเติมอยู่เสมอ และพี่ ๆ ก็เปิดโอกาสให้เรียนรู้จากการลงมือทำอยู่ตลอด

 

“การทำออนไลน์ช่วยให้เราได้ฟังเสียงลูกค้าได้จำนวนมาก ดังนั้นทุก ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นเราต้องใส่ใจให้มากเป็นพิเศษและไม่ปล่อยผ่านเพราะถือเป็นข้อมูลที่ดีในการนำไปปรับปรุงสินค้าและบริการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น”

 

 

สุธารา รักษา (บุ๊ค)

Omni Channel Executive

SCGP จับมือ PTG ส่งเสริมให้ผู้บริโภครักษาสิ่งแวดล้อม เปิดจุดรับเศษกระดาษและขวดพลาสติกเหลือใช้ ที่สถานีบริการน้ำมัน PT

SCGP จับมือ PTG ส่งเสริมให้ผู้บริโภครักษาสิ่งแวดล้อม

เปิดจุดรับเศษกระดาษและขวดพลาสติกเหลือใช้ ที่สถานีบริการน้ำมัน PT

 

SCGP โดย คุณกุลเชฏฐ์ ธาราจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน และ PTG โดย คุณสุวัชชัย พิทักษ์วงศาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอลิมปัส ออยล์ จำกัด ร่วมเป็นพันธมิตรส่งเสริมให้ผู้บริโภครักษาสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ใกล้ตัว ด้วยการคัดแยกเศษกระดาษและขวดพลาสติก PET เหลือใช้ นำมาส่งที่ SCGP reXycle Drop Point ในสถานีบริการน้ำมัน PT ใกล้บ้าน เพื่อส่งกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่ อีกทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการรีไซเคิลได้ด้วย เช่น เฟอร์นิเจอร์จากกระดาษรีไซเคิลที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง เสื้อผ้าใยสังเคราะห์จากขวด PET รีไซเคิล เป็นต้น

สามารถร่วมโครงการได้ที่สถานีบริการน้ำมัน PT ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีสาขานำร่อง 5 สาขา ได้แก่

  1. สาขา ถ.กาญจนาภิเษก กม.18
  2. สาขา หนองแขม ถ.เพชรเกษม 81
  3. สาขา ถ.จันทน์ 1
  4. สาขา คลองหลวง 4 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
  5. สาขา ประตูน้ำพระอินทร์ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

 

“ร่วมจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ช่วยให้ทรัพยากรได้หมุนเวียนใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)”

SCGP รุกตลาดวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เข้าซื้อหุ้นร้อยละ 85 ใน Deltalab, S.L. ประเทศสเปน

SCGP เดินหน้ากลยุทธ์การให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร ด้วยการขยายธุรกิจครั้งสำคัญเข้าสู่ตลาดวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Supplies and Labware) รับเทรนด์โลกที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับสุขอนามัยและการดูแลสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยลงนามสัญญาเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 85 ใน Deltalab, S.L. ประเทศสเปน ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ในยุโรป เพิ่มพอร์ตสินค้ามูลค่าสูง เสริมศักยภาพการให้บริการและ    การเติบโตของ SCGP ในระดับโลก

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า ปัจจุบันหนึ่งในเทรนด์ของโลกสำหรับผู้บริโภคคือความสนใจดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น และแนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลให้ความต้องการในการตรวจและวินิจฉัยโรคสูงขึ้นทั่วโลก เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและการแพทย์ จนกลายเป็นหนึ่งในเซ็กเมนต์ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 8.1 แสนล้านบาท) ในยุโรป และประมาณ 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 7-9 ต่อปี*

ตามแผนกลยุทธ์ของ SCGP ที่มุ่งเน้นการให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร ด้วยการขยายไปยังธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย และการมุ่งขยายในธุรกิจปลายน้ำ (Downstream) ให้เติบโตยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความเกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ สุขภาพและการแพทย์ SCGP จึงรุกเข้าสู่ตลาดวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง โดยการนำความรู้และความเชี่ยวชาญมาต่อยอด ด้วยการลงนามสัญญาเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 85 ใน Deltalab, S.L. (หรือ Deltalab) ประเทศสเปน ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยธุรกรรมจะเสร็จสิ้นประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2564

