SCGP โดย คุณดนัยเดช เกตุสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงิน ร่วมงานแถลงข่าวพันธมิตรความยั่งยืนกับบริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จำกัด โดย มร. โยชิทาเกะ วาคากุวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และมร. ฮิโรยูกิ มะซึโมะโตะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และบริษัท รีแอค จำกัด (ReAcc) ภายใต้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย คุณประสงค์ อินทรหนองไผ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจใหม่ สานต่อแผนปฏิบัติการสำหรับความยั่งยืนของฟาสต์ รีเทลลิ่ง ผ่านแนวคิดไลฟ์แวร์ (LifeWear) เพื่อเป้าหมายการเป็นเสื้อผ้าที่ถูกออกแบบมาให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้นจากมุมมองของผู้คน ชุมชน และโลก สร้างเครือข่ายพันธมิตรด้านสังคมและโลกที่ยั่งยืน โดย SCGP ร่วมเป็นพันธมิตรสนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งเสริมพฤติกรรมการคัดแยกวัสดุเหลือใช้ตั้งแต่ต้นทาง ภายใต้การดำเนินการของแบรนด์ SCGP Recycle จัดเก็บกล่องกระดาษเหลือใช้จากสาขาต่าง ๆ ของยูนิโคล่ นำมารีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์กระดาษที่แข็งแรงและสวยงาม ส่งมอบให้ค่ายผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR) ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี นำไปใช้ประโยชน์ใหม่ และอีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นกระดาษพิมพ์เขียน เพื่อใช้งานในยูนิโคล่ 32 สาขาในกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สามารถจัดเก็บกล่องกระดาษเหลือใช้ได้แล้วกว่า 97 ตัน พร้อมขยายผลความร่วมมือไปยังยูนิโคล่สาขาอื่น ๆ ทั่วประเทศ”
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงพลังระดับนานาชาติ “EARTH HOUR 2022” กับอีกกว่า 190 ประเทศทั่วโลก
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงพลังระดับนานาชาติ “EARTH HOUR 2022” กับอีกกว่า 190 ประเทศทั่วโลก
ถอดปลั๊ก ปิดไฟที่ไม่จำเป็น 1 ชั่วโมง ลดโลกร้อน เริ่มง่าย ๆ ได้ที่บ้าน
โครงการ EARTH HOUR เป็นโครงการร่วมมือระดับนานาชาติที่ริเริ่มโดย กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund : WWF) เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมครั้งแรกในปี 2550 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีผู้เข้าร่วม 2.2 ล้านคน สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงเท่ากับรถยนต์จำนวน 48,000 คัน และลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงได้ 10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ ปัจจุบันเป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยจัดขึ้นทุกปีในวันเสาร์สุดท้ายของเดือนมีนาคม มีผู้สนับสนุนในประเทศและดินแดนต่างๆ มากกว่า 190 แห่งทั่วโลก
สำหรับประเทศไทยเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ EARTH HOUR ครั้งแรกเมื่อปี 2551 และทำติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยในปีนี้มีกำหนดจัดกิจกรรมกัน ในวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2565 โดยจะปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 20:30 น. ถึง 21:30 น. เพื่อเป็นการแสดงพลังให้ประชาคมโลกรับรู้ถึงความตั้งใจของประเทศไทยในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
World Water Day 2022 – ความมุ่งมั่นและการบริหารจัดการน้ำของ SCGP
น้ำ คือ ทรัพยากรที่่สำคัญอย่างยิ่่งในการดำเนินธุุรกิจของ SCGP เราจึงมุ่งเน้นการใช้งานอย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักการ 3R ทั้งการปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในการผลิต การนำน้ำจากกระบวนการผลิตที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ โดย SCGP ได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการใช้น้ำของชุมชนรอบโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดความไม่ปกติในปัจจุบัน เช่น ฝนไม่ตกตามฤดูกาล หรือไม่ตกในพื้นที่ต้นน้ำ ทำให้น้ำที่กักเก็บได้มีปริมาณที่ลดลง ในขณะที่มีความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของประชากรโลก SCGP เล็งเห็นความสำคัญและมีความมุ่งมั่นยกระดับการจัดการน้ำ โดยกำหนดให้มีคณะทำงานประกอบด้วยตัวแทนจากทุกธุรกิจมาดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารและจัดการความเสี่ยงในการใช้น้ำ มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
