SCGP Newsroom

SCGP ปี 2565 ทำรายได้ 1.46 แสนล้าน เติบโตร้อยละ 18 กางแผนปี 66 เน้นลงทุนธุรกิจศักยภาพสูง เพิ่มนวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์ครบวงจร รับเศรษฐกิจฟื้น

SCGP ปี 2565 ทำรายได้ 1.46 แสนล้าน เติบโตร้อยละ 18 กางแผนปี 66 เน้นลงทุนธุรกิจศักยภาพสูง เพิ่มนวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์ครบวงจร รับเศรษฐกิจฟื้น

รู้จักหุ้น IPO ตัวใหม่ SCGP ผู้นำวงการบรรจุภัณฑ์อาเซียนที่เน้นเติบโตอย่างยั่งยืน

ข่าว รู้จักหุ้น IPO ตัวใหม่ SCGP ผู้นำวงการบรรจุภัณฑ์อาเซียนที่เน้นเติบโตอย่างยั่งยืน Loading Data… เมื่อพูดถึง SCC หรือ ปูนซิเมนต์ไทย เชื่อว่าหลายคนจะมีภาพจำว่าเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว รายได้ของ SCC นั้นมาจากธุรกิจหลัก 3 กลุ่มธุรกิจด้วยกัน ได้แก่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างธุรกิจเคมิคอลส์ธุรกิจแพคเกจจิ้งธุรกิจแพคเกจจิ้ง ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (“SCGP”) มีสัดส่วนรายได้คิดเป็นร้อยละ 23 ของ SCC โดยเมื่อดูแนวโน้มการเติบโตของแต่ละกลุ่มธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2562 จะเห็นว่ากลุ่มธุรกิจแพคเกจจิ้งมีแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจและรายได้ที่น่าสนใจ ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจแพคเกจจิ้งจะดำเนินธุรกิจผ่านบริษัทลูกของ SCC อย่าง บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง หรือ SCGP ซึ่ง SCGP ก็กำลังจะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุนมาใช้ในการขยายกำลังการผลิต และเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ มุ่งสู่การเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน ทำความรู้จัก SCGP ว่าที่หุ้น IPO ตัวใหม่ SCGP หรือ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร ประกอบด้วย 2 สายธุรกิจหลัก คือ สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร สายธุรกิจเยื่อและกระดาษโดยรายได้จากการขายส่วนใหญ่จะมาจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์ เฉลี่ยประมาณร้อยละ 84 จากสัดส่วนรายได้จากการขายทั้งหมด ส่วนอีกประมาณร้อยละ 16 ที่เหลือจะเป็นรายได้ที่มาจากธุรกิจเยื่อและกระดาษ และหากนับตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2562 รายได้จากการขายของ SCGP นั้นก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี จากการที่รายได้จากการขายในธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (Compound Annual Growth Rate) จะเท่ากับ 8.50% ต่อปี โดยในครึ่งปีแรกของปี 2563 รายได้เติบโตร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา เจาะลึกแต่ละธุรกิจของ SCGP ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร สามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่บรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ (PPP) เป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่สัมผัสกับสินค้าอุปโภคบริโภคโดยตรง มีทั้งบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว และบรรจุภัณฑ์แบบคงรูป โดยสัดส่วนรายได้จากกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมาจากผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ ซึ่งจะมีทั้งบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกและบรรจุภัณฑ์กล่องพิมพ์สีเพื่อการแสดงสินค้า โดยสัดส่วนรายได้ของกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมาจากบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูก กระดาษบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะมีทั้งกระดาษบรรจุภัณฑ์ และ ผลิตภัณฑ์กระดาษอื่น ๆ โดยสัดส่วนรายได้ของกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมาจากกระดาษบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ SCGP ยังให้บริการโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรในทั้งสามกลุ่ม ซึ่งจะมีศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร “อินสไปร์ สตูดิโอ (Inspired Studio)” คอยช่วยด้านการออกแบบ และการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย และหากดูสัดส่วนรายได้จากการขายของทั้งสามกลุ่ม ธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์จะมีสัดส่วนรายได้จากการขายมากที่สุด รองลงมาจะเป็นธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ และสุดท้ายจะเป็นกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์ โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 สัดส่วนรายได้จากการขายของทั้งสามกลุ่มจะเท่ากับ 51%, 25% และ 8% ตามลำดับ 2. ธุรกิจเยื่อและกระดาษ ซึ่งสามารถแบ่งผลิตภัณฑ์ได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ภาชนะบรรจุอาหาร โดย SCGP จะมีแบรนด์ Fest ที่เป็นแบรนด์หลักที่นำเสนอภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบรนด์ Fest ผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ ซึ่งจะมีทั้งกระดาษพิมพ์เขียน และเยื่อประเภทต่าง ๆ โดยสายธุรกิจเยื่อและกระดาษนี้ จะมีสัดส่วนรายได้ส่วนใหญ่มาจากผลิตภัณฑ์เยื่อและกระดาษ นอกจากนี้ SCGP ยังได้เข้าไปลงทุนในบริษัทชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเสริมจุดแข็งให้แก่ผลิตภัณฑ์ สร้างศักยภาพการเติบโต รวมถึงขยายตลาดไปยังทั่วทวีปเอเชีย โดยได้เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัท เช่น เข้าซื้อหุ้นบริษัท Interpress Printers Sendirian Berhad (IPSB) ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหารในประเทศมาเลเซียเข้าซื้อหุ้นบริษัท Tin Thanh Packing Joint Stock (BATICO) ในประเทศเวียดนาม เพื่อการขยายเข้าสู่ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวในประเทศเวียดนามเข้าซื้อหุ้นบริษัท Fajar Surya Wisesa Tbk. ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์อันดับต้น ๆ ของประเทศอินโดนีเซียเข้าซื้อหุ้นบริษัท Visy Packaging Thailand ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านบรรจุภัณฑ์แบบคงรูปสำหรับกลุ่มลูกค้าของ SCGP นั้น ปัจจุบันมีฐานลูกค้าจำนวนมาก ตั้งแต่บริษัทชั้นนำระดับประเทศ บรรษัทข้ามชาติ ไปจนถึงผู้ค้าปลีกในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งลูกค้าของ SCGP ส่วนใหญ่จะทำธุรกิจอยู่ในตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่ม อีคอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์ ทั้งนี้ รายได้จากการขายจะมาจากลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 SCGP มีรายได้จากการขายให้แก่ลูกค้าที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 52 ส่วนอีกร้อยละ 48 ที่เหลือจะเป็นรายได้จากการขายที่มาจากลูกค้าที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย ด้านฐานะทางการเงินของ SCGP ในปี 2562 SCGP มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 139,513 ล้านบาท แบ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน 35,383 ล้านบาท และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 104,130 ล้านบาท ด้านหนี้สิน SCGP มีหนี้สินทั้งหมด 76,697 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียน 54,014 ล้านบาท และหนี้สินไม่หมุนเวียน 22,683 ล้านบาท และมีส่วนผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 62,816 ล้านบาท ในขณะที่งวดล่าสุด ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2563 SCGP มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 144,360 ล้านบาท และในส่วนหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 78,946 ล้านบาท และ 65,414 ล้านบาท ตามลำดับ ด้านอัตราส่วนทางการเงิน ในปี 2562 SCGP มีอัตราส่วนสภาพคล่อง 0.7 เท่า และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 1.2 เท่า ทั้งนี้ อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในปี 2562 อยู่ที่ 0.9 เท่า สำหรับไตรมาส 2 ของปีนี้ อัตราส่วนสภาพคล่องของ SCGP อยู่ที่ 0.6 เท่า อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 1.1 เท่า และอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อยู่ที่ 0.8 เท่า ด้านผลการดำเนินงานของ SCGP ในปี 2562 SCGP มีรายได้จากการขายรวม 89,070 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 คิดเป็นร้อยละ 2.1 ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้จากการขายในกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรที่เพิ่มขึ้นมากกว่า โดยมีสาเหตุหลักมาจากการรวมผลการดำเนินงานจากกิจการบริษัท Fajar Surya Wisesa Tbk. และ Visy Packaging Thailand ที่ SCGP ได้เข้าไปควบรวม แม้รายได้จากการขายในกลุ่มธุรกิจเยื่อและกระดาษจะลดลงก็ตาม ขณะที่ครึ่งปีแรกของปีนี้ SCGP มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 45,903 ล้านบาท เติบโตกว่าร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ อัตราส่วนกำไรขั้นต้นสำหรับปี 2562 จะเท่ากับร้อยละ 19.6 แม้จะลดลงจากปี 2561 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 20.8 เล็กน้อย แต่หากดูตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2562 ก็จะเห็นว่า SCGP มีการรักษาอัตรากำไรขั้นต้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็แสดงถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนที่ดี โดยในงวดครึ่งปีแรกของปี 2563 SCGP มีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นอยู่ที่ร้อยละ 22.5 ด้านกำไรสำหรับปี ในปี 2562 SCGP มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 5,269 ล้านบาท ลดลงจากปี 2561 ร้อยละ 13.1 ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กำไรสุทธิในปี 2562 ลดลง ก็เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมจาก SCC เพื่อเป็นเงินทุนในการควบรวมกิจการบริษัท Fajar Surya Wisesa Tbk. และการบันทึกการรวมเงินกู้ยืมของบริษัทต่าง ๆ ที่บริษัทควบรวมกิจการมา ส่วนช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ SCGP มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เปิดจุดเด่น และ ส่องศักยภาพการเติบโตในอนาคต SCGP มีรูปแบบธุรกิจแบบบูรณาการในแนวตั้งจากขั้นต้นจนถึงขั้นปลาย ซึ่งเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นต้น การผลิตบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการจัดส่งผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า SCGP มีการขยายฐานการดำเนินงานในภูมิภาคอาเซียนด้วยกลยุทธ์การเติบโตผ่านการควบรวมกิจการ โดยมุ่งเน้นโอกาสที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงสุด และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับรูปแบบธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ SCGP มีฐานลูกค้าในหลายประเทศและหลายอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นบรรษัทข้ามชาติและบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน ทำให้ SCGP สามารถกระจายความเสี่ยงไปยังหลาย ๆ อุตสาหกรรม ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง SCGP ดำเนินธุรกิจอยู่ในตลาดที่มีการเติบโตด้านธุรกิจบรรจุภัณฑ์ จากเทรนด์การเติบโตของธุรกิจเดลิเวอรี่ และอีคอมเมิร์ซในอาเซียน ซึ่งจะยิ่งช่วยกระตุ้นการใช้แพคเกจจิ้งเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์และไลฟ์สไตล์ของคนอาเซียน ที่มีทิศทางที่เอื้อให้ใช้แพคเกจจิ้งมากขึ้นอีกด้วย SCGP มีการมุ่งเน้นกระบวนการผลิตโดยยึดหลัก “เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)” ซึ่งก็คือการใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านการนำกลับมาใช้ซ้ำ และการรีไซเคิล ซึ่งก็สอดรับกับเทรนด์ที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มใส่ใจในผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของสังคมมากขึ้นรายละเอียดการ IPO เข้าสู่ตลาดหุ้น สำหรับเป้าหมายหลักในการเข้าระดมทุนผ่านตลาดหุ้นในครั้งนี้ ก็เพื่อต่อยอดธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการขยายกำลังการผลิตของ SCGP ให้ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้าทั้งห่วงโซอุปทาน และการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อขยายโอกาสการเติบโตอย่างมั่นคง รวมทั้งเพื่อชำระคืนเงินกู้ยืม และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ โดย SCGP จะทำการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,127.6 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 26.5 ของทุนชำระแล้ว และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกินจำนวนไม่เกิน 169.1 ล้านหุ้น โดยที่หลังขายหุ้น IPO ไปแล้ว SCC ก็ยังจะคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SCGP ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของการเสนอขายครั้งนี้ได้จากร่างหนังสือชี้ชวน (Filing) ที่ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่นี่ เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Loading Data…

โอกาสลงทุนยุค New Normal

ข่าว โอกาสลงทุนยุค New Normal Loading Data… ถ้าถามว่ามีธุรกิจอะไรบ้างที่ยังเติบโตในช่วงวิกฤต COVID-19? หลายคนคงนึกถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือธุรกิจบริการรับส่งอาหาร (Food Delivery) ซึ่งเห็นชัดว่าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จากเดิมที่เป็นที่นิยมเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่ที่ใช้สมาร์ตโฟน จนกระทั่งการเกิดวิกฤตใหญ่ COVID-19 ทำให้คนทุก Generation จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการหันมาใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ สินค้าเกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัย (Healthcare) ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่หลายคนนึกถึง เพราะจะเห็นว่าผู้คนได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความสะอาดเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากการใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทเจลล้างมือ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ และหน้ากากอนามัยที่มีความต้องการใช้พุ่งสูงจนกลายเป็นสินค้าหายากในช่วงเวลาหนึ่ง ยังมีอีกหนึ่งธุรกิจที่เป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและมีศักยภาพเติบโตไปกับอุตสาหกรรมเหล่านี้ นั่นคือ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ซึ่งกำลังจะมีผู้ผลิตและให้บริการบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนเตรียมจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ‘บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง’ (“SCGP” หรือ “บริษัทฯ”) ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน SCGP เป็นธุรกิจ 1 ใน 3 กลุ่มธุรกิจหลักของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (“SCC”) ซึ่งเมื่อดูผลการดำเนินงานล่าสุดในช่วงครึ่งปีแรก 2563 พบว่า ธุรกิจบรรจุภัณฑ์สามารถสร้างการเติบโตท่ามกลางวิกฤต COVID-19 จากการเป็นธุรกิจที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค สำหรับธุรกิจของ SCGP แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ประกอบด้วย สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) และสายธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Chain) โดยปัจจุบันมีบรรจุภัณฑ์ครอบคลุมและหลากหลาย และมีฐานการผลิต 5 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ SCGP ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทำให้บรรจุภัณฑ์ของบริษัทฯ สามารถรองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ และเป็นเหตุผลที่ทำให้ SCGP มีฐานลูกค้ากระจายอยู่ในธุรกิจต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โลจิสติกส์ และอีคอมเมิร์ซ โดยปัจจุบันสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ไปกว่า 20 ประเทศทั่วโลก การทำธุรกิจคงไม่อาจหยุดนิ่งอยู่กับที่ เพราะสังคมและผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ วัน SCGP จึงวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้บรรจุภัณฑ์และโซลูชันของ SCGP มีความแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ซึ่งไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ของลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงไลฟ์สไตล์การใช้งานของผู้บริโภคด้วย อย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ Optibreath สำหรับบรรจุผักและผลไม้สดซึ่งช่วยยืดอายุในการเก็บรักษาได้นานขึ้น จึงตอบโจทย์ทั้งด้านผู้ประกอบการที่สามารถเก็บรักษาสินค้าให้นาน ที่สำคัญ ยังเป็นการช่วยลดปริมาณขยะจากอาหารที่เน่าเสียอีกด้วย ในส่วนภาพรวมครึ่งปีแรกที่เกิดภาวะโรคระบาดใหญ่หรือ Pandemic จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลกนั้น SCGP ยังคงมีตัวเลขการเติบโตโดดเด่น จากแผนกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นแพคเกจจิ้งสำหรับ B2B2C ที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบรวมถึงพัฒนาโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์แก่ลูกค้าแบบเฉพาะรายและร่วมทำงานกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด จึงทำให้เกิดฐานลูกค้าที่แข็งแรงและได้รับคำสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และการขยายธุรกิจด้วยการควบรวมกิจการ (Merger & Partnership) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 45,903 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11 และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,636 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 40 ปัจจุบัน SCGP มีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างเพื่อขยายกำลังการผลิตรวม 4 โรงงาน ในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอินโดนีเซีย ด้วยเงินลงทุนประมาณ 8,200 ล้านบาท โดยจะทยอยแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2563-2564 และอยู่ระหว่างการเข้าซื้อกิจการโรงผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกรายใหญ่ในประเทศเวียดนาม ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพให้ SCGP สามารถรักษาตำแหน่งผู้นำในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ครบวงจรของภูมิภาคอาเซียน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น เร็ว ๆ นี้ SCGP เตรียมนำบริษัทฯ เข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,127,550,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.5 ของจํานวนหุ้นสามัญที่ออกและชําระแล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment) จำนวนไม่เกิน 169,130,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายทั้งหมดในครั้งนี้ เพื่อนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ในการลงทุนขยายธุรกิจ ด้วยการขยายกำลังการผลิต (Organic) การควบรวมกิจการแบบ Merger & Partnership (Inorganic) ชำระคืนเงินกู้ยืม และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ โดยนักลงทุนที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือชี้ชวนในเว็บไซต์สำนักงาน ก.ล.ต. หรือเว็บไซต์ www.scgpackaging.com แหล่งข้อมูล(1) รายงานการวิจัยทางการตลาดแบบอิสระของ ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน(2) ร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ SCGP ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Loading Data…

บ้านโป่งโมเดลเราจัดการขยะทั่วทั้งอำเภอ

ที่นี่บ้านโป่ง นอกจากเป็นเมืองอุตสาหกรรมแล้ว อำเภอแห่งนี้คือจุดเชื่อมระหว่างภาคตะวันตกกับภาคกลาง ด้วยบริบท ที่กล่าวมาทำให้อำเภอบ้านโป่งมีปัญหาการจัดการขยะให้ต้องแก้ไข หากไม่มีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ต้นทางแล้ว อนาคตข้างหน้าอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ “การจะเปลี่ยนมาจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง เราต้องเปลี่ยนทัศนคติ ต้องสร้างความรู้ สร้างการมีส่วนร่วมให้ชุมชน ซึ่งในขณะนั้นทางรัฐบาลก็ได้มีแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนลงมา โดยเน้นในเรื่องของ การจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางพอดี เราเองก็อยากจะผลักดันในเรื่องนี้อยู่แล้ว จึงคิดว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะจัดการขยะอย่างจริงจังในอำเภอบ้านโป่ง” ทศพล เผื่อนอุดม อดีตนายอำเภอบ้านโป่ง ผู้ให้ความสำคัญกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด แต่การจะขับเคลื่อนเรื่องการจัดการขยะไปทั่วทั้งอำเภอ จนกระทั่งเกิดเป็น “บ้านโป่งโมเดล” นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย “เราคนเดียวทำไม่สำเร็จหรอก การที่บ้านโป่งโมเดลจะสำเร็จได้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน” ร่วมแรงร่วมใจ บ้านโป่งโมเดลเกิดจากความร่วมมือกันของทั้ง 3 ภาค ซึ่งทั้งหมดจะขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปไม่ได้เลยคือ ภาคราชการ ได้แก่ อำเภอบ้านโป่ง ท้องถิ่นอำเภอบ้านโป่ง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กิ่งกาชาดอำเภอบ้านโป่ง ภาคเอกชน ได้แก่ บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมาช่วยในเรื่องการให้องค์ความรู้ในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง รวมทั้งยังช่วยสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ สถานที่ และจัดกิจกรรมหลายสิ่ง หลายอย่าง ภาคประชาชน ได้แก่ ประชาชน รวมไปถึงสื่อในท้องถิ่น ชญานิน จำปาทอง ท้องถิ่นอำเภอบ้านโป่ง เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้โมเดลการจัดการขยะของอำเภอบ้านโป่งเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม แม้ทั้ง 3 ฝ่ายจะตกลงร่วมมือร่วมใจกันโดยมีเอสซีจี แพคเกจจิ้ง คอยจัดกิจกรรมและส่งเสริมในด้านองค์ความรู้ ทว่าสิ่งที่พวกเขายังขาดก็คือแบบอย่างของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการจัดการขยะ “เราก็เลยถามทางท้องถิ่นอำเภอว่า ที่บ้านโป่งพอจะมีชุมชนที่เป็นปลอดขยะ (Zero Waste) ประเภทชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นรางวัลระดับประเทศที่จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม “เมื่อเราลงไปดูบ้านรางพลับ เห็นว่าเขาทำจริงและมีการจัดการขยะที่ดีมากเราจึงนำบ้านรางพลับมาเป็นครู แล้วก็ให้ชุมชนที่สนใจมาเรียนรู้” ทางนายอำเภอยังกระตุ้นให้เกิดความเอาจริงเอาจังด้วยการจัดโครงการประกวด “ชุมชน Like (ไร้) ขยะอำเภอบ้านโป่ง” ขึ้น โดยการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้ง 17 แห่ง คัดเลือกชุมชนหรือหมู่บ้านที่อยู่ในการปกครองของตนเองมาอปท.ละ 1 แห่ง ซึ่งทั้ง 17 ชุมชนที่เป็นตัวแทนต้องไปดูงานที่บ้านรางพลับแล้วก็นำมาถอดบทเรียนจัดการขยะในชุมชนของตนเป็นระยะเวลา 4 เดือน ใครที่มีการจัดการขยะที่ดีที่สุดก็จะได้รับรางวัลชนะเลิศไป จากที่เคยมีบ้านรางพลับเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะ อำเภอบ้านโป่งก็จะมีชุมชนที่เป็นต้นแบบขึ้นมาอีก 17 ชุมชน ซึ่งในการดำเนินงานครั้งต่อไป ทีมงานบ้านโป่งโมเดลคาดว่าจะเพิ่มชุมชนต้นแบบ ให้เข้มข้นด้วย แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นย่อมสร้างแรงกระเพื่อมและเป็นกระแสไปทั่วทั้งอำเภอ นี่คือจุดหมายที่แท้จริงของ “บ้านโป่งโมเดล” ล้อมกรอบ สหรัฐ พัฒนวิบูลย์ ผู้อำานวยการโรงงานบ้านโป่ง บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำากัด กล่าวว่า “เอสซีจียินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนต้นแบบที่มีการจัดการขยะและให้เป็นจุดเริ่มของการขยายผลไปสู่ ทุกชุมชนในอำาเภอบ้านโป่ง โดยร่วมอบรมและส่งทีมงานไปช่วยในแต่ละพื้นที่ในเรื่องการคัดแยกขยะ เพื่อหมุนเวียนกลับมาเป็นทรัพยากรใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า ซึ่งการดำาเนินโครงการในปี 2562 สำเร็จไปได้ด้วยดี เรายังคงให้ความร่วมมือในการขยายผลชุมชนต้นแบบให้ครบทุกชุมชนในบ้านโป่งต่อไป”