Deltalab, S.L. ตั้งอยู่ที่ประเทศสเปน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและจัดจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์คุณภาพสูงในยุโรป โดยมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 15,000 รายการ (SKUs) และมีกำลังการผลิต 250 ล้านชิ้นต่อปี ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ประกอบด้วย  ถ้วยเก็บตัวอย่างของเหลวจากร่างกาย หลอดสุญญากาศสำหรับถ่ายเทตัวอย่าง (Liquid containers and tubes for vacuum system) หลอดเก็บตัวอย่างเลือด (Traceable blood collection tube set for Haematology) หลอดขนาดเล็กสำหรับงานวิเคราะห์พันธุกรรม (Microtubes and flexible plates for real time PCR) หลอดปิเป็ตขนาดต่าง ๆ สำหรับถ่ายเท ตวง ของเหลว (Various types of pipettes for liquid handling) ตู้แช่แข็งเก็บวัคซีนและตัวอย่างทางพันธุกรรม (Cold (Cryogenic) storage system for vaccine and Molecular Biology) ชุดตรวจสวอบ (Swab test set) ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ในกลุ่มที่เน้นความปลอดภัยและสุขอนามัย (Hygine & Safety industrial packaging) เป็นต้น โดยมีการส่งออกสินค้าไปยัง 125 ประเทศทั่วโลก ในปี 2563 Deltalab, S.L. มีรายได้ 72.7 ล้านยูโร (ประมาณ 2,800 ล้านบาท) และมีทรัพย์สินรวม ณ สิ้นปี 2563 อยู่ที่ 54.3 ล้านยูโร (ประมาณ 2,100 ล้านบาท)

“การเข้าลงทุนในตลาดด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์นี้ นับเป็นก้าวที่สำคัญของ SCGP ในการนำศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ ตลอดจนการผลิตกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้อง มาต่อยอดสู่ธุรกิจด้านสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare and Medical Business) ทั้งความรู้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตที่คล้ายกัน การวิจัยและพัฒนาในระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ ฯลฯ ที่สามารถส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันใหม่ ๆ เพื่อรองรับการใช้งานของผู้บริโภคที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว”

“SCGP ดำเนินการตามกลยุทธ์ในการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรอย่างแข็งแกร่ง ด้วยการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาร่วมกัน เพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพิ่มฐานลูกค้าและผลิตภัณฑ์ของ SCGP และเพิ่มมูลค่าจากฐานลูกค้าร่วม รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการสู่ระดับโลก อันเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับแผนการขยายธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและการแพทย์ในทวีปเอเชีย ซึ่งจะช่วยสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนและสร้างมูลค่าเพิ่มของ SCGP ต่อไปในระยะยาว” นายวิชาญ กล่าวเพิ่ม

* ข้อมูลจาก LEK Consulting (ปี 201924F)

เฟสท์ เดลี่ (Fest Daily) บรรจุภัณฑ์กระดาษสีน้ำตาลรักษ์โลก สะอาด ปลอดภัย ผลิตจากเยื่อใหม่ 100%

เฟสท์ เดลี่ (Fest Daily) บรรจุภัณฑ์กระดาษสีน้ำตาลภายใต้แบรนด์บรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ ผลิตจากเยื่อใหม่ 100% จึงสะอาด ปลอดภัย สามารถสัมผัสอาหารได้โดยตรง และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะสามารถนำไปรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ ยังมีรูปทรงให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย ทั้งแบบกล่อง ถ้วยปากกว้าง และถาด จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย และยังใส่ใจในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

บรรจุภัณฑ์เฟสท์ เดลี่ มีคุณสมบัติครบครันตามแบบฉบับของบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติในการสัมผัสอาหารได้โดยตรง ทนน้ำ ทนน้ำมัน ไม่ละลาย สามารถนำไปบรรจุอาหารร้อนได้สูงสุดถึง 100 องศาเซลเซียส จึงเหมาะกับอาหารหลากหลายประเภท ทั้งอาหารไทยที่มีส่วนผสมของน้ำและน้ำมัน หรือขนมหวานและเบเกอรี่ ก็สามารถบรรจุได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องกลัวรั่วหรือปนเปื้อนสารเคมีใด ๆ มั่นใจได้ในความสะอาดและปลอดภัย

บรรจุภัณฑ์เฟสท์ เดลี่ ยังถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์การใช้งานที่ง่ายและสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นรูระบายไอน้ำที่ช่วยให้ไม่ต้องปาดฝากล่อง ขอบกล่องที่ปิดสนิท และเทคโนโลยีคลิกล็อก เพื่อลดการใช้หนังยางรัดกล่อง บรรจุภัณฑ์แข็งแรง และสามารถเรียงซ้อนได้อย่างดี เหมาะแก่การส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่อีกด้วย

นอกจากคุณสมบัติด้านการใช้งานที่หลากหลายและและปลอดภัยแล้ว บรรจุภัณฑ์เฟสท์ เดลี่ ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถนำกลับไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งได้ หากได้รับการจัดการขยะและคัดแยกอย่างเหมาะสม

บรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ วางจำหน่ายที่ร้านจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ทั่วประเทศ และ Fest Shop เอสซีจี สำนักงานใหญ่ บางซื่อ นอกจากนี้ สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ http://www.festforfood.com สั่งง่าย สะดวกสบาย พร้อมบริการส่งสินค้าถึงที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/fest, Line @festforfood หรือ Call Center 0-2586-1000

SCGP พัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค เปิดตัว OptiBreath® บรรจุภัณฑ์คงความสดใหม่ และ Odor LockTM บรรจุภัณฑ์เก็บกลิ่นอาหาร

SCGP วิจัยและพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารตอบสนองไลฟ์สไตล์ ช่วยแก้ไขปัญหาและเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้าและผู้บริโภค เปิดตัว OptiBreath® นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์จาก SCGP ที่ช่วยเก็บรักษาความสดใหม่ของผักและผลไม้ได้นานขึ้น และ Odor LockTM นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชนิดพิเศษ สามารถเก็บกลิ่นอาหารและผลไม้ ขจัดปัญหาการเกิดไอน้ำเมื่อต้องแช่ไว้ในตู้เย็น ต้อนรับเข้าสู่ฤดูกาลผลไม้

SCGP ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย ช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภค เพิ่มจุดขายให้แก่สินค้า  ตลอดจนช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารที่สามารถอุ่นในเตาไมโครเวฟโดยไม่ต้องตัด หรือเปิดถุงก่อนอุ่นอาหาร การพัฒนาฝาปิดภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่สามารถลอกออกได้ง่าย นับเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน

ล่าสุด SCGP ได้วิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารที่เป็นนวัตกรรมใหม่ออกสู่ตลาด เพื่อช่วยให้ลูกค้าและผู้บริโภคสามารถยืดระยะเวลาคงความสดใหม่ของผักและผลไม้ได้นานขึ้น โดยเปิดตัว OptiBreath® นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารจาก SCGP ที่ยืดอายุความสดใหม่ของผักและผลไม้ ด้วยหลักการควบคุมการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างภายในและภายนอกถุงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ช่วยลดการเกิดเชื้อจุลินทรีย์จึงสามารถคงคุณภาพสินค้า รักษาความสดใหม่ คุณค่าสารอาหารและสัมผัสรสชาติที่ดีเป็นระยะเวลานานขึ้น โดยสามารถคงความสดใหม่ให้แก่ผักเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 3-5 วัน และผลไม้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 7-11 วัน ช่วยลดต้นทุนในการจัดเก็บและเพิ่มโอกาสการขายสินค้าไปยังต่างจังหวัดหรือส่งออกต่างประเทศ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการจัดส่งมากกว่าปกติ

ขณะเดียวกันได้เปิดตัว Odor LockTM นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บกลิ่นอาหารหรือผลไม้ โดยผลิตจากพลาสติก
ชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันกลิ่นอาหารออกมารบกวน เช่น ทุเรียน น้ำพริก ปลาเค็ม เป็นต้น และช่วยแก้ไขปัญหาแก่ผู้บริโภคที่ต้องการจัดเก็บอาหารที่มีกลิ่นแรงไว้ภายในช่องเดียวกัน โดยมีให้เลือกทั้งแบบถุงซีล 3 ด้านและถุงจีบ สามารถปิดผนึกได้ง่ายด้วยความร้อน นอกจากนี้ยังได้รับการวิจัยและพัฒนาให้สามารถแช่เย็น หรือแช่ในน้ำแข็งได้โดยไม่มีปัญหาน้ำซึมผ่านเข้าไปในถุง สามารถแช่ในตู้เย็นได้โดยไม่เกิดไอน้ำภายในถุง จึงไม่สูญเสียรสชาติอาหาร

บรรจุภัณฑ์อาหารที่เป็นนวัตกรรมใหม่ทั้ง 2 รายการ สามารถแก้ปัญหาและเพิ่มประโยชน์การใช้งานของลูกค้าและผู้บริโภค โดยยืดระยะเวลาความสดใหม่ของผักและผลไม้ได้นานขึ้นและเก็บรักษากลิ่นอาหารไม่ให้รบกวน สามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบอาชีพจำหน่ายผัก ผลไม้ สามารถจัดส่งไปถึงผู้รับในพื้นที่ห่างไกลและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าได้เป็นอย่างดี สามารถสอบถามและติดต่อได้ที่โทร. 065-651-6953

เก็บกลิ่นกวนใจ เลือกใช้ Odor Lock

บรรจุภัณฑ์ต้านการปล่อยกลิ่น Odor Lock ผลิตจากพลาสติกชนิดพิเศษที่มีความต้านทานต่อการซึมผ่านของกลิ่นไม่พึงประสงค์ ป้องกันไม่ให้กลิ่นจากภายในบรรจุภัณฑ์ส่งผ่านออกมาภายนอก สามารถเก็บอาหารที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้อย่างดี เช่น ทุเรียน ปลาร้า ปลาเค็ม ปลาหมึกแห้ง กุ้งแห้ง หอมหัวแดง กระเทียม น้ำพริก กะปิ หอยดอง ปูเค็ม และอาหารสัตว์ เป็นต้น หมดกังวลเรื่องกลิ่นกวนใจ มั่นใจได้ว่าอาหารที่บรรจุภายในบรรจุภัณฑ์ Odor Lock จะไม่ส่งกลิ่นกวนใจในระหว่างขนส่งหรือเดินทาง นอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหาเรื่องการเก็บผลิตภัณฑ์หรืออาหารประเภทดังกล่าวร่วมกันแล้วส่งกลิ่นรบกวนจนไม่สามารถเก็บร่วมกันได้อีกด้วย

 

บรรจุภัณฑ์ต้านการปล่อยกลิ่น Odor Lock มีมาให้เลือกทั้งแบบถุงซีล 3 ด้าน (3 side seal) หรือแบบถุงจีบ จึงสามารถเลือกใช้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับความต้องการ สามารถปิดผนึกได้ง่ายด้วยความร้อนหรือ Heat Seal จึงหมดปัญหาความกังวลเรื่องความปลอดภัยจากการปนเปื้อนอีกด้วย นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ Odor Lock สำหรับขายทั่วไปยังมาในขนาดที่ใช้งานได้ง่าย คือ 23 x 45 x 12 ซม. บรรจุภัณฑ์ 1 ถุงสามารถบรรจุทุเรียนได้ 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 3-4 พู

บรรจุภัณฑ์ Odor Lock สามารถป้องกันกลิ่นทุเรียนไม่ให้ออกมานอกถุงได้อย่างมั่นใจ ทำให้สามารถซื้อทุเรียนแล้วหิ้วกลับบ้านได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นรบกวน นอกจากนี้ Odor Lock ยังช่วยคงความสดใหม่ของทุเรียนไม่ให้เสียรสชาติและรสสัมผัสในขณะจัดเก็บได้อีกด้วย

นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ Odor Lock ยังถูกออกแบบมาให้สามารถแช่เย็นหรือแช่ในน้ำแข็งได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาน้ำซึมผ่านถุง และสามารถนำเข้าเก็บในตู้เย็นได้โดยไม่มีไอน้ำเกาะ อาหารจึงยังน่ารับประทาน และไม่เสียรสชาติหรือรสสัมผัสที่เกิดจากไอน้ำจากการแช่เย็นอีกด้วย ทั้งนี้ ควรเปิดรับประทานภายใน 7 ชั่วโมง เพื่อรสชาติความอร่อยเหมือนเพิ่งซื้อมาใหม่ ๆ

 

สามารถสอบถามและสั่งซื้อติดต่อ 065-651-6953

INVESTOR RELATIONS สร้างความเชื่อมั่นด้วยบทบาท Factual Storytelling

จากการที่่เอสซีจี แพคเกจจิ้ง เตรียมความพร้อมเพื่อเสนอขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แน่นอนว่ารายละเอียดที่นักลงทุนรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการทราบ จำเป็นจะต้องถูกสื่อสารออกไปอย่างตอบโจทย์ นั่นคือจุดที่ทำให้ทีม Investor Relations (IR) เข้ามามีบทบาทสำคัญ a LOT เล่มนี้จึงชักชวน พี่โต้ง – วัชระ เอี่ยมสกุล Investor Relations Director ฝ้าย – วิกร พงศธร บี – ปนัดดา สุขพันธุ์ถาวร และ เปิ้ล – วิมลมาลย์ กฤษณะกลิน Investor Relations Associate Director มานั่งคุยกัน ทั้งสี่จะช่วยให้เรารู้จักกับหน่วยงานนี้ดียิ่งขึ้น

 

Investor Relations – บทบาทและความท้าทาย

ทีม IR เริ่มต้นเล่าว่า การเสนอขายหุ้น IPO ก็คือการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อนำเงินของนักลงทุนที่สนใจมาขยายธุรกิจให้เติบโตในอนาคต ซึ่งภารกิจหลักของทีม IR คือการสร้างความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญบนพื้นฐานการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน แก่นักลงทุน นักวิเคราะห์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่นข้อมูลด้านการดำเนินธุรกิจ ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และบริการความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ เป็นต้นเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน

ความท้าทายของทีมคือ การสร้างความเข้าใจกับคนภายนอก “IR เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างบุคคลภายนอกกับบริษัทฯ ซึ่งโจทย์ ที่สำคัญไม่เพียงแค่เราจะสื่อสารเรื่องราวของบริษัทให้คนภายนอกเข้าใจได้อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นคือ การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) นั่นทำให้ทีมต้องบาลานซ์ระหว่างคนในบริษัทกับบุคคลภายนอก เรารับฟังความคิดเห็นจากคนภายนอกและนำมาสะท้อนให้กับบริษัท เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ภายในบริษัทให้ดีขึ้นยิ่งขึ้น” บีเสริม

 

รู้จักบริษัท – เข้าใจนักลงทุน

ฝ้ายอธิบายกลยุทธ์ในการเล่าเรื่องให้น่าสนใจว่า ทีม IR นิยามวิธีการเล่าเรื่องให้บุคคลภายนอกรู้จักบริษัทเราว่าจะต้อง “เล่าให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย” เพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เล่าเรื่องให้น่าสนใจคืออะไร? “เหมือนเวลาเราไปตัดสูททุกตัวจะไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกัน เวลาที่เรา Customize ตัวกล่องให้กับลูกค้า ทุกกล่องทุกแบบก็จะไม่เหมือนกันแล้วแต่ความต้องการของลูกค้า”

ประเด็นเดียวกันนี้ เปิ้ลเสริมว่า “กลยุทธ์ในการสื่อสารกับบุคคลภายนอก ท้ายที่สุดแล้วจะสะท้อนให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท ทีม IR เป็นคนนำโจทย์ที่คนภายนอกอยากรู้มาหาคำตอบเพื่อสื่อสารกลับออกไปซึ่งเขาจะสามารถสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทได้”

 

ยืดหยุ่น รับทุกสถานการณ์

จากสถานการณ์ช่วงโควิด-19 แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานไปพอสมควร แต่ทีมมองข้ามอุปสรรคหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นและเดินหน้าต่อไปเพราะทุกคนสามารถทำงานได้ทุกที่ มีความยืดหยุ่นสูง และปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

บีแชร์เรื่องการปรับตัวว่า สิ่งสำคัญคือ Flexibility และ Teamwork รวมถึงเรื่องการสื่อสารสถานการณ์วิกฤติเข้ามาเป็นตัวเร่งให้ทุกอย่างเปลี่ยนการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์จึงกลายเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นอีกบ้าง

“ทุกคนต้องมี Dynamic และสามารถทำงานได้ทุกที่ เพราะปัจจุบันมีทั้งสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตที่ช่วยสร้างความสะดวก ความท้าทายคือเราพยายามปรับเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่น งานอีเว้นต์ใหญ่ ๆ ที่ยังไม่สามารถทำได้ ก็ปรับมาใช้รูปแบบ Virtual Meeting มากขึ้น” ฝ้ายเสริม

 

แตกต่างอย่างกลมกล่อม

“ความแตกต่าง เมื่อมารวมกันมันอร่อยกลมกล่อมขึ้น” พี่โต้งกล่าว นอกจากความรู้ความสามารถเฉพาะตัวของทุกคนในทีมจะเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานแล้ว คุณสมบัติที่แตกต่างกันของพวกเขายังเป็นตัวขับเคลื่อนให้ทีมทำงานได้อย่างราบรื่นอีกด้วย

บีเสริม “จุดเด่นของเราคือการ Open and Challenge หรือการเปิดใจ รวมถึง Positive Thinking ด้วย ไม่ใช่โลกสวยนะ แต่มองโลกตามความเป็นจริง ทั้งยังมีเรื่องของ Teamwork และ Handle with Care ที่ช่วยให้เราทำงานกันอย่างมีความสุข”

ฝ้ายเพิ่มเติมในเรื่องของคนว่า ลักษณะทั่วไปของคนที่ทีมมองหาต้องเป็นคนที่ Outgoing และยินดีที่จะ Engage คนใหม่ ๆ จุดสำคัญคือทีมต้องมี Diversity เพราะจะช่วยสร้าง Dynamic ที่ดี

“ทุกคนช่วยเสริมกัน เหมือนสร้างบ้านด้วยเลโก้ แต่ละชิ้นไม่เหมือนกันแต่พอมารวมกันมันกลายเป็นบ้านครับ” พี่โต้งปิดท้าย

PHOENIX LAVA ซาลาเปาแห่งการให้ ใส่ใจทุกประสบการณ์ของลูกค้า 1

จากเทรนด์ “ซาลาเปาลาวา” ที่เกิดขึ้นในฮ่องกง เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณปริญญ์ สุขสมิทธิ์ เจ้าของและผู้ก่อตั้งร้าน “Phoenix Lava” เกิดแนวคิดและแรงบันดาลใจที่จะทำซาลาเปาแบรนด์ของคนไทย และตั้งเป้าเปิดสาขาทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงขยายแฟรนไชส์ในภูมิภาคเอเชีย

 

ทำไมถึงต้อง Phoenix Lava

คุณปริญญ์ สุขสมิทธิ์ เริ่มต้นเล่าที่มาของซาลาเปา Phoenix Lava ด้วยการพาเราย้อนไปสมัยที่เขาและน้องชายยังทำงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น พวกเขาใช้เวลาว่างจากการทำงานปรับสูตรซาลาเปาร่วมกัน รวมถึงศึกษาตลาดของประเทศไทยไปพร้อมกัน

หลังจากศึกษาก็พบว่า คนส่วนใหญ่มักซื้อซาลาเปาไปเป็นของฝากเป็นของว่างในงานจัดประชุม เป็นชุด Snack Box สำหรับงานจัดเลี้ยง ฯลฯ ควบคู่ไปกับการลงพื้นที่สำรวจร้านซาลาเปากว่า 300 ร้านในกรุงเทพฯ ทำให้เขาตัดสินใจวางจุดยืนให้กับแบรนด์ด้วยการเป็น “ซาลาเปาแห่งการให้” ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Phoenix Lava” สื่อถึงการเปลี่ยนแปลงของวงการ ซาลาเปาด้วยนก Phoenix แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงและสิ่งใหม่ ๆ

“ผมโชคดีที่น้องชายและทีมมีความรู้ด้าน Food Science เราจึงเริ่มต้นจากการทำซาลาเปาลาวาก่อน ต่อมาก็ได้ทำติ่มซำเพิ่ม เพราะถือเป็นอาหารชุดเดียวกับซาลาเปา ก่อนที่จะพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นเช่น ซาลาเปาที่พร้อมอุ่นทานในไมโครเวฟ”

ปัจจุบันร้าน Phoenix Lava มีสาขาในประเทศ 7 สาขา แฟรนไชส์3 สาขา และในต่างประเทศอีก 2 สาขา ที่มาเก๊า ประเทศจีน

 

ใส่ใจในแพคเกจจิ้ง

นอกจากพิถีพิถันเรื่องการคัดเลือกวัตถุดิบเพื่อให้ได้รสชาติซาลาเปาที่ดีที่สุดแล้ว Phoenix Lava ยังให้ความสำคัญกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างเอกลักษณ์และการจดจำแบรนด์ด้วย ตั้งแต่การเลือกใช้สีเหลืองใช้กล่องที่มีขนาดความยาว 37.5 เซนติเมตรเพื่อให้ใส่ตู้เย็นได้พอดี ติดสติกเกอร์ระบุรสชาติซาลาเปาไว้ที่ด้านหลังซอง เรียกว่าใส่ใจในทุกรายละเอียดเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า

นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงการส่งมอบสินค้าและบริการ เพื่อคงคุณภาพสินค้าเช่นเดียวกับการมาซื้อที่หน้าร้าน โดยบริการส่งสินค้าจะเน้นความรวดเร็วและมีค่าบริการที่คุ้มค่าที่สุด

 

โควิด-19 ดันยอดพุ่ง

จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 สาขาของ Phoenix Lava ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าต้องปิดทำการไป 4 สาขา เพื่อปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ และเพื่อสร้างยอดขายให้กลับมา เขาจึงใช้วิธีเปิดสาขาขึ้นมาทดแทนด้วยการควบคุมต้นทุนอย่างเข้มงวด

ทางเลือกที่ได้คือการเช่าพื้นที่ในโซนที่ยังไม่มีสาขา และเช่าอาคารพาณิชย์ เพื่อทำเป็น Cloud Kitchen เพื่อกระตุ้นยอดขาย Delivery ซึ่งในปัจจุบัน Phoenix Lava มีสัดส่วน Delivery มากถึง 45 เปอร์เซ็นต์ การมีหน้าร้านในโลเกชั่นที่มีคนผ่านเยอะอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายอีกต่อไป เมื่อเทียบกับการมีหน้าร้านในทำเลที่ค่าเช่าพื้นที่ถูกลง สร้างยอดขายหน้าร้านได้ระดับหนึ่ง แต่สามารถ Delivery ให้ลูกค้าในโซนนั้น ๆ ได้อย่างกว้างขวางกว่า

เป้าหมายของการทำธุรกิจในปีนี้ คือ การช่วยให้ลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลสามารถสั่งซื้อ Phoenix Lava ด้วยค่าส่งเพียง 10 บาท และขยายจุดส่งที่เป็น Cloud Kitchen เพิ่มขึ้น ก่อนที่ในปี 2564 จะขยายแฟรนไชส์ออกไปยังจังหวัดต่าง ๆ เช่น ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เป็นต้น

 

EzySteam™ อีกหนึ่งความใส่ใจ เพื่อแก้ไข Pain Point

คุณปริญญ์เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ร่วมกับเอสซีจี แพคเกจจิ้งว่าเขาและทีมวิจัยของเอสซีจี แพคเกจจิ้งมีแนวคิดที่ตรงกัน คือต้องการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้า โจทย์แรกคือการทำถุงบรรจุซาลาเปาเพื่อให้ลูกค้านำไปอุ่นในไมโครเวฟได้ โดยยังคงรสชาติเหมือนการนึ่งด้วยไอน้ำ เพราะลูกค้าบางกลุ่มเน้นความสะดวกและรวดเร็ว

“การพัฒนา EzySteam™ ใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน กว่าจะเป็นถุง EzySteam™ ที่ใช้งานได้ดีอย่างทุกวันนี้ต้องผ่านการพัฒนากันมาถึงเวอร์ชั่นที่ 3 และเอสซีจี แพคเกจจิ้งยังคงติดตามผลการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นถึงความพยายามของทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมชื่นชมอย่างมาก”

นอกจาก EzySteam™ แล้ว Phoenix Lava ยังใช้บริการ Dezpaxในการสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์ที่มีบริการออกแบบ Custom ได้ในราคาที่เหมาะสมและยังมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย ทุกวันนี้บรรจุภัณฑ์สินค้าใหม่ของPhoenix Lava ใช้บริการ Dezpax แทบทั้งสิ้น

 

สร้างรายได้จากสิ่งที่มี

“ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ควรสร้างรายได้จากสิ่งที่มีก่อน ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์หรือทักษะความสามารถ ขณะเดียวกันต้องไม่เพิ่มค่าใช้จ่าย และทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ ให้หลากหลาย

“ผมมองว่าคนที่ผ่านวิกฤติมาได้จะก้าวไปได้ไกล ช่วงเวลานี้จึงถือเป็นโอกาสของธุรกิจขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอีที่จะเติบโต ขอเพียงแค่ปรับตัวให้รวดเร็วและรับมือกับวิถี New Normal ให้ทันท่วงที ความสำเร็จก็เกิดขึ้นได้ไม่ยากขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนครับ”