SCGP Newsroom

Social Media Library

🪴 ‘ดิน’ เป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ถ้าหากดินเกิดเสื่อมไปย่อมส่งผลต่อระบบนิเวศทุกแห่ง ดังนั้นการฟื้นฟูดูแลดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืนไม่เสื่อมโทรมจึงจำเป็นอย่างยิ่ง​
.​
โดยหนึ่งในแนวทางที่ใช้ฟื้นฟูดินก็คือ ‘การเกษตรเชิงฟื้นฟู’ (Regenerative Agriculture) ซึ่งเป็นแนวทางการเกษตรที่ไม่ทำอันตรายต่อดิน แต่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินแทน อีกทั้งยังเน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างความยั่งยืนในอนาคต​
.​
ข้อดีของการทำเกษตรเชิงฟื้นฟูหลัก ๆ คือ มีการลดใช้สารเคมีและปุ๋ยสังเคราะห์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการไถพรวน เพื่อเพิ่มการดูดซับน้ำ ทำให้สิ่งมีชีวิตสำคัญในดินอย่างจุลินทรีย์ต่าง ๆ ไม่ถูกรบกวน นอกจากนี้ยังเน้นการปลูกพืชหมุนเวียนหรือทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อให้ระบบนิเวศมีความหลากหลาย ช่วยปรับให้ดินมีความสมดุล สามารถรองรับการทำการเกษตรได้ในระยะยาว​
. ​
🌿 SCGP ก็ได้มีการส่งเสริมการเกษตรเชิงฟื้นฟู ด้วยการปลูก ‘ยูคาลิปตัส’ เนื่องจากยูคาลิปตัสเป็นพืชที่เติบโตได้ง่าย ดูแลง่าย กิ่งและใบที่หลุดร่วงเมื่อย่อยสลายจะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีสำหรับผืนดิน เพิ่มธาตุอาหารที่ดีและช่วยรักษาสมดุลของดิน ส่วนระบบรากของยูคาลิปตัสที่มีขนาดเล็กแต่หยั่งลึก จะช่วยทำให้หน้าดินแข็งแรง ไม่พังทลายง่าย อีกทั้งยังช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดี เมื่อต้นยูคาลิปตัสเติบโตเต็มวัยราว 3-4 ปี เกษตรกรก็สามารถตัดต้นไปขายได้ ​
. ​
การปลูกต้นยูคาลิปตัสยังสามารถปลูกไว้ตามคันนาหรือปลูกในแปลงเดียวกับพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว ฯลฯ ได้ด้วย เพราะการปลูกยูคาลิปตัสจะไม่รบกวนพืชอื่น ๆ สามารถเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรอีกทาง ​
.​
โดย SCGP มีการวิจัยและพัฒนายูคาลิปตัสสายพันธุ์ใหม่ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย และมีการบริหารจัดการเกษตรกรในระบบนิเวศอย่างครบวงจร ตั้งแต่ส่งเสริมการปลูกยูคาลิปตัส ให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการบริหารดิน การเลือกสายพันธุ์ และเทคนิคการปลูกที่ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารภายในดิน ทำให้ได้ไม้ยูคาลิปตัสผลผลิตสูง ทนทานต่อโรคและแมลง ดูแลได้ง่าย เก็บเกี่ยวและขายได้ตลอดปี ​
. ​
🌱 แนวทางเกษตรเชิงฟื้นฟูของ SCGP จึงเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ ฟื้นฟูดินให้สมบูรณ์ สร้างรายได้ให้เกษตรกร และสร้างความยั่งยืนในเกษตรกรรม นับเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมของไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ​
. ​
#WeAreGreeners #ยูคาลิปตัส

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Loading...