ฮั่วเซ่งฮง 40 ปี มีแต่ก้าวไปข้างหน้า

จากธุรกิจครอบครัวที่ริเริ่มจากร้านอาหารจีนบนถนนเยาวราช ความพิถีพิถันในรสชาติและคุณภาพวัตถุดิบได้ถูกผสมผสานกับแนวคิดการบริหารที่ทุกคนให้ความสำคัญ ทำให้ทุกวันนี้ ฮั่วเซ่งฮงเป็นชื่อที่ได้รับความไว้วางใจและถูกคิดถึงเป็นร้านแรก ๆ เมื่อมองหาอาหารจีน การเริ่มต้นกิจการโดยคุณพ่อมานพ พิริยเลิศศักดิ์ เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน เปรียบดั่งรากฐานอันมั่นคงจนเป็นที่ยอมรับ กระทั่งทุกวันนี้ คุณพิสิทธิ์ พิริยเลิศศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ จำกัด นักบริหารเจเนอเรชั่นที่ 3 ได้นำเอาความไว้วางใจที่มีมาต่อยอดแตกไลน์ธุรกิจ “ฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ” ด้วยสะดวกและเข้าถึงลูกค้าทำให้ฮั่วเซ่งฮงติ่มซำเป็นร้านที่คนรักคุณภาพและความอร่อยไม่อยากปฏิเสธ วันนี้เรามาลองฟังเรื่องราวประสบการณ์การต่อยอดธุรกิจใน Lift Up Your Voice ฉบับนี้ หลักคิด “ฮั่ว – เซ่ง – ฮง” คุณพิสิทธิ์เล่าถึงคำว่า “ฮั่ว – เซ่ง – ฮง” คำสามคำที่มีความหมายว่าสามัคคี รุ่งเรือง เฟื่องฟู ซึ่งสามคำนี้ไม่ได้เป็นเพียงชื่อร้านที่ฟังติดหูแต่ยังแฝงด้วยความหมายอันเป็นปรัชญาการดำเนินธุรกิจของภัตตาคารจีนแห่งนี้อีกด้วย “ความสามัคคีนั้น เราสามัคคีกันทั้งในครอบครัวและการทำงาน เมื่อเราสามัคคีกันได้ ก็จะนำมาซึ่งความรุ่งเรืองและเฟื่องฟูทุกวันนี้พวกเราให้ความสำคัญกับการรักษาชื่อเสียงที่คุณพ่อสร้างมาเป็นอย่างมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับการบริหารธุรกิจในยุคสมัยใหม่ที่เราเอาเข้ามาใช้ เพราะหากพนักงานทำงานร่วมกันอย่างสุจริต ด้วยความสามัคคี มีเป้าหมายเดียวกันได้แล้ว ทุกคนก็จะสามารถรุ่งเรืองและเฟื่องฟูไปด้วยกันได้” ขยายช่องทางเพื่อเสิร์ฟคุณภาพและความอร่อย นอกจากเรื่องการร่วมมือกันทำงานแล้ว ความสำเร็จของฮั่วเซ่งฮงติ่มซำยังเกิดจากการมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยทั้งหมดนั้นตั้งอยู่บนมาตรฐานของอาหารคุณภาพดี เพื่อให้ชื่อเสียงที่สร้างมากว่า 40 ปี กลายเป็นความไว้วางใจสำหรับลูกค้า “สิ่งที่ถือเป็นจุดเด่นของเราสำหรับในแง่ของแบรนด์นั้นฮั่วเซ่งฮงติ่มซำถูกสร้างขึ้นโดยคนเจเนอเรชั่นใหม่ ส่วนเมนูอาหารเราคิดขึ้นบนพื้นฐานของคุณภาพมาแต่เดิม เราไม่ใช้สารกันบูด ลูกค้าสามารถไว้ใจได้ว่าสินค้าของเราดีต่อสุขภาพ เราไม่ได้เน้นการประหยัดต้นทุนเรื่องวัตถุดิบ ทุกเมนูของร้านเรายังเป็น Freshly Cook อยู่ทั้งภัตตาคารฮั่วเซ่งฮงและฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ ทุกเมนูต้องปรุงสดด้วยเครื่องปรุงที่เป็นของแท้จากธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีไขมันทรานส์ ซอส ซีอิ๊วต่าง ๆ คือของจริง อาหารของเราสำคัญที่ความอร่อย ถ้าไม่มีจุดนี้เราจะขายตัวเองไม่ได้ เราใช้ความอร่อยเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้นในราคาที่สมเหตุสมผล ทุกวันนี้ซาลาเปาไส้ต่าง ๆ ของเราใช้วัตถุดิบชั้นดี และขายในราคา 22 บาทเท่านั้น “ส่วนแผนการตลาด ปัจจุบันนี้เราต้องขยายการโฆษณาเข้ามาในสื่อออนไลน์มากขึ้น มีการออกสินค้าตัวใหม่ ๆ ให้ทันยุคทันสมัยเหมาะกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น เช่น ซาลาเปาชาไทย ซาลาเปาลาวาซาลาเปาทุเรียน เป็นต้น เทรนด์ของคนรุ่นใหม่ทุกวันนี้พวกเขาจะเน้นที่ตัวสินค้าที่รับประทานแล้วมีสุขภาพดี ซึ่งตรงกับ Value ของฮั่วเซ่งฮงติ่มซำอยู่แล้ว “ท่ามกลางเศรษฐกิจปัจจุบันเราก็อยู่นิ่งไม่ได้ หนึ่งในกลยุทธ์คือ การกระจายสาขาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าเราได้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น เช่น ในโรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งบนสถานี BTS คือเราพยายามจะ Integrate เอาฮั่วเซ่งฮงติ่มซำไปในที่ที่ลูกค้าสะดวกให้มากที่สุด รวมถึงการจับมือร่วมกับ ปตท. เปิดฮั่วเซ่งฮงติ่มซำในปั๊มน้ำมันของ ปตท. เพื่อให้กลุ่มลูกค้าที่เดินทางบ่อยสามารถเข้าถึงง่าย ณ ตอนนี้ก็เปิดไปราว ๆ 80 สาขาทั่วประเทศ นอกจากนั้นเรายังร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ทั้ง GET, Grab, LINE MAN, Foodpanda สำหรับลูกค้าที่ต้องการความสะดวกในการรับประทานอาหารร่วมกันที่บ้าน ก็สามารถสั่งจากเราผ่านช่องทางเหล่านี้ได้อีกด้วย” พันธมิตรที่ดีควรตอบโจทย์ธุรกิจได้ครบทุกด้าน สำหรับฮั่วเซ่งฮงติ่มซำที่คุณภาพต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง อาหารที่สร้างสรรค์ขึ้นจากวัตถุดิบสุดพิถีพิถัน จะไม่สามารถไปถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยได้ หากไม่มีแพคเกจจิ้งที่มีคุณภาพ ซึ่งคุณพิสิทธิ์เผยว่า เหตุผลสำคัญที่เลือกบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเฟสท์ ในเอสซีจี แพคเกจจิ้ง เป็นพันธมิตรคือ ความมั่นใจ “ทางเรามั่นใจในผลิตภัณฑ์ของเอสซีจีมาก เพราะชื่อเสียงที่มีมายาวนาน สำหรับเราความไว้วางใจคือ สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อลูกค้ารู้ว่าเราใช้ผลิตภัณฑ์ของเอสซีจี เขาก็มีความไว้วางใจเรามากขึ้นไปอีก ซึ่งตรงกับแนวทางการสร้างผลิตภัณฑ์ของเรา ที่ต้องการมอบสิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าให้สมกับที่เขาไว้วางใจเรา “ขณะเดียวกันทีมงานของเอสซีจีก็มี Relationship ที่ดีกับเรามาก คุณภาพผลิตภัณฑ์ของเอสซีจียังมีมาตรฐานที่สม่ำเสมอ คงทน รักษาคุณภาพได้ดีมาก ลูกค้าของเราจึงวางใจได้ว่า บรรจุภัณฑ์เฟสท์ของ เอสซีจี ทุกส่วนประกอบจะเป็นฟู้ดเกรดที่ทั้งสะอาด ปลอดภัย และสามารถสัมผัสกับอาหารของฮั่วเซ่งฮงได้โดยตรง “นอกจากชื่อเสียงแล้ว เราชอบในนวัตกรรมการใช้กระดาษจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์มาทดแทน งานดูแลชุมชนและสังคมต่าง ๆ ที่เอสซีจีทำอยู่ก็เป็นจุดที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่า เอสซีจีเหมาะสมที่สุดที่จะใช้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับอาหารของเรา” ในอนาคตต่อจากนี้ ผู้บริหารฮั่วเซ่งฮงยังคงมองหาไอเดียใหม่ ๆ ที่จะร่วมมือกับเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ทั้งบรรจุภัณฑ์รูปแบบอื่น เช่น กล่องทรงปิ่นโตที่สร้างอารมณ์ในการกลับไปสู่การรับประทานอาหาร แบบ Traditional หรือแพจเกจจิ้งที่สามารถใช้นึ่งอาหารได้โดยไม่ต้องฉีกซอง ตลอดจนแพคเกจจิ้งอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้การแข่งขันในธุรกิจ พร้อมทั้งสามารถส่งเมนูคุณภาพเยี่ยมไปสู่นักชิม ทั่วประเทศต่อไป

Marketing Compass 2023 – 3 Dimensions, 3 Trends, 3 Technologies & 3 Marketing Components in Focus

News Marketing Compass 2023 – 3 Dimensions, 3 Trends, 3 Technologies & 3 Marketing Components in Focus Loading Data… On 2023 forecasts, Asst. Prof. Dr. Ake Pattaratanakun has prepared a summary of the Marketing Association of Thailand’s predictions. The summary not only reflects what 156 distinguished executives and academics think will be coming, but it also offers guidelines about what brands should do. MUST-WATCH: 3 TRENDS, 3 DIMENSIONS & 3 TECHNOLOGIES Thai economy is expected to grow by 5 percent. In the economic field, businesses will have to focus on 1) Fast-changing consumer behaviors; 2) Global economic meltdown; and 3) Evolving digital technologies.  Consumers, meanwhile, will look for 1) Quality; 2) Trialability, which means brands can experiment with various new things. After COVID-19 crisis forced consumers to do what they never did before like ordering food deliveries and making e-payments, consumers will be keen to try something new; and 3) Traceability, which shows products’ carbon footprint and put all companies in supply chains in check. Consumers will want to find out if brands they are supporting are socially and environmentally responsible.   Business owners should allocate 5 – 10 percent of their budget to marketing. Investments should go to 1) Commerce platforms; 2) Content and 3) Payment systems that are convenient and smoothly linked to selling platforms. For example, businesses should integrate popular e-Wallets.   As artificial intelligence (AI) is set to play a big role in marketing arena, companies should be able to lower their marketing costs. Internet of Things (IoT), meanwhile, will enable the storage of big data. Biotechnology also will have crucial importance. All brands thus should urgently study these three technologies and leverage them for business advantages. BANI WORLD: NEW LESSON FOR EXECUTIVES TO LEARN & ADJUST FAST As BANI World is materializing, all companies and their executives must prepare themselves for the followings:   B – Brittle: Business models may collapse real fast. So, entrepreneurs should not be too confident about any particular model. It is best to diversify businesses and risks.   A – Anxious: Stop wondering when anxiety will be gone. Just think that it is normal to feel anxious. You only have to learn more and accept the fact that there is no certainty in the business realm anymore.   N – Nonlinear: Companies do not need long-term plans like those for three- or five-year period these days, because they should engage in Experimenting rather than Planning. If they are interested in an idea, act on it fast at a small scale. If any problem emerges, solve it one by one. The world is now changing so fast that planning may mean you end up doing nothing.   I – Incomprehensible: Because things will be hard to fathom, you only have to be ready to make decisions and tackle things you have never experienced before. In the coming year, problem-solving skills will be.   2023 IS YEAR OF 3P MARKETING MIX   P1. Personalized Marketing – Customers have different needs even when they are in the same industry. So, it is best to appeal to them with Personalized Marketing that becomes increasingly cheaper thanks to increasingly advanced technology. By now, companies must have already familiarized themselves with CRM (Customer Relationship Management) and CEM (Customer Experience Management) systems, which can generate income just like production machines. The more one invests efficiently in these systems, the greater value one can generate for customers.   P2. Precision Marketing – In the past, Mass Marketing had been the norm with ads placed in magazines or TV. Today, Precision Marketing proves better. It is like a sniper who can efficiently reach out to a target thanks to support from Facebook & Google AI. Use such marketing to avoid paying hefty mass-marketing fees.   P3. Performance Marketing – Creating a good brand image alone is out. Technologies have already enabled brands to evaluate the efficiency of marketing budget spent based on purchases / repeated purchases. So, you should focus on performance marketing instead.   source: https://www.scgpackaging.com/th/alotNewsletter Related Contents Loading Data…

The Investor Club Association visits Duy Tan Plastic Company

News The Investor Club Association visits Duy Tan Plastic Company Previous slide Next slide Loading Data… On March 24th, 2023, The Investor Club Association under Thailand Board of Investment (BOI) visited Duy Tan Plastic Company (Long An Factory). Duy Tan Plastic Company (Duy Tan Long An Factory) is honored to become the meeting hub for information sharing between Thai and foreign investors. This is considered a good opportunity for both parties to update their knowledge about plastic production processes, machinery, raw materials, etc. In addition, in this visit, Duy Tan is also very pleased to welcome members from the SCG Group in Thailand. During the visit, Duy Tan had the chance to greet and invite the visitors to the factory, PET workshop, Injection workshop, warehouse, and showroom in Long An to introduce the production process from preparation to production and finished goods.  Besides, the experts also had a meeting with Duy Tan’s Board of Directors to share about the economic and investment situation in Vietnam, Thailand, the world in general, especially the exchange of information on investment priorities between Thailand and Vietnam. Topics such as: applying knowledge and information to improve the services of the IC and BOI, building networks with related organizations in Vietnam, researching and monitoring innovations, new technologies, etc. were also discussed during the meeting.   Duy Tan Long An is the largest factory of Duy Tan Plastic with an area of up to 181,000 m2. Towards green and environmentally friendly production, in 2020, the factory put into operation a solar energy system to replace the grid electricity to serve the production process and will release the full capacity of the electricity investment projects in the future to ensure safe and continuous electricity supply. As of 2023, Duy Tan Plastic has gone through 36 years of development, continuously achieving the High-Quality Vietnamese Goods title voted by consumers for 27 consecutive years and receiving many awards and sustainable development certifications such as ISCC Plus. With the vision of becoming the leading plastic manufacturer in ASEAN, in 2021, Duy Tan Plastic signed a strategic cooperation agreement and merged 70% with SCGP – a company belonging to the SCG Group from Thailand. In addition to consistently applying creativity and innovation to develop high-quality products with the best possible functionality and aesthetic appeal, Duy Tan Plastic also builds its connections, absorbs knowledge from foreign experts, and keeps up with the most recent technological advancements in order to maintain the supply chain, enhance the production process, and develop a contemporary, environmentally friendly production process. Note: THAILAND BOARD OF INVESTMENT (BOI) – Website: https://www.boi.go.th/ Related Content Loading Data…

Vina Kraft Paper Co., Ltd. (VKPC) in SCGP receives Top 100 Sustainable Companies Award and Gender Equality in the Workplace Award 2022 in Vietnam

Vina Kraft Paper Co., Ltd. (VKPC) received Top 100 Sustainable Companies Award and Gender Equality in the Workplace Award 2022 in Vietnam for the 2nd consecutive year. The recognition was based on Programme on Benchmarking and Announcing Sustainable Companies in Vietnam (CSI Programme) by Vietnam Business Council for Sustainable Development (VBCSD). The awards were unveiled at the ceremony in December. VKPC focuses on creating innovations and values to serve the evolving consumer demands while placing emphasis on environmental, social and governance (ESG) aspects. Accordingly, VKPC has been lauded as only of the typical business on Gender Equality in the Workplace for two consecutive years. This represents the vision of “leaving no one behind” in a sustainable business corporate culture, being inclusive in serving various communities in the society. While improving gender equality in the workplace contributes significantly to labor productivity, talent attraction; respecting children’s rights will help build stronger communities, creating a sustainable future for both the corporate and their stakeholders.  

SCGP expands high-quality flexible packaging business in Thailand, to enhance integrated packaging solutions and meet continual growing demands

SCGP continues to turbocharge the integrated packaging solutions business in ASEAN to resonate with ascending needs of customers for packaging that prioritizes convenience. In this, SCGP has achieved recent expansion through the acquisition of flexible packaging assets from Cyberprint Group Co., Ltd. (Cyber), to bolster production capacity, enlarge the customer network, strengthen raw material management, and continuously improve the company’s capability to offer high-quality packaging solutions. Mr. Wichan Jitpukdee, Chief Executive Officer, SCG Packaging Public Company Limited or SCGP, revealed that SCGP has expanded its business through the acquisition of flexible packaging assets from Cyberprint Group Co., Ltd. (Cyber), a multi-type printing and packaging service provider in Thailand, with a total investment of Baht 450 million. The sum includes the investments in assets such as machinery and equipment, building, land and remaining inventory, along with the investment budget for future capacity expansion and the related working capital. This asset acquisition by Prepack will be solely for flexible packaging-related assets. Cyber will continue to independently operate its other businesses going forward. The business expansion was achieved through Prepack Thailand Co., Ltd. (Prepack) under SCGP, a high-quality flexible packaging manufacturer. The Company’s packaging solution is accredited with ISCC Plus (the International Sustainability and Carbon Certification) for an organization that practices carbon management and sustainable development of overall supply-chain. Currently, Prepack has 3 production bases in Thailand. Its head office is located at the Sinsakhon Industrial Estate, Samut Sakhon. This investment will lead to a 12% increase in SCGP’s flexible packaging production capacity in Thailand. Half of the additional capacity would be from Cyber’s existing flexible packaging facility, located near Prepack in Sinsakhon Industrial Estate, which will be integrated into Prepack in the 1st quarter of 2023. Another half will be from new capacity expansion project in the same compound with expected commercial start-up in the 4th quarter of 2023. As a result of this investment, SCGP will be able to enhance customer network in several segments, particularly packaging customers in the pet food and health supplement product who are Cyber’s existing customers. This project would positively result in intensifying the efficiency of cost management caused by co-sourcing of raw materials and improvement in economics of scale while also strengthening the Company’s capability to offer high-quality packaging solutions.  

SCGP receives BETAGRO Supplier Excellence Awards, strengthening business partnership for sustainable growth

Thai Containers Group Company Limited in SCGP, represented by Mr. Ekarat Niroj, Enterprise Marketing Director – SCGP, received BETAGRO Supplier Excellence Awards 2022 from Mr. Vasit Taepaisitphongse, Chief Executive Officer and President of Betagro Public Company Limited. This award ceremony was held for the first time under the concept of Growing Together with Sustainability on November 18, 2022, at Rama Gardens Hotel, Bangkok. The awards honor business partners with excellent performance in product quality, price, delivery, service, and innovation in 2021. The award granting also aims to enhance the potential as a business partner who is ready to grow together steadily and sustainably. This award reflects the trust and acceptance from customers, which results from SCGP’s commitment to conducting business by keeping customers’ needs at heart. We are ready to continuously develop and join hands with business partners to build customer confidence together.