International Women’s Day Celebration! ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ UN Women และโลกใบนี้ สนับสนุนความร่วมมือในหัวข้อ “ความเท่าเทียมทางเพศในวันนี้ เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ยั่งยืน”
ปัจจุบันเราเข้าใจถึงความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างเพศ ความเท่าเทียมทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น รวมถึงตระหนักว่าความเท่าเทียมทางเพศเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน เพราะหากผู้หญิงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลก ยังคงต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นผลมาจากการความไม่เท่าเทียม ก็จะทำให้การใช้ชีวิตของผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตามแม้ผู้หญิงทั่วโลกพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้นแต่กลับเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ เช่น อาหาร น้ำ และเชื้อเพลิง ได้น้อยลง รวมถึงต้องรับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วย ผู้หญิงจึงควรได้ร่วมเป็นผู้นำขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อบรรเทาผลกระทบและแก้ไขสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องร่วมสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือจากครึ่งหนึ่งของประชากรโลกเป็นอย่างน้อย เพื่อให้โลกที่ยั่งยืนและโลกที่เท่าเทียมในวันพรุ่งนี้เกิดขึ้นได้จริง
SCGP ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนแนวคิดของ UN Women เพราะเชื่อว่าความเท่าเทียมทางเพศเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่โลกที่สงบสุข อุดมสมบูรณ์ และยั่งยืน
ที่มา: https://www.unwomen.org
SCGP ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ “โครงการส่งเสริมภาคธุรกิจลดก๊าซเรือนกระจก โดยกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science-based Target: SBT)
SCGP โดย คุณสุนทร ยงค์วิบูลศิริ ESG and Sustainability Director ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ “โครงการส่งเสริมภาคธุรกิจลดก๊าซเรือนกระจกโดยกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science-based Target: SBT) ปีงบประมาณ 2565” ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ ECEE คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์กรนำร่องอีก 7 องค์กร กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กรและวางแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการควบคุมก๊าซเรือนกระจกของโลกไม่ให้เกิน 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดย TGO และ ECEE จะให้การสนับสนุนและคำปรึกษา รวมถึงการรับรองการตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กรภายใต้เครือข่าย Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN แก่องค์กรที่ร่วมโครงการ แสดงถึงความมุ่งมั่นและตอกย้ำการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG และเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ของ SCGP
SCGP รับรางวัลแคมเปญการตลาดแห่งปีจากเวที “Marketing Award of Thailand 2021”
SCGP รับรางวัลแคมเปญการตลาดแห่งปีจากเวที “Marketing Award of Thailand 2021” จัดโดย “สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย” ประเภท “แคมเปญการตลาดที่มีความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน” (Sustainable Marketing) ระดับ Silver จากผลงาน Paper X แคมเปญ “เก่า แลก ใหม่” เอาใจผู้บริโภคสายรักษ์โลก ผนึกกำลังพันธมิตรสร้างโซลูชันจัดการกระดาษเหลือใช้ สร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมรีไซเคิลได้สะดวกขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมการประกวดทั้งสิ้น 73 ผลงาน จาก 44 องค์กรชั้นนำทั่วประเทศ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันเพื่อตอบความต้องการของผู้บริโภคควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนตามกรอบแนวคิด ESG
“80 ปี กระทรวงอุตสาหกรรม 8,000 กิโลกรัม รีไซเคิลสู่สังคม” กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ SCGP นำร่องภาครัฐ ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย BCG Model
กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย 7 หน่วยงานในสังกัดร่วมกับ SCGP เปิดโครงการ “80 ปี กระทรวงอุตสาหกรรม 8,000 กิโลกรัม รีไซเคิลสู่สังคม” ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และนำกระดาษเหลือใช้ในหน่วยงานกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มอบให้เป็นสาธารณประโยชน์กลับคืนสู่สังคม เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร เตียงสนามกระดาษ ชุดโต๊ะเรียน ชุดโต๊ะอาหาร ฯลฯ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวทางการขับเคลื่อน BCG Model ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดย คุณกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คุณทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคุณวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) นำร่องภาครัฐในการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมสู่หน่วยงานราชการและผู้ประกอบการ ซึ่งจะเริ่มโครงการตั้งแต่วันนี้ถึงสิงหาคม 2565 ติดตั้งจุดรับกระดาษเหลือใช้ในระดับกองของทุกหน่วยงาน และ SCGP จะดำเนินการจัดการวัสดุเหลือโดยโซลูชัน SCGP Recycle เพื่อคำนวณปริมาณกระดาษ จัดเก็บ และนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลต่อไป
SCGP มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคและโลกที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคม บนพื้นฐานของความโปร่งใสตรวจสอบได้ตามกรอบแนวคิด ESG (Environmental, Social และ Governance) สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อน BCG Model ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งโครงการนี้นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ประสานพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการดูแลสิ่งแวดล้อม สู่สังคมที่น่าอยู่ และโลกที่ยั่งยืนร่วมกัน
SCGP สนับสนุน DEWA & DEWI 2021 “เศษเหลือใช้ศักยภาพใหม่ ไม่รู้จบ” ในงาน Bangkok Design Week 2022
DEWA & DEWI ย่อมาจาก DEsign from Waste of Agriculture and Industry หรือชื่อภาษาไทยว่า “กิจกรรมพัฒนาผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดสากล” เกิดขึ้นด้วยแนวคิด “A Perspective into limitless future : เศษเหลือใช้ศักยภาพใหม่ ไม่รู้จบ” โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อนำการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์เข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือใช้ที่ไร้ค่า และอาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเศษขยะจากภาคอุตสาหกรรมด้วย จนเกิดเป็นผลงานออกแบบที่มีความโดดเด่น ใช้งานได้จริง
เพื่อร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้ที่มีแนวความคิดในทางเดียวกัน SCGP จึงสนับสนุนแท่นวางโชว์ผลิตภัณฑ์ของโครงการ DEWA & DEWI 2021ในงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล (Recycled Paper) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังสามารถนำมารีไซเคิลได้แบบครบวงจร (Close-loop Management) เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
สามารถชมผลงานจาก 15 แบรนด์ในโครงการฯ ที่มีความน่าสนใจทั้งในเชิงวัสดุ แนวคิด เรื่องราว และการออกแบบ ที่โครงการ DEWA&DEWI 2021 โดย DitpDesignDitp งาน Bangkok Design Week 2022 วันที่ 5-13 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11.00 – 21.00 น. ที่ TCDC ห้องฟังก์ชั่น ชั้น 4
#dewaanddewi2021 #SCGP #CircularEconomy #CircularDesign #designfromwaste #BKKDW22 #thailand
ไปรษณีย์ไทย จับมือ SCGP เปิดแคมเปญ “ไปรษณีย์ reBOX” #3 เปิดรับกล่องและซองที่ไม่ใช้แล้ว รีไซเคิลเป็นชุดโต๊ะเก้าอี้ เพื่อน้องโรงเรียน ตชด.
ไปรษณีย์ไทย ร่วมกับ SCGP เชิญชวนคนไทยร่วมรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกครั้งกับโครงการ ไปรษณีย์ reBOX #3 ภายใต้แนวคิด“reBOX to School” หลังได้รับกระแสตอบรับดีต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 – 2564 โดยในปีนี้ ไปรษณีย์ไทยและ SCGP เตรียมรีไซเคิลกล่องและซองกระดาษเหลือใช้เป็นชุดโต๊ะ เก้าอี้ เพื่อส่งมอบให้นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศในช่วงปลายปี โดยผู้ที่สนใจสามารถรวบรวมกล่องและซองกระดาษเหลือใช้มาให้ได้ที่ไปรษณีย์ใกล้บ้านทั่วประเทศ รวมทั้งจุดรับรวบรวมอื่นๆ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ตุลาคม 2565
ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง – อาณาจักรขนมที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค และดูแลโลกไปด้วยกัน
จากแนวคิด “อร่อย มีประโยชน์ ในราคาที่จับต้องได้” เป็นที่มาทำให้บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมตราเจเล่และเบนโตะ รวมถึงผลิตภัณฑ์คุณภาพอีกมากมายหลายชนิดที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ได้เติบโตอย่างแข็งแกร่งมาตลอด 30 ปี
ในครั้งนี้ เราได้รับเกียรติจากคุณฐากร ชัยสถาพร – รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหารธุรกิจ 2 มาร่วมพูดคุยถึงกลยุทธ์และเส้นทางการต่อยอดธุรกิจของครอบครัวให้กลายเป็นอาณาจักรขนมอร่อยที่อยู่ในใจคนไทยทุกเพศทุกวัย
ต่อยอดธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ชั้นนำในใจคนไทย
จากร้านยี่ปั๊วขายขนมในตลาดมหานาค ที่มีฐานลูกค้าแรกเริ่มเฉพาะคนกรุงเทพฯ สู่ร้านค้าส่งขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ของประเทศในอีก 10 ปีให้หลัง พร้อมขยายฐานลูกค้าไปทุกจังหวัด และพัฒนาธุรกิจจนกระทั่งเป็นผู้ผลิตขนมรายใหญ่ เช่น เมล็ดแตง เวเฟอร์ ขนมปังบิสกิต ขยายการเติบโตส่งออกสินค้าไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งช่วงเวลานั้นเองที่คุณฐากรได้เริ่มเข้ามาช่วยดูแลกิจการ
“ผมกลับจากเรียนต่อที่ต่างประเทศเมื่อปลายปี 2533 มาช่วยดูแลบริษัท ตอนนั้นคิดจะขายสินค้าเองในเมืองไทย และมองว่าตลาดห้างกำลังมา จึงเปิดบริษัทศรีนานาพรและตั้งแบรนด์สินค้าชื่อ Good Good เป็นแบรนด์ผลไม้อบแห้ง จากนั้นก็ซื้อเครื่องจักรผลิตเยลลี่เพิ่ม เริ่มทำตลาดห้างด้วยแบรนด์เจเล่ในปี 2535 มีกิจกรรมทางการตลาดเสริมด้วย ทำให้เจเล่ได้ผลตอบรับจากผู้บริโภคดีพอสมควร มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2
“ประกอบกับช่วงนั้นผงบุก หรือคอนยัคกุกำลังมาแรง จึงนำมาพัฒนาเป็นส่วนผสมหลักในผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ เจเล่ ไลท์ โดยใช้คอนเซปต์ ‘อร่อย สดชื่น อยู่ท้อง’ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ในตอนนั้นตลาด functional กำลังมาแรง เราจึงพัฒนาสินค้าต่อเนื่องโดยเติมสารอาหาร เช่น คอลลาเจนและวิตามินต่าง ๆ ลงไป จนเป็นที่มาของเจเล่บิวตี้ ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นเบอร์ 1 ของตลาดเยลลี่พร้อมดื่มนี้
“ส่วนเบนโตะ เราเริ่มปี 2539 เพราะเห็นช่องว่างในตลาดฟิซสแนคซึ่งอร่อยและมีประโยชน์ เลยลองพัฒนารสชาติและแพคเกจจิ้งมาเรื่อย ๆ พร้อมกันนั้นก็ผลิตสินค้าออกมาต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นขนมขาไก่แบรนด์โลตัส ขนมปังสับปะรด ขนมปังครีม และขนมปังอบกรอบ รวมไปถึงสินค้าประเภทเครื่องดื่มอย่างน้ำมะพร้าว น้ำเฉาก๊วย น้ำสมุนไพร ภายใต้แบรนด์เมจิกฟาร์ม และล่าสุด ปี 2563 ได้วางจำหน่ายเครื่องดื่มผสมวิตามินภายใต้แบรนด์ AQUAVITZ
“ทุกช่วงเวลาเป็นแรงบันตาลใจให้สร้างสรรค์ คิดค้น พัฒนา และต่อยอด และด้วยนโยบายที่ชัดเจน เราจึงพัฒนาตลาดอย่างต่อเนื่องโดยสำรวจสถานการณ์ตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคอยู่เสมอแล้วนำข้อมูลมาพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์และช่องทางจัดจำหน่ายเพื่อให้ลูกค้าพอใจ ถึงวันนี้เรามีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 4 กลุ่มหลัก ๆ คือ 1. กลุ่มเยลลี่ 2. กลุ่มซีฟู้ดสแนค 3. กลุ่มบิสกิตและเวเฟอร์ และ 4. กลุ่มเครื่องดื่ม”
ปั้นธุรกิจ สร้างการเติบโต โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
เป้าหมายของศรีนานาพรคือ การเป็นผู้นำด้านการผลิตขนมและเครื่องดื่มในภูมิภาค โดยใช้แนวคิดcustomer centric ที่ตอบโจทย์ลูกค้าเป็นหลัก ควบคู่ไปกับกรรมวิธีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
“เราผลิตสินค้าโดยมองที่ความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลักเสมอ คอนเซปต์คือ การผลิตสินค้าที่อร่อยและมีประโยชน์ในราคาที่ผู้บริโภคจับต้องได้ ขณะเดียวกันยังให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากเราจะเป็นผู้ผลิตแล้ว เรายังเป็นคนในสังคม เป็นหนึ่งในประชากรโลก เราจะใช้ทรัพยากรโดยที่ไม่รบกวนโลกมากจนเกินไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเราต้องเป็นมิตรกับโลกให้มากที่สุด
“อย่างเช่นเรื่องแพคเกจจิ้ง เราปรึกษาและพัฒนาร่วมกับ SCGP จนได้ Green Carton แพคเกจจิ้งที่เป็นมิตรกับโลกมากขึ้น สามารถลดการใช้กระดาษลงได้ 30 – 40% โดยที่ยังคงความแข็งแรง ปกป้องสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคได้เหมือนเดิม หรือซองเจเล่ เราก็พยายามพัฒนาให้สามารถรีไซเคิลได้มากขึ้น ขณะเดียวกันเราลดการใช้พลังงานนโรงงาน และหันมาใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ในส่วนที่สามารถใช้ได้ ลดการปล่อยของเสีย นำวัสดุกลับมาใช้ไหม่ให้มากที่สุด แต่ยังคงรักษาคุณภาพและมาตรฐานไว้เหมือนเดิม”
พันธมิตรทางธุรกิจ ต้องตอบโจทย์และจริงใจ
จากการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเหตุผลสำคัญในการมองหาพาร์ตเนอร์ที่ตอบโจทย์ได้ ในขณะเดียวกัน การผนึกกำลังกันด้วยความจริงใจก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ความร่วมมือนั้นยั่งยืน
“เราใช้ Green Carton จาก SCGP เป็นหลัก เพราะเราต้องการแพคเกจจิ้งที่ดีและไม่แพงเกินไป เนื่องจากเราขายในราคาที่ไม่สูงมาก SCGP ก็ช่วยตอบโจทย์ได้ครบ ทั้งราคาคุณภาพที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในอนาคตเราวางแผนจะเข้าสู่ตลาดค้าปลีกเพิ่มเพราะเห็นโอกาสในกลุ่ม vending machine แต่การเข้าสู่ตลาดนี้เราต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการกระจายสินค้าผ่านเครื่องขายสินค้าอัตโนมัติด้วย ซึ่ง Flexible Packaging ของ SCGP น่าจะเหมาะสมกับช่องทางจัดจำหน่ายที่เราตั้งเป้าไว้ในอนาคตด้วยเช่นกัน
“SCGP กับเราเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันมายาวนานด้วย 2 ปัจจัยหลัก ปัจจัยแรกคือ SCGP มีเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากมาย สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตอบสนองความต้องการได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของเรา และปัจจัยที่สองคือ ความจริงใจของ SCGP ในการให้ความร่วมมือและพัฒนาร่วมกับลูกค้า เราได้รับความร่วมมือที่ดีมาก ในอนาคตเราต้องมีการพัฒนาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ เราก็อยากให้ SCGP มาช่วยสนับสนุนต่อไป” คุณฐากรกล่าวทิ้งท้